ชัยพฤกษ์

(Javanese Cassia, Pink and white shower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cassia javanica L. subsp. javanica
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE – CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น ขี้เหล็กยะวา เหล็กชะวา กัลปพฤกษ์
ถิ่นกำเนิด อินเดีย มาเลเซียและภาคใต้ของประเทศไทย


ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. ขนาดทรงพุ่ม 6-8 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปร่ม แผ่กว้าง เปลือกต้นสีนํ้าตาล ค่อนข้างเรียบ ต้นเล็กจะมีหนาม ต้นใหญ่จะมีรอยแผลปมหนามตามแนวขวาง
ใบ ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงสลับ แกนกลางใบประกอบยาว 15-30 ซม.ใบย่อย 7-12 คู่เรียงตรงข้ามรูปขอบขนานหรือรูปไข่แกมรูปรี กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 3.5-5 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบกลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสด เกลี้ยง ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่ามีขนละเอียด


ดอก สีชมพู ออกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแตกแขนงที่กิ่งและปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ยาว 5-16 ซม. ดอกย่อยรูปดอกหางนกยูงจำนวนมาก กลีบเลี้ยง 4 กลีบ รูปไข่ ปลายแหลม สีเขียว กลีบดอก 5 กลีบ รูปไข่กลับ โคนคอดเป็นก้าน สีชมพูและเปลี่ยนเป็นขาว เกสรเพศผู้ 9-10 อัน ลีเหลือง 3 อัน มีลักษณะยาวโค้ง เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3.5 ซม. ออกดอกเดือน ก.พ.-พ.ค.
ผล ผลแห้งเป็นฝักทรงกระบอก กว้าง 1.5-2 ซม. ยาว 30-40 ซม. ฝักอ่อนสีน้ำตาล เมื่อสุกสีดำ เมล็ดกลมแบน สีน้ำตาลเป็นมัน จำนวน 40-50 เมล็ดต่อฝัก ติดผลเดือน เม.ย.-ก.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามป่าทุ่ง ป่าโปร่งและปลูกเลี้ยงอยู่ทั่วไป
การใช้ประโยชน์ เนื้อในฝัก เป็นยาระบายอ่อนๆ ปลูกประดับ ดอกสวยงาม
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย