ทุเรียน:การฟื้นฟูความสมบูรณ์ของต้นทุเรียนหลังเกิดน้ำท่วม

1.  ขุดร่องร่ะบายน้ำระหว่างต้นทุเรียนหลังจากน้ำลดแล้ว

2.  ทำการราดดินใต้ทรงพุ่มด้วยสารเคมีเมทาแลกซิลชนิดผง 25℅W.P.หรือ 35℅W.P. อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อกำจัดเชื้อไฟทอปธอร่า

3.  พ่นต้นทุเรียนด้วยสูตรทางด่วน ซึ่งประกอบด้วยปุ๋ยเกร็ด 15-30-15 ที่มีธาตุรองและธาตุปริมาณน้อยร่วมด้วยอัตรา 60 กรัม กรดฮิวมิคชนิด 3℅ อัตรา 20 ซีซี น้ำตาลเด็กซ์โตรสอัตรา 600 กรัม สารป้องกันกำจัดเชื้อราดำ และสารจับใบผสมในน้ำ 20 ลิตร พ่นจำนวน 2-3 ครั้ง ทุกๆ 7 วัน เพื่อชะลอการสูญเสียความสมบูรณ์ของต้น เนื่องจากระบบรากถูกทำลาย

4.  กระตุ้นการงอกของรากตามวิธีการที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การแก้ปัญหาโรครากและโคนเน่าของทุเรียนจะสัมฤทธิ์ผลได้นั้นเกษตรกรต้องมีความเข้าใจในปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนั่นคือ พืช เชื้อโรค และสภาพแวดล้อม การปฏิบัติและการดูแลที่ไม่ถูกต้อง ละเลยการตรวจสวนจะยิ่งทำให้การแพร่กระจายของเชื้อเกิดได้มาก คำแนะนำที่ได้จากการสรุปงานสัมมนาของศูนย์วิจัยพืชสวน จันทบุรี คงจะเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ประสบปัญหาอยู่ขณะนี้ แต่อย่างไรก็ตามการที่จะกำจัดเชื้อให้หมดนั้น คงจะเป็นไปไม่ได้ การแก้ไขคงจะทำให้เชื้อโรคหรือการเกิดโรคอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ ซึ่งจะต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน เช่น การใช้สารเคมี การเขตกรรม การจัดการธาตุอาหารให้กับต้นทุเรียน รวมทั้งการใช้วิธีควบคุมโดยทางชีววิธี และที่สำคัญคือตัวเกษตรกร ต้องหมั่นตรวจตราดูแลภายในสวนให้ดี