นํ้านมราชสีห์ใหญ่


ผักโขมแดง, หญ้านํ้าหมึก
ชื่อ
จีนเรียก  ตั่วหยูเช่า ตั่วบี้ยูเกี๋ยเช่า แชเท่งเช่า จักจักฮวย Euphorbia hirta L. var, typica L.C. Wheeler.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามทุ่งนา ริมทาง ในสวน ที่รกร้าง เป็นพืชล้มลุก ลำต้นอ่อน มักขึ้นเอนเอียง มีขนขึ้นรอบต้น ในหน้าหนาวหรือขึ้นที่แห้งแล้ง ลำต้นมักเปลี่ยนเป็นสีแดง รูปใบก็เปลี่ยนจากเดิมไปนิดหน่อย ลำต้นสูง 2-3 นิ้ว แต่เวลาคืบยาวเกือบ 1 ฟุต ใบคู่ ยาวประมาณ 5-6 หุน ใบบานปลายแหลม เอ็นใบกลางเห็นชัด กลางใบมักมีปานสีน้ำตาล ชอบใบไม่เรียบเป็นหยักๆ คล้ายฟันเลื่อย ออกดอกตลอดปี สีเขียวอย่างเดียวกับต้น ดอกออกเป็นกระจุก มักออกที่ข้อโคนใบ ลำต้นและใบเมื่อหักจะมีนํ้าสีขาวคล้ายนํ้านมไหลออกมา

รส
เปรี้ยวนิดๆ ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถแก้ลำไส้ร้อนใน ขับปัสสาวะ ผลิตน้ำนมผู้หญิงหลังคลอดใช้ภายนอก แก้พิษ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับและม้าม

รักษา
ไข้ป่า (มาเลเรีย) โรคบิด ปัสสาวะขุ่น หญิงไม่มีนํ้านมหลังคลอด ใช้ภายนอก แก้ผื่นพิษตามผิวหนัง เปลือกหอยบาด เด็กเป็นชันนะตุ

ตำราชาวบ้าน
1. ไข้ป่า-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมูหรือใช้น้ำนมราชสีห์ใหญ่ ตากแห้งบดผงหนัก 2 เฉียนครึ่ง ต้มนํ้าตาลกรวดรับประทานติดต่อกัน 3 วัน
2. เป็นบิด-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ 1 ตำลึง ต้มเอาน้ำชงน้ำผึ้ง รับประทาน
3. หญิงชายปัสสาวะขุ่น-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมูหรือเอาน้ำนมราชสีห์ใหญ่ต้มกวยแชะ รับประทาน
4. หญิงน้ำนมน้อยหลังคลอด-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ 1 ตำลึง ต้มเนื้อสันหมูรับประทาน หรือผัดกับกุ้งน้ำจืด รับประทาน
5. แก้ผื่นพิษตามผิวหนัง-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ ต้นดอกแก้ว
อย่างละ 2 ตำลึง ตำแหลกใช้น้ำทา
6. เด็กเป็นฝีชันนะตุ-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ ต้มกับน้ำแช่ข้าวล้าง
7. เปลือกหอยบาดเลือดออก-น้ำนมราชสีห์ใหญ่ หักเอาน้ำนมในต้นทา

ปริมาณ
สดไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 2 เฉียน ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

 

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช