บีท(Beet)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชใช้กินหัว ปลูกง่าย มีตลาดเอกชนรองรับกว้างขวาง ปลูกได้โดยอาศัยน้ำฝน (พื้นที่ปลูกขนาดใหญ่) หรือโดยการให้น้ำในฤดูร้อน (พื้นที่ปลูกจะขนาดเล็กและใช้ปัจจัยสูงกว่าป เหมาะแก่การส่งเสริมปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่


ข้อมูลการผลิต
พันธุ์ Detroit Dark Red
ฤดูปลูก ตลอดปีในพื้นที่สูงกว่า 1000 เมตร ฤดูร้อน/ฝน ในพื้นที่ต่ำกว่า 1000 เมตร
ความเป็นกรดด่างของดิน 5.5-7.0
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย(เนื้อดินถ้าเหนียวไปหัวจะไม่ค่อยโต)
ระยะปลูก(ต้นxแถว)    10×15 ซม. (6-7 แถว/แปลง)
ความลึก 1-2 ซม.
จำนวนต้น 65 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของแปลง 1 เมตร
ระยะห่างของแปลง 50 ซม.
ระยะเวลาที่เจริญเติบโตเต็มที 100-105 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*การใช้แรงงานต่อพื้นที่ปลูกในฤดูหนาวจะสูงกว่าคือ 6.5 วัน เทียบกับฤดูฝนคือ 4.5 วัน เพราะมีการให้น้ำ
หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ขนาดของพื้นที่ปลูกฤดูหนาวขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ เพราะการปลูกจะได้ผลดีกว่าถ้าพืชได้รับน้ำสม่ำเสมอ การปลูกในฤดูฝนมักได้ผลผลิตต่อพื้นที่ต่ำกว่าเพราะนิยมปลูกในพื้นที่ใหญ่กว่า ไม่ส่งเสริมให้ปลูกในฤดูร้อน เพราะเป็นพืชไม่ทนแล้ง และได้ผลคุณภาพต่ำคือหัวขนาดเล็กและสีไม่สวย การปลูกในดินที่เนื้อแน่นไป ทำให้ได้ขนาดหัวเล็ก แต่ถ้ามีพื้นที่รับน้ำ จะปลูกได้ดีกว่าช่วงฤดูฝน
ผลผลิต
สูงกว่าในฤดูหนาว 225-275 กก./100 ตร.ม. ส่วนฤดูฝนอยู่ระหว่าง 150-200 กก. แล้วแต่ปริมาณฝน
เกรด
การปลูกฤดูหนาวได้ผลเกรด A ประมาณ 80-90% ฤดูฝนได้เกรด A ราว 70-80%
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูหนาว 5-7 บาท/กก. ฤดูฝน 8-10 บาท/กก. มักขึ้นอยู่กับความมากน้อยของผลผลิต
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนสูงกว่าในการปลูกฤดูหนาว เพราะมักใช้พื้นที่เพาะปลูกน้อย การใช้ปัจจัยต่อพื้นที่จึงสูงกว่า และอาจมีการใช้สารเคมีด้วย ส่วนการปลูกฤดูฝนไม่มีการใช้สารเคมี แต่อาจต้องจ้างแรงงานเพิ่มเติม ถ้าปลูกในพื้นที่มากๆ
ผลตอบแทน
ให้รายได้ดีกว่าในฤดูฝนเพราะราคาดี
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
เป็นพืชที่จะส่งเสริมให้ยอมรับกันง่าย เหมาะสำหรับพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่ในฤดูฝน
การตลาด
ไม่สูญเสียง่ายในการขนส่งไปตลาดกรุงเทพฯ ระดับราคาระหว่าง 8-14 บาท/กก. การเปลี่ยนแปลงของราคาไม่ค่อยเป็นไปตามฤดูกาล
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
เสี้ยนดิน(Darylus orientalis) พบในฤดูร้อน แทะรากและหัว ป้องกันแก้ไขโดยใช้ คูมิฟอส หรือ ลอร์สแบน ทุก 5-7 วัน
หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worm) พบปลายฤดูหนาวจะกัดกินลำต้น ป้องกันแก้ไขโดยใช้คูมิฟอส หรือลอร์สแบน หรือ แลนเนท
โรค
โรคใบจุด (Leaf Spot) พบช่วงฤดูฝน ทำให้ส่วนใบเสียหาย ป้องกันแก้ไขโดยใช้ ไดเทนเอ็ม 45 หรือโลนาโคล ทุก 5-7 วัน โรคเหี่ยว (Wilt) พบในช่วงฤดูฝน ทำให้หัวเสียหาย
อื่นๆ
การขาดธาตุโบรอน ขึ้นอยู่กับสภาพดิน ถ้าเป็นปัญหาให้ใส่โบแรกซ์ในดิน
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงการปลูก
เกษตรกรมักนิยมวิธีหยอดเมล็ดโดยตรง แต่บางคนใช้วิธีเพาะกล้าแล้วย้ายปลูก เตรียมดินโดยขุดพลิกดินตากแดดทิ้งไว้ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคในดิน เอาวัชพืชออก แล้วขึ้นแปลงกว้าง 1 เมตร ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ปูนขาว ปุ๋ยคอกและ โบแรกซ์ คลุกผสมในดิน ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ขีดร่องขวางแปลงลึก 1-3 ซม. ห่างกันร่องละ 15 ซม. หยอดเมล็ดทีละเมล็ดห่างกัน 10 ซม. แล้วกลบเมล็ด ใช้ เซฟวิน 85 และ โคแมค ในอัตราตามคำแนะนำ แล้วรดน้ำ
ช่วงการดูแลรักษา
หลังย้ายปลูก 7-10 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 และ 15-15-15 ในอัตราส่วน 1:2 ประมาณ 25-30 กรัม/ตร.ม. หลังการใส่ปุ๋ยครั้งแรก 15 วัน ใส่ปุ๋ย 13-13-21 ประมาณ 25-30 กรัม/ตร.ม. โดยขีดร่องลึก 2-3 ซม. ระหว่างแถวปลูก โรยปุ๋ยกลบดินแล้วรดน้ำ ทำการกำจัดวัชพืชทุกครั้งที่ใส่ปุ๋ย และพูนโคนอย่าให้หัวโผล่เหนือดิน เมื่อพืชแสดงอาการอ่อนแอหรือขาดธาตุ โบรอน ให้ฉีดพ่นโทน่า หรือโบแรกซ์ เดือนละครั้ง ใช้สารเคมีฉีดพ่นเฉพาะกรณีมีปัญหา (เกษตรกรมักไม่ใช้ยาเคมีกับพืชนี้) ให้น้ำทุก 2-3 วัน
ข้อควรระวัง
1. ถ้ากลบดินโคนต้นไม่มิด หัวจะมีผิวกร้าน คุณภาพต่ำ
2. ระวังอย่าให้แมลงหรือโรคเข้าทำลาย จะทำให้หัวเสียรูปทรง
3. การขาดธาตุโบรอน จะทำให้หัวไม่เจริญเติบโตและผิวเป็นรอยกระ
ช่วงการเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวเมื่ออายุพืชได้ 80-90 วัน หัวมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-8 ซม. เลือกหัวที่มีรูปทรงกรม ไม่มีรอยแตกหรือรอยแผล ใช้เสียบขุดตัดแต่งใบเหลือความยาว 5 ซม. ล้างแล้วผึ่งให้แห้งในที่รม บรรจุลงในเข่งและระวังอย่าให้ก้านหัก ทำการเก็บเกี่ยวในวันที่จะขนส่งไปตลาด ไม่ควรบรรจุข้ามคืน
ที่มา:ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่