ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย

ปุ๋ย หมายถึง วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดในดินที่จะกลายเป็นอาหารของพืช ทำให้พืชเจริญงอกงาม และช่วยปรับปรุงคุณภาพของดินให้ดีขึ้น ปุ๋ยแบ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ และปุ๋ยวิทยาศาสตร์

ปุยอินทรีย์  คือ ปุ๋ยที่ได้จากเศษพืช สิ่งที่มีชีวิต และสิ่งขับถ่ายต่างๆ ของสัตว์ ปุ๋ย อินทรีย์มีประโยชน์มากและควรที่เกษตรกรจะใช้กันทั่ว ๆ ไปเพราะ ปุ๋ยนี้ให้ธาตุอาหารแก่พืช ช่วยบำรุงดิน ทำให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี พืชดูดธาสฟอสฟอรัสจากดินได้ดีขึ้น ดินที่มีอินทรีย์วัตถุจะไม่พังทะลายง่ายและอินทรีย์วัตถุเป็นอาหารของพวกจุลินทรีย์และสัตว์เล็ก ๆ ที่จะช่วยย่อยทำลายเศษพืช-สัตว์ให้สลายตัวเป็นปุ๋ยเร็วขึ้น

ชนิดของปุ๋ยอินทรีย์ (organic Fertilizers)

1. ปุ๋ยคอก (Farm Manure) ได้จากมูลสัตว์เลี้ยงทุกชนิด โดยทั่วๆไปมี N ประมาณ 0.5% ธาตุ P 0.25%, K 0.5% ปุ๋ยคอกให้อินทรีย์วัตถุแก่ดิน ทำให้ดิน ร่วนซุย แก้ความเป็นกรด-ด่าง ทำให้ดินอุ้มน้ำดี ให้ธาตุอาหารแก่พืชและมีฮอร์โมนช่วยกระตุ้นความเจริญเติบโตของพืชด้วย การใช้ปุ๋ยคอกสด ควรระวัง เพราะปุยยังมีการสลายตัว(การหมัก) และความร้อน อาจทำให้ต้นและใบไหม้ รากเสียหาย จึงควรใช้ปุ๋ยคอกที่ผุดีแล้ว การใส่ปุ๋ยควรพรวนดินหรือขุดหลุมแล้วใส่ปุ๋ยคอก จากนั้นจึงกลบดิน ปริมาณปุ๋ยคอกที่นิยมใส่ในไร่ในนาประมาณ 5-10 ดินต่อไร่ ในแปลงขนาด 1×4 เมตร ควรใส่ปุ๋ยคอกประมาณแปลงละ 4-5 ปุ้งกี๋

ส่วนประกอบของปุ๋ยคอกบางชนิด(เปอร์เซนต์)

N P K
มูลวัว 0.60 0.50 0.73
มูลสุกร 0.50 0.35 0.40
มูลไก่ 1.00 0.80 0.40
มูลควาย 1.10 0.68 1.33
มูลม้า 0.70 0.25 0.55
มูลเป็ดไทย 1.03 2.65 1.04
มูลไก่ขังกรง 2.54 6.50 2.01

2. ปุ๋ยหมัก (compost) ได้จากการหมักเศษพืช ขยะหรือเศษของอินทรีย์วัตถุอื่น ๆ ปุ๋ยหมักมีประโยชน์เพราะให้อินทรีย์วัตถุแก่ดิน ทำให้ดินเหนียวดินทรายกลางเป็นดินร่วน ช่วยอุ้มน้ำ ดูดซับแร่ธาตุ ทำให้อากาศในดินโปร่งดี ให้ความอบอุ่นแก่พืช เป็นอาหารของจุลินทรีย์และช่วยรักษาความเป็นกรดด่างให้อยู่กลาง ๆ การหมักปุ๋ยควรทำคอกสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วแบ่งเป็น 2 คอก กองปุ๋ยในคอกที่ 1 ก่อน ส่วนคอกที่ 2 มีไว้สำหรับกลับปุ๋ย คอกที่ใช้อาจทำให้กว้าง X ยาว X สูง 2 X 2 X 1.50 เมตร หรือแล้วแต่ชอบ และควรมีหลังคา กันแดดฝนด้วย ในการกองปุ๋ยควรเอาเศษพืช หญ้า ฟาง ฯลฯ กองลงในคอกก่อน แล้วใช้บัวรดน้ำให้ชุ่ม ใช้คนเหยียบให้แน่น จากนั้นจึงเอาปุ๋ยคอกอย่างเดียว หรือจะใช้ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต 32 ก.ก. หรือยูเรีย 15 ก.ก. ต่อซากพืช 1 ตัน แบ่งเป็นส่วน ๆ ไว้ใส่ลงบนปุ๋ยหมักด้วย เมื่อใส่ปุ๋ยคอก (และปุ๋ยวิทยาศาสตร์แล้ว) ก็เอาเศษพืชมากองทับ รดน้ำ และเหยียบย่ำต่อไป ทำเช่นนี้สัก 4-5 ชั้น จนสูงประมาณ 1.50 เมตร ข้างบนควรคลุมด้วยเศษพืช ใบไม้ หรือกระสอบเก่าๆ และต้องกลับปุ๋ยทุกๆ 20-30 วัน หรือจนกว่าซากพืช จะผุเปื่อยหมดทั้งกอง (ราว 3-4 เดือน) ปุ๋ยหมักมีประโยชน์และใช้เช่นเดียวกับปุ๋ยคอก

3. ปุ๋ยพืชสด (green Manure)

หมายถึงพืชชนิดต่าง ๆ โดยมากเป็นพืชตระกูลถั่วที่ไถกลบหรือขุดกลบลงไปใต้ดินในขณะที่พืชยังมีสีเขียวสดอยู่ พืชที่ใช้ควรเป็นพืชที่โตเร็ว ปลูกง่าย ทนทาน มีศัตรูน้อยและควรเป็นอาหารสำหรับคนได้ เช่น ถั่วเขียว ข้าวโพด เมื่อเก็บผลแล้วก็ไถกลบลงดินเลย ปุ๋ยพืชสดมีประโยชน์เช่นเดียวกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมัก

4. ปุ๋ยเทศบาล

ทำมาจากขยะมูลฝอย และเศษเหลือจากครัวเรือน ขณะนี้เทศบาลทำมา 2 ชนิด คือ ชนิดอ่อน และชนิดแรง

สรุปประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์

1. ให้ธาตุอาหารแก่ดิน ทำให้ดินไม่เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป

2. ทำให้ดินระบายอากาศดี ร่วนซุย และอุ้มน้ำได้ดี

3. ช่วยให้พืชใช้ธาตุต่าง ๆ เช่น N, P, K จากปุ๋ยเคมีดีขึ้น

4. เพิ่มอินทรีย์วัตถุแก่ดิน ดินไม่พังทะลายง่าย

5. เป็นที่อยู่และอาหารแก่จุลินทรีย์ที่จะช่วยย่อยทำลายซากพืชต่าง ๆ

6. ทำให้พืชหยั่งรากลงลึกและแผ่กว้าง

7. ราคาถูก ทำขึ้นได้เอง เหมาะกับท้องถิ่นทั่วไป

สรุปข้อเสียของปุ๋ยอินทรีย์

1. มีกลิ่นเหม็น เป็นที่น่ารังเกียจ

2. มีธาตุอาหารน้อย ต้องใช้ในปริมาณมาก ไม่สะดวกต่อการขนย้าย

3. มีแมลง ไข่แมลง วัชพืชและเชื้อโรคปะปนมากับปุ๋ย

4. เสียแรงงานในการทำ (ปุ๋ยหมัก)

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ปุ๋ยเคมีหรือปุ๋ยอนินทรีย์ ( Inorganic Fertilizers]

ปุ๋ยอนินทรีย์ เป็นปุ๋ยเคมีที่สงเคราะห์ขึ้นมาโดยให้มีปริมาณธาตุอาหารตามที่เราต้องการ ปุ๋ยวิทยาศาสตร์นี้อาจจะจำแนกออกตามชนิดของสารประกอบหลักได้ 3 อย่างคือ ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสฟอรัสและปุ๋ยโปแตสเซียม บางทีเราก็เรียกชื่อเฉพาะของปุ๋ยเช่นปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ยูเรีย โปแตสเซียมคลอไรด์ เป็นต้น ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มีทั้งประโยชน์และโทษดังนี้คือ ถ้าใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ จะทำให้พืชโตเร็ว ปุ๋ยนี้สะอาดไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่มีโรคและศัตรูติดมากับปุ๋ย ปุ๋ยนี้มีธาตุอาหารอยู่มาก ใช้ในปริมาณน้อยๆ การขนส่งสะดวกรวดเร็ว แต่อย่างไรก็ดีปุ๋ยวิทยาศาสตร์ก็มีผลเสียอยู่หลายประการเช่น ราคาแพง ทำให้ดินเป็นกรดหรือด่างมากขึ้น ถ้าใส่มากจะเป็นอันตรายต่อพืช ถ้าใช้ไปนานๆ จะทำให้ดินแข็ง และมีการปนปลอมปุ๋ยกันง่ายมาก

ปุ๋ยวิทยาศาสตร์หรือปุ๋ยเคมีแยกเป็น 2 ชนิดคือ

ก. ปุ๋ยเดี่ยวหรือแม่ปุ๋ย หมายถึง ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารแต่เพียงธาตุเดียว ปุ๋ยเดี่ยวใช้เร่งการเจริญเติบโตตามวัตถุประสงค์เฉพาะอย่าง เช่น

1. ปุ๋ยที่ให้ไนโตรเจน เช่น

-แอมโมเนียมซัลเฟต ให้ธาตุ N 20-21 %

-ยูเรีย ให้ธาตุ N 44-46 %

-แอมโมเนียมไนเตรท ให้ N 32-35 %

-แอมโมเนียคลอไรด์ ให้ N 25 %

-แคลเซี่ยมไซยานาไนด์ ให้ N 22 %

2. ปุ๋ยที่ให้ฟอสฟอรัส เช่น

-ซูปเปอร์ฟอสเฟต ให้ธาตุ P (ในรูป P2O5) 20 %

-ดับเบิ้ลซูปเปอร์ฟอสเฟต หรือทริพเปิลซูเปอร์ฟอสเฟตให้ P (P2O5) 45%

-ไฮเปอร์ฟอสเฟต ให้ P (P2O5) 28 %

-หินฟอสเฟต ให้ P (P2O5) 30 %

-กระดูกป่น ให้ P (P2O5) 30-35 %

-ไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ให้ N 18 %, และ P2O5 46 %

3. ปุ๋ยที่ให้โปแตสเซี่ยม เช่น

-โปแตสเซียมซัลเฟต ให้ K (ในรูป K2O) 50%

-โปแตสเซียมคลอไรด์ ให้ K (K2O) 60%

-โปแตสเซียมไนเตรต ให้ K (K2O) 46% และ ให้ N 13%

ข. ปุ๋ยผสม หมายถึง ปุ๋ยที่เอาปุ๋ยเดี่ยวหลาย ๆชนิดมาผสมกัน บางครั้งก็รวมเอาวัตถุอื่นที่มิใช่ปุ๋ยเข้ามาด้วย เพื่อให้ได้สัดส่วนของไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโปแตสเซียม (K) ตามที่เราต้องการ ในบางครั้งเราอาจผนวกเอาแมกนีเซียมอ๊อกไซด์ ซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์เข้ามาด้วย ปุ๋ยผสมยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1. ปุ๋ยผสมที่ไม่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยประกอบด้วย ธาตุหลักเพียง 2 ธาตุเช่น

-โปแตสเซียมไนเตรท มีปริมาณของ N 13% และ K 45-46%  ดังนํ้นสูตร หรือเกรดของปุ๋ยจึงเป็น 13-0-46

-ปุยแอมโมฟอส มีสูตร 8-14-0

-ปุ๋ยทวินโมฟอส มีสูตร 16-20-0

2. ปุ๋ยผสมที่สมบูรณ์ เป็นปุ๋ยที่ประกอบด้วยธาตุหลักครบทั้ง 3 ธาตุ เช่น

-ปุ๋ยไนโตรฟอสก้า ซึ่งมีหลายสูตร เช่น 14-11-16 หรือ 10-20-15 หรือ 15-15-15 และปุ๋ยแอมโมฟอสก้า ซึ่งมีสูตร 12-29-12 หรือ 12-16-16 เป็นต้น

สูตรหรือเกรดของปุ๋ยที่เขียนว่า 15-15-15 หรือ 16-20-0 (ปุ๋ยนา) หมายถึงสัดส่วนเป็นร้อยละโดยนํ้าหนักของธาตุ N-P-K ดังนั้นปุ๋ยสูตร 14-11-16 ก็หมายความว่าถ้าปุ๋ย

ตารางแสดงประสิทธิภาพของปุ๋ยที่ใช้ผสมกัน


หมายเหตุ

a = ปุ๋ยที่ผสมกันแล้วเก็บไว้ได้นานๆ

b= ปุ๋ยที่ผสมกันแล้วต้องใช้ทันที

x = ปุ๋ยที่ไม่อาจผสมกันได้เลย

นั้นหนัก 100 กิโลกรัม จะมีไนโตรเจน (N) 14 ก.ก มีฟอสฟอรัส(P2O5 ) 11 ก.ก และมีโปแตสเซียม (K2O) 16 ก.ก. นอกจากนั้นเป็นวัตถุอื่นๆ ที่ปนมากับปุ๋ยเดี่ยว และสารเฉื่อยชา (inert Materials) เช่น ทราย ขี้เลื่อย ที่เติมเข้าไป (เรียกว่า Filler) เพื่อให้น้ำหนักของปุ๋ย ผสมครบ 100 ก.ก. พอดี อนึ่งสูตรปุ๋ยบางชนิดอาจเป็น 12-12-6-2.5 หมายความว่านอกจากจะมี N-P-K แลวยังมีแมกนีเซียม(อยู่ในรูป MgO) หนัก 2.5 ก.ก. ในปุ๋ยผสม 100 ก.ก.นั้นด้วย

การใช้ปุ๋ยเคมีและข้อควรระวัง

1. ปุ๋ยเคมีมีธาตุอาหารสูง จึงใช้สำหรับแก้ปัญหาพืชขาดธาตุอาหารได้ทันที แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง

2. การใช้ปุ๋ยควรแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ตามอายุและขนาดของพืชคือ

ช่วงที่ 1 เป็นช่วงที่พืชเพิ่งงอกและกำลังเจริญเติบโต ช่วงนี้พืชต้องการสร้างกิ่งก้าน สาขาและต้องสร้างโปรตีนมาก ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยพวกไนโตรเจน เช่น ยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต เป็นต้น ถ้าจะใช้ปุ๋ยผสมก็ควรเลือกสูตรที่มี N สูง ๆ เช่น 20-20-0 เป็นต้น

ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทุกทาง เช่น ราก ลำต้น กิ่ง ใบ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยที่มี P มากขึ้น เช่น 5-10-5 หรือ 16-20-0

ช่วงที่ 3 เป็นช่วงที่พืชมีการเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว และเป็นช่วงที่กำลังสร้างผลและเมล็ดจึงควรใช้ปุ๋ยที่มี K มากขึ้น เช่น 14-11-16 หรือ 15-15-15 หรือ 12-16-16 เป็นต้น

3. ปุ๋ยไนโตรเจน เช่นพวกเกลือไนเตรทต่าง ๆ จะละลายไปกับน้ำ และถูกชะล้าง ลงสู่ใต้ดินง่ายมาก จึงต้องใช้อย่างระมัดระวัง ส่วนปุ๋ยพวกฟอสเฟต มีการเคลื่อนที่ไปตามดินช้ามาก ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ต้องใส่ใกล้ต้นและรากพืช

4. ปริมาณปุ๋ยที่ใช้ต่อต้นหรือต่อไร่สร้างสอคคล้องกับคำแนะนำของบริษัทและนักวิชาการ เพราะถ้าใช้ปุ๋ยเคมีมากเกินไปจะทำให้ต้นพืชตายได้ เมื่อใส่ปุ๋ยแล้วควรรดน้ำทันที

5. การใส่ปุ๋ยอาจจะหว่านก่อนหรือหลังไถหรือหลังจากปลูกพืชแล้ว และอาจจะฝังรองก้นหลุม หรือโรยรอบ ๆ โคนต้นก็ได้ นอกจากนี้อาจละลายในน้ำเช่น (ปุ๋ยยูเรีย แอมโมเนียมซัลเฟต) รดลงบนผัก บนดิน หรือละลายในน้ำชลประทานก็ได้ ปุ๋ยกล้วยไม้ ปุ๋ยไมดอก อาจละลายน้ำพ่นเป็นฝอย บางชนิคอาจผสมรวมกับยาฆ่าแมลงก็ได้

การใส่ปุ๋ยให้แก่ไม้ยืนต้นและไม้ผล ใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ เช่น 1 ก.ก./ต้น/ปี ทำการดายหญ้าพรวนดิน แล้วใส่ปุ๋ยโดยการหว่าน หรือขุดหลุมขุดร่องตื้นๆ ในรัศมีของร่มใบแล้วพรวนกลบหลุม ถ้าใช้วิธีหว่านก็ไม่จำเป็นต้องพรวนกลบก็ได้ บางคนอาจใช้คราดแต่เพียงเบา ๆ

6. ฤดูกาลที่ควรใส่ปุ๋ย คือก่อนฤดูฝน หรือก่อนฝนตก เช่นประมาณเดือนพฤษภาคม 1 ครั้ง และเดือนตุลาคมอีก 1 ครั้ง ตามปกติการแบ่งปุ๋ยใส่ให้ต้นพืชเพียงเล็กน้อยแต่บ่อยครั้งจะดีกว่าการใส่ปุ๋ยคราวละมาก ๆ

7. ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตใช้เเล้วทำให้ดินเป็นกรดปุ๋ยโปแตสเซียมคลอไรด์เหมาะกับพืชทุกชนิด ยกเว้นยาสูบและไม้ผล (ส้ม ทุเรียน ฯลฯ) แต่โปแตสเซี่ยมซัลเฟต เหมาะกับยาสูบและไม้ผลด้วย การใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ไปนาน ๆ อาจทำให้ดินแข็ง ผลผลิตลดลงและดินเป็นกรดจัด

วิธีแก้ไขดินเป็นกรดและดินแข็ง

1. ถ้าดินเป็นกรดใช้ปูนขาวหรือหินปูน

2. ควรใส่ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเช่นใช้ปุ๋ยเคมี 1 ก.ก. ผสมกับปุ๋ยคอก 1-2 ปีบ เป็นต้น

3. ปลูกพืชตระกูลถั่วเป็นพืชหมุนเวียน

4. ปลูกพืชแล้วไถกลบเป็นปุ๋ยพืชสด

5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอย่างเดียวเป็นปริมาณมาก ๆ

6. หลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยที่ทำให้เกิดกรด เช่น แอมโมเนียมซัลเฟต

สูตรปุ๋ยผสมสำหรับพืชบางชนิด

ชื่อพืช ควรใช้สูตร อัตราที่ควรใช้
ข้าว(ดินทั่วไป) 16-20-0 12 กก./ไร่ ก่อนปักดำ
8 กก./ไร่ หลังปักดำ 30 วัน
4 กก./ไร่ ก่อนออกรวง
ข้าว(ดินเหนียว 18-46-0 10 กก./ไร่ ก่อนปักดำ
8 กก./ไร่ หลังปักดำ
8 กก./ไร่ ก่อนออกรวง
ข้าว 10-10-10 40-80 กก./ไร่
ข้าวโพด 6-7-10 หรือ 50-75 กก./ไร่
12-12-6 50-60 กก./ไร่
ถั่วต่าง ๆ 2-12-12 30-60 กก./ไร่
ถั่วเขียว 10-20-20 30-50 กก./ไร่
ถั่วเหลือง 6-12-12 40-50 กก./ไร่
พืชผักกินใบและดอก 12-8-8 100-150 กก./ไร่
พืชกินหัว 10-10-15 75-100 กก./ไร่
มะเขือเทศ 10-10-10 80-100 กก./ไร่
มันสำปะหลัง 8-8-4 65-100 กก./ไร่
สับปะรด 10-4-15 หรือ 12-2-10 35 กก./1000 ต้น
แตงโม 6-11-9 70-80 กก./ไร่
ส้ม 6-10-15 ต้นเล็ก 

ออกผลแล้ว

30-80 กก./ไร่ 

100 กก./ไร่

กล้วย 8-10-20 80-100 กก./ไร่
10-10-10 

10-5-30

ต้นเล็ก 1 กำมือ/ต้น/ปี 

ต้นใหญ่ 0.5-1 กก./ต้น/ปี

มะพร้าว 8-8-18-2.7 

(2.7 คือแมกนีเซียม) หรือ 4-6-12

0.5-1 กก./ต้น/ปี
ยาง 10-16-9-2.5 

(2.5 คือแมกนีเซียม)

ยางอ่อน-5 ปีใส่ 100-800 กรัม/ต้น/ปี 

อายุ 5 ปีขึ้นไป 1 กก./ต้น/ปี

ทุเรียน 13-13-13 500-600 กรัม/ต้น/ปี
ไม้ผลอื่น ๆ 15-15-15 300/800 กรัม/ต้น/ปี

หมายเหตุ

1. หากท่านไม่สามารถจะหาสูตรปุ๋ยตามคำแนะนำนี้ได้ ก็ให้พิจารณาเลือกสูตร ที่มีส่วนประกอบใกล้เคียงกัน

2. การใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวหลายๆ ปี จะทำให้ดินแข็ง ดังนั้นควรใช้ปุ๋ยเคมีผสมกับปุ๋ยคอกด้วย ปุ๋ยคอกใช้ได้ไม่จำกัดจำนวน

3. ไม้ใบควรใช้สูตร (N-P-K) 12-8-8

ไม้ดอกควรใช้สูตร             5-10-5

พืชที่กินหัวควรใช้สูตร       5-10-10

พืชพวกถั่วควรใช้สูตร        2-12-12