ผักบุ้งรั้วมีประโยชน์อย่างไร


ชื่ออื่น ผักบุ้งฝรั่ง โหงวเหยียวเล้ง (แต้จิ๋ว) อู่จ่าวหลง (จีนกลาง) Railway Creeper
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ipomoea cairica (L.) Sweet
(Convolvulus cairica L.)
(Ipomoea pa/mata Forsk.)
วงศ์ Convolvulaceae
ลักษณะต้น เป็นไม้เลื้อยอายุหลายปี มักมีตุ่มเล็กๆ ที่ลำต้น ใบเดี่ยว ออกสลับกัน ตัวใบแยกเป็นห้าแฉกคล้ายรูปมือ ส่วนยอดแหลมเล็กน้อย ใบกว้าง 6-9 ซม. หลังใบ และท้องใบเกลี้ยง ก้านใบยาวกว่าตัวใบเล็กน้อย ดอกออกเดี่ยวๆ หรือเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน ก้านดอกสั้น กลีบดอกติดกันเป็นรูปแตรปากบานสีม่วงอ่อน ยาว 5-6 ซม. สีด้านในเข้มกว่าด้านนอก เกสรตัวผู้มี 5 อัน ผลแห้งแตกได้ มี 4 เมล็ด เมล็ดมีสีน้ำตาลปนเทา สั้นและกลม มักขึ้นตามที่รกร้างทั่วๆ ไป
ส่วนที่ใช้ ทั้งต้น ใบ เมล็ด และราก
สรรพคุณ
ทั้งต้น ใช้แก้ไอ ขัดเบา นิ่วที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ฝีบวม
ใบ ในอัฟริกาใต้ใช้ตำพอกหรือทาแก้ผื่นคัน
เมล็ด ในอินเดียใช้เป็นยาถ่าย
รากและใบ แม้มีรสขมแต่ในฮาวายใช้เป็นอาหาร
ทำรับยาและวิธีใช้
1. นิ่วที่มีปัสสาวะเป็นเลือด ใช้ต้นสด 30 กรัม ต้มน้ำแล้วกรอง กากออก เติมน้ำตาลกรวดกิน
2. ฝีบวม ผดผื่นคัน ใช้ต้นสดตำพอกบริเวณที่เป็น
ผลทางเภสัชวิทยา
1. ในการทดลองให้หนูกิน มูริคาติน เอ (muricatin A) ซึ่งสกัดได้จากเมล็ด จำนวน 0.5 กรัม มีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างเห็นได้ชัด
2. เมื่อฉีดมูริคาติน เอ ขนาด 5-10 มก.ต่อกก.น้ำหนักตัว เข้า หลอดเลือดสุนัขจะทำให้ชา (ใช้แทนการดมยาได้) และไม่มีผลต่อความ ดันโลหิตและการเคลื่อนไหวของลำไส้ แต่ถ้าให้ในขนาด 20-40 มก.ต่อ กก.น้ำหนักตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงชั่วคราว และกล้ามเนื้อเรียบของสำไส้คลายตัว ส่วนมูริคาติน บี (muricatin B) ไม่มีผลทางเภสัชวิทยาแต่อย่างใด
เคยมีรายงานยืนยันว่า ผักบุ้งรั้วมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของ เชื้อโรคได้
สารเคมีที่พบ
เมล็ด มี muricatin A, muricatin B, fatty acid (palmitic, stearic, arachidic, behenic, oleic, linoleic และ linolenic acid) และ ß-sitosterol
รากและใบ มี cyanogenetic glycoside อยู่เล็กน้อย
หมายเหตุ
รากและใบ มีสารกลุ่มซัยยาไนด์ (ซึ่งเป็นพิษต่อระบบหายใจ) สารนี้จะถูกทำลายโดยความร้อน ต้องระมัดระวังในการใช้
ที่มา:สำลี  ใจดี, สุนทรี  วิทยานารถไพศาล, รพีพล  ภโววาท, จิราพร  ลิ้มปานานนท์, นิยดา เกียรติยิ่งอังศุลี, วิทิต  วัณนาวิบูล