ฝาดดอกขาว

(Butterfly-poll)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Lumnitzera racemosa Willd
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่ออื่น ฝาด (กลาง, ใต้), ขวาด (สมุทรสาคร) กะสูง (ชุมพร)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดเล็ก สูง 8 ม. เปลือกต้นขรุขระสีน้ำตาลแดง มีรากหายใจไม่เด่นชัด


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนรอบกิ่ง กระจายตลอดกิ่ง แผ่นใบแคบ รูปไข่กลับกว้าง 1-3 ซม. ยาว 3-9 ซม.ปลายใบกลมเว้าตื้นๆ โคนใบรูปลิ่ม ขอบใบเรียบ หรือหยักมนถี่ แผ่นใบสีเขียวอ่อน ก้านใบสั้นมาก
ดอก สีขาวออกที่ปลายกิ่งและง่ามใบ เป็นช่อเชิงลด คล้ายช่อกระจะ ยาว 2-3 ซม. ไม่มีก้านดอก ฐานรองดอก และหลอดกลีบเลี้ยงรูปท่อ แบนด้านข้าง ยาว 0.6-0.9 ซม. แคบลงทางส่วนปลายใบประดับย่อย 2 ใบ รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับฐานรองดอกในทิศตรงข้าม กลีบเลี้ยง
5 กลีบ สั้นมาก รูปไข่กว้าง เชื่อมติดกับฐานรองดอกในทิศทางตรงข้าม กลีบดอก 5-4 กลีบ รูปรีแคบ ถึงรูปใบหอก เกสรเพศผู้ 10 อัน ยาวเท่าๆ กันกับกลีบดอก


ผล รูปทรงรี แบนด้านข้าง มีเหลี่ยมมน กว้าง 0.3-0.5 ซม. ยาว 1-1.3 ซม. ผลมีขนละเอียดสั้นนุ่มและมีผิวผลเกลี้ยง
นิเวศวิทยา พบตามพื้นที่ราบหาดเลนนํ้าท่วมถึงหรือขึ้นเป็นกลุ่มใหญ่ เมื่อพื้นที่ป่าเดิมถูกทำลายไป โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการระบายนํ้าดี และดินไม่เป็นทรายมากนัก
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้ก่อสร้างแข็งแรงทนทาน ยอดอ่อน รสเปรี้ยว ใช้ประกอบอาหาร
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ยอดอ่อนแก้ท้องอืดเฟ้อ
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย