มะแว้งต้นมีสรรพคุณดังนี้


ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum Linn.
Syn.    S. sanitwongsei Craib
ชื่ออื่นๆ มะแว้ง มะแคว้ง มะแคว้งขม มะแคว้งคม มะแคว้งดำ (กลาง) แว้งคม (สงขลา-สุราษฎร์ธานี) สะกั้งแค (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) หมากแฮ้งคง (ฉาน- แม่ฮ่องสอน)
ลักษณะ มะแว้งต้นเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1-1.3 เมตร คล้ายมะเขือพวง ต่างกับมะเขือพวง คือเรือนพุ่มของต้นเล็กกว่ามาก ลำต้นมีหนามเล็กน้อยและมีขนนุ่ม ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปไข่ ใบกว้าง 5-7 ซ.ม. ยาว 8-12 ซ.ม. ใบมีขนนุ่ม และใบเล็กกว่ามะเขือพวง ดอกของมะแว้งต้นสีม่วง ดอกมะเขือพวงสีขาว ผล มะแว้งต้นเล็กกว่ามะเขือพวงมาก และผลมะแว้งต้นเมื่อยังอ่อนมีลายสีขาวเล็กน้อย และน้อยกว่าลายสีขาวของผลมะแว้งเครือ เมื่อสุกจะมีสีส้ม ส่วนของมะเขือพวงเป็นสีเขียวอมเหลือง รสของผลมะแว้งต้นขมกว่ามะเขือพวง
ส่วนที่ใช้ ผลที่แก่จัดแต่ยังไม่สุก ผลสุก ราก
สารสำคัญ มีอัลคาลอยด์ solanine, solanidine และสารที่มีรสขม
ประโยชน์ทางยา ผลแก่ ยาขมเจริญอาหาร ใช้ลดนํ้าตาลในเส้นเลือด ขับเสมหะแก้ไอ
ผลสุกและดิบ ใช้เป็นนํ้ากระสายยากวาด แก้ไอขับเสมหะ ใช้ผลเตรียมยา “ประสะมะแว้ง” เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ ราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
ในอินเดีย ใช้รากเป็นยาขับลม แก้ไอ ใบและผลใช้แก้คัน
อื่นๆ เป็นผักจิ้ม ผู้สูงอายุนิยมรับประทาน ช่วยเจริญอาหาร
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ