สมุนไพรที่ใช้แก้ไอและขับเสมหะ

มะขาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica Linn.

ชื่ออื่น ๆ ตะลูบ (นครราชสีมา) ม่องโคลัง

(กาญจนบุรี) ส่ามอเกล (กระเหรี่ยง) หมากแกง (แม่ฮ่องสอน) อำเปียล (สุรินทร์)

ชื่ออังกฤษ Tamarind

วงศ์ Caesalpiniaceae

ลักษณะต้น ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 10-15 เมตร เปลือก ลำต้นแตกเป็นเกล็ดสีนํ้าตาลปนเทา ใบประกอบเรียงตัวแบบสลับ ใบย่อยเรียงตัวแบบขนนก มี 8-16 คู่ รูปขอบขนาน ช่อดอกแบบ raceme สีเหลืองอ่อน มีกลีบประดับหุ้มกลีบเลี้ยง กลีบเลี้ยงมี 4 กลีบ กลีบดอก 3 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน เกสรตัวเมียยาวโค้ง ฝักตรงหรือโค้ง ภายในมีเมล็ด 1-10 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ เนื้อในฝักแก่

สารเคมี กรด tartaric กรด citric กรด malic นํ้าตาล gum,เพคติน

สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ บรรเทาอาการเจ็บคอ ยาระบาย

วิธีใช้ เนื้อในฝัก 1 0-20 ฝัก จิ้มกับเกลือรับประทาน หรือนำมาคั้นนํ้าต้มดื่มผสมเกลือและนํ้าตาลเล็กน้อย

การขยายพันธุ์และการปลูก

เพาะเมล็ด ติดตา ต่อกิ่ง หรือทาบกิ่ง ปลูกในดินร่วนซุย ต้นเมื่อปลูกลงดิน มีความเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้ว จะทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี

มะนาว

ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantifolia (Christm.) Swingle

ชื่ออื่น ๆ โกรยชะม้า (สุรินทร์) ปะนอเกล, ปะโหน่งกลยาง (กาญจนบุรี), ส้มมะนาว หมากฟ้า (แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออังกฤษ Lime, Common lime

วงศ์ Rutaceae

ลักษณะต้น ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ก้านใบแผ่เป็นปีก ใบประกอบมีใบย่อยเป็นใบเดี่ยวรูปวงรี แผ่นใบมีจุดนํ้ามันกระจายทั่วไป ดอกเดี่ยวหรือช่อดอกแบบ raceme สีขาวปนเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน 4-5 กลีบ กลีบดอก 4-6 กลีบ เกสรตัวผู้ 18-25 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน ผลกลมมีต่อมนํ้ามันกระจายทั่วเปลือกผลภายในมีนํ้ารสเปรี้ยว

ส่วนที่ใช้ นํ้าจากผล

สารเคมี กรด citric, กรด malic, วิตามินซี

สรรพคุณ บรรเทาอาการเจ็บคอ ขับเสมหะ แก้ไอ

วิธีใช้ จิบนํ้าจากผล 1-2 ช้อนชาบ่อย ๆ อาจจะเติมเกลือและนํ้าผึ้งลงไปเล็กน้อย

การขยายพันธุ์และการปลูก

เพาะเมล็ด ตอน ติดตา ต่อกิ่ง หรือทาบกิ่ง ต้นมะนาวชอบดินร่วนซุย มีอินทรีย์วัตถุมาก การระบายนํ้าดีนํ้าไม่ขังเมื่อปลูกใหม่ ต้องดูแลรักษาหมั่นรดนํ้าและให้ร่มเงา ระวังเพลี้ยแป้ง และโรครากเน่า

มะแว้งเครือ

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solarium trilobatum Linn.

ชื่ออื่น ๆ แขว้งเคีย (ตาก) มะแว้งเถา

ชื่ออังกฤษ

วงศ์ Solanaceae

ลักษณะต้น ไม้พุ่มแกมเลื้อย ลำต้นมีหนาม ใบเดี่ยว เรียงตัวสลับ รูปไข่ ขอบใบหยักเว้า ผิวใบเรียบ อาจจะมีหนามเล็ก ๆ ตามเส้นใบ ช่อดอกแบบ raceme กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีม่วง 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 5 อัน สีเหลือง เกสรตัวเมีย 1 อัน ผลเป็นแบบ berry ฉํ่านํ้า เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.8-1.0 ซม. มีกลีบเลี้ยงติดอยู่ที่ผล ผลดิบมีสีเขียวเป็นลายเมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีแดง

ส่วนที่ใช้ ผลดิบ

สารเคมี มีสาร bitter tonic

สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ

วิธีใช้ ผลดิบ 5-10 ลูก โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่นํ้าใส่เกลือจิบบ่อย ๆ

การขยายพันธุ์และการปลูก

เพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป หมั่นรดนํ้า ให้ความชุ่มชื้นพอควร หาไม้ปักเป็นหลักให้เลื้อยหรือทำค้าง

มะแว้งต้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum indicum Linn.

ชื่ออื่น ๆ มะแคว้ง, มะแคว้งขม, มะแคว้งคม, มะแว้งดำ (เหนือ), สะกั้งแค, หมากแฮ้งดง (แม่ฮ่องสอน)

ชื่ออังกฤษ

วงศ์ Solanaceae

ลักษณะต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูง 1.5-2 เมตร มีขนทั้งต้น ใบเดี่ยวเรียงตัวแบบสลับ ใบเป็นรูปไข่หรือขอบขนาน ขอบใบเว้า ช่อดอกแบบ cymose ออกที่ปลายกิ่งหรือซอกใบ มี 3-4 ดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ ติดกันสีม่วง เกสรตัวผู้สีเหลีอง มี 5 อัน ผลเป็นแบบ berry ฉ่ำนํ้า กลีบเลี้ยงยังคงติดที่ผล

ส่วนที่ใช้ ผลดิบ

สารเคมี มีสาร bitter tonic

สรรพคุณ แก้ไอ ขับเสมหะ

วิธีใช้ ใช้ผลดิบ 5-10 ผล โขลกพอแหลก คั้นเอาแต่นํ้าใส่เกลือจิบบ่อย ๆ การขยายพันธุ์และการปลูก

เพาะเมล็ด ขึ้นได้ในดินทั่วไป รดนํ้าให้ความชุ่มชื้นพอสมควร