สมุนไพร:เคี่ยม

(Resak tembage)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Cotylelobium melanoxylon (Hook.f) Pierre
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่ออื่น เคี่ยม (ทั่วไป), เคี่ยมขาว เคี่ยมดำ เคี่ยมแดง (ภาคใต้)
ถิ่นกำเนิด ภาคใต้ของประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่สูง 20-40 ม. ทรงพุ่มทึบทรงเจดีย์ตํ่า ลำต้นตรง เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้ม มีรอยด่างสีเทาและเหลืองสลับ มีต่อมระบายอากาศกระจายทั่วไป ตามยอดอ่อนและช่อดอกมีขนสีน้ำตาลปกคลุม
ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่ เนื้อใบหนา ปลายใบสอบเรียวหยักเป็นตุ่มยาว โคนใบมนหลังใบเรียบมันผิวใบด้านล่างมีขนสีน้ำตาลปนเหลืองเป็นกระจุก


ดอก ดอกสีขาว ออกเป็นช่อยาวตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลิ่น หอมอ่อนๆ กลีบรองดอก 5 กลีบ รูปหอกเรียว มีขนสั้นปกคลุม ออกดอกเดือน ก.ค.-ต.ค.
ผล ผลแห้งทรงกลม มีขนนุ่มปีกขาว 1 คู่
นิเวศวิทยา พบตามป่าดงดิบในภาคใต้ ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเล 10-100 ม.
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ละเอียด แข็ง เหนียว หนัก ทนทานมาก ใช้ในน้ำทนทานดี ใช้ทำเรือ สะพานก่อสร้างที่ต้องการความแข็งแรงมาก ไม้ที่ยังสดอยู่จะบิดและแตกง่ายการเลื่อยตบแต่งควรทำในขณะที่ยังสดอยู่ เปลือก ใช้ผสมน้ำยางทาไม้ และน้ำมันชักเงา
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก ใช้เป็นยา ชะล้างแผล ห้ามเลือดแผลสด ชัน เป็นยาสมานแผล แก้ท้องร่วง
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย