สรรพคุณของราชดัด


ชื่อวิทยาศาสตร์ Brucea javanica Merr.
Syn.    B. amarissima Desv.
ชื่ออื่นๆ กะดัด ฉะดัด (ใต้) กาจับหลัก เท้ายายม่อมน้อย มะขี้เหา มะดีควาย ยาแก้

ฮากขม(เชียงใหม่) พญาดาบหัก (ตราด) สอยดาว (จันทบุรี) มะลาคา (ปัตตานี) โค้วเซียมจี๊ (จีน)
ลักษณะ เป็นไม้พุ่ม สูง 2-3 เมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับรอบกิ่งรูปไข่แกมใบหอก กว้าง 3-6 ซ.ม. ยาว 5-10 ซ.ม. ใบมีสีเขียวเข้มขอบใบหยัก ผิวใบมีขนนุ่มๆ ทั้งสองด้าน ดอกขนาดเล็กสีแดง ออกเป็นช่อเล็กๆ ที่ซอกกิ่ง มีต้นที่มีดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่คนละดอกในช่อเดียวกัน หรือเป็นต้นที่มีแต่ช่อดอกตัวผู้ ผลเป็นรูปไข่ ถ้ายังไม่แก่จัดสีเขียว แก่จัดสีดำผิวเรียบ ขนาดรูปร่าง เหมือนเมล็ดมะละกอแก่ๆ เนื้อในของผลสีขาวรสขมจัด
ส่วนที่ใช้ ผลแก่จัด
สารสำคัญ เมล็ดมีอัลคาลอยด์ brucamarine มี glycoside kosamine, bruceine A, B, c, D, E; bruceosides A, B. 20% ของ fatty acid และพบสารจำพวก quassinoid หลายชนิดซึ่งเป็นกลุ่มสารขม
ประโยชน์ทางยา ไทย ฟิลิปปินส์ ใช้เมล็ดเตรียมเป็นยาคุมธาตุ บำรุงธาตุ แก้บิดไม่มีตัว จีนใช้เป็นยาขับพยาธิและแก้บิด บางแห่งใช้ทั้งต้นหรือเมล็ดแก้ไข้มาลาเรีย จากการศึกษาพบว่า bruceines A, B, C มีฤทธิ์ต้านเชื้อมาลาเรียในหลอดทดลอง มีความเป็นพิษสูง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ