สรรพคุณของหนอนตายอยาก


ชื่อวิทยาศาสตร์ 1. Stemona burkillii Prain.
2.S. collinsae Craib.
3. S. curtisii Hook.f.
4. S tuberosa Lour.
ชื่ออื่นๆ 1. S. burkillii Prain เรียก ปงมดง่าม โปงมดง่าม (เชียงใหม่)
2. S. collinsae Craib. เรียก ปงช้าง (เหนือ)
หนอนตายอยาก (กลาง) ฮากสามสิบ (ลาว)
3. S. curtistii Hook.f. เรียก รากลิง (พัทลุง) หนอนตาย
อยาก (จันทบุรี)
4. S. tuberosa Lour. เรียก หนอนตายอยาก
(นครสวรรค์-แม่ฮ่องสอน) กะเพียด (ประจวบคีรีขันธ์ ชลบุรี)
ชื่ออังกฦษ Stemona
ลักษณะ ไม้เลื้อย ใบเดี่ยว ออกสลับกันรูปหัวใจ ปลายแหลม หรือ รูปใบคล้ายใบพลูแต่ปลายใบจะแหลมยาวขึ้นไป เส้นใบจะชัดมาก มีหลายเส้นจะออกมาในแนว ขนานกับขอบใบ ระหว่างเส้นใบดังกล่าวจะมีเส้นใบออกตามขวางของใบมา ประสานกับเส้นใบเหล่านี้ทำให้ดูเป็นตาสี่เหลี่ยม ลำต้นบนดินของหนอนตายอยาก หน้าแล้งจะโทรมพอเริ่มฤดูฝนใหม่ลำต้นบนดินก็จะงอกออกมาพร้อมทั้งออกดอก ลำต้นใต้ดินจะมีรากออกเป็นพวงสีขาวรูปกระสวย มีจำนวน 50-80 ราก แต่ละรากยาว 12-20 ซ.ม. คล้ายรากสามสิบ ดอกขนาดเล็กสีม่วงหรือสีขาวแล้วแต่พันธ์ออกครั้งละ 2-3 ดอก ผล เป็นผลแห้ง แตกได้
ส่วนที่ใช้ ราก
สารสำคัญ มีอัลคาลอยด์หลายชนิด ได้แก่ stemonine (C22 H33 N04), tuberostemonine, stemonidine, isostemonidine นอกจากนั้นใน S. collinsae Craib พบสาร stemonacetal, stemonal, stemonone.
ประโยชน์ ชาวสวนพริกไทยที่จังหวัดจันทบุรีใช้รากหนอนตายอยากตำให้ละเอียดแช่ในนํ้ามันมะพร้าวฉีดเพื่อฆ่าแมลงในสวนพริกไทย สำหรับที่จังหวัดพัทลุง ชาวเกาะสี่ เกาะห้าใช้รากลิง S.curtisii Hook.f. ตำแล้วทาฆ่าหนอนในสัตว์เช่นโค กระบือ ที่ใช้ทั่วๆ ไป จะใช้รากสดตำใส่ปูนขาว ยัดเข้าไปในรูแผลเน่าเปื่อย ที่มีหนอนในวัวควาย จะทำให้หนอนตายและแผลหาย ใช้ตำใส่กับนํ้ามันพืช ใส่ผมเพื่อฆ่าเหา และทาหิด ชาวบ้านใช้รากหนอนตายอยากทุบวางบนปากไหปลาร้ากันหนอนขึ้น ในพม่าใช้เป็นสารฆ่าแมลง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ