สารเร่งดอกมะม่วง

ที่มา:พีรเดช ทองอำไพ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชสวน คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

การผลิตมะม่วงในปัจจุบัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้วิชาการต่าง ๆ เข้าช่วย เพื่อควบคุมการเติบโตของมะม่วงให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ เรื่องการออกดอกติดผลของมะม่วงในอดีตเป็นปัญหาสำคัญซึ่งทำให้การผลิตมะม่วงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร แต่ขณะนี้เราสามารถบังคับให้มะม่วงมีการออกดอกได้อย่างเป็นที่น่าพอใจ โดยการใช้สารเคมีบางประเภท ซึ่งเป็นการก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเกษตร และยังเป็นแนวทางในการผลิตพืชนอกฤดชนิดอื่นอีกต่อไป

การออกดอกของมะม่วงนั้น มีหลักการอยู่ที่ว่า ต้นต้องมีความสมบูรณ์ และมีระดับฮอร์โมนภายในอย่างเหมาะสม ซึ่งในบรรดาฮอร์โมนทั้งหลายนั้น พบว่า จิบเบอเรลลิน (gibberellins) มีความสำคัญอย่างมากต่อการออกดอกของมะม่วงจิบเบอเรลลิน เป็นฮอร์โมนที่พืชสร้างขึ้นเอง และมีผลกระตุ้นการยืดตัวของเซลล์ จึงทำให้กิ่งก้านยืดยาวออก แต่ที่สำคัญคือ จิบเบอเรลลินเป็นฮอร์โมนที่เร่งการเติบโตทางด้าน กิ่งใบ และยับยั้งการออกดอก ดังนั้นสภาพใดก็ตามที่ทำให้มีจิบเบอเรลลินภายในต้นมาก ก็จะทำให้เกิดการเติบโตแต่ทางด้านกิ่งใบเพียงอย่างเดียวโดยไม่ออกดอก เช่น ในสภาพที่ดินชื้นหรือมีนํ้ามากเกินไป มีปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป แต่ในทางตรงกันข้าม คือถ้าในสภาพดินแห้ง มีไนโตรเจนน้อย หรือกระทบอากาศเย็นเป็นระยะเวลานานพอสมควร จะทำให้จิบเบอเรลลินลดน้อยลง ผลที่ตามมาก็คือ การเจริญทางด้านกิ่งใบหยุดชะงักลง และมีการสร้างตาดอกขึ้น มาแทน จากหลักการข้อนี้จึงอาจใช้เป็นหลักในการควบคุมการออกดอกของมะม่วงได้ โดยหาทางลดปริมาณจิบเบอเรลลินลง เพื่อให้มีโอกาสสร้างตาดอกได้มากขึ้น

ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาสารเคมีชนิดต่าง ๆ ขึ้นมาอย่างมากมาย และในบรรดาสารเหล่านี้มีอยู่กลุ่มหนึ่งที่น่าสนใจ นั่นคือสารชะลอการเจริญเติบโตของพืช (Plant growth retardants) สารกลุ่มนี้มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ สามารถยับยั้งการสร้างจิบเบอเรลลินภายในพืชได้ ถ้ามีการให้สารกลุ่มนี้กับต้นมะม่วง ก็จะทำให้ปริมาณจิบเบอเรลลินภายในต้นลดน้อยลง และหยุดการเติบโตทางด้านกิ่งใบ แต่จะพัฒนาตาดอกขึ้นมาแทน จากการทดลองใช้สารกลุ่มนี้ หลายชนิดกับมะม่วง พบว่ามีอยู่สารหนึ่ง ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงในการยับยั้งจิบเบอเรลลินในต้นมะม่วง นั่นคือ สารพาโคลบิวทราโซล (paclobutrazol) และพบว่าสารนี้สามารถบังคับให้มะม่วงออกดอกนอกฤดูได้ จากการทดลองครั้งแรก โดยคณาจารย์ของภาควิชา พืชสวน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2527 โดยทดลองกับมะม่วงนํ้าดอกไม้ทะวายเบอร์ 4 ปรากฎว่าต้นมะม่วงที่ใช้สารพาโคลบิวทราโซล สามารถออกดอกได้ทุกต้นภายในเวลา 2-4 เดือนภายหลังการใช้สาร เมื่อเป็นเช่นนี้จึงทำให้งานวิจัยเรื่องการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเริ่มแผ่วงกว้างขวางมากขึ้น โดยได้มีการทดสอบกับมะม่วงพันธุ์อื่นๆ เช่น เขียวเสวย หนังกลางวัน เจ้าคุณทิพย์ ฟ้าลั่น ศาลายา หนองแซง อกร่อง ทองดำ ซึ่งก็ปรากฏว่าใช้ได้ผลดีเช่นกัน ต่อมาได้มีการนำสารพาโคลบิวทราโซลออกมาจำหน่ายแก่เกษตรกรโดยใช้ชื่อการค้าว่า คัลทาร์ เพื่อใช้บังคับการออกดอกของมะม่วงโดยเฉพาะ

สารพาโคลบิวทราโซล เป็นสารควบคุมการเจริญเติบโตชนิดหนึ่ง ซึงถ้าใช้อย่างไม่ถูกต้องอาจไม่ได้ผลตามคุณสมบัติที่สารนั้นมีอยู่ และอาจเกิดผลเสียแก่ ต้นพืชได้ จากการวิจัยเป็นเวลากว่า 2 ปี พอได้ข้อสรุปที่จะแนะนำวิธีการใช้ได้ดังนี้

1. ต้นมะม่วงที่จะใช้สารต้องมีความอุดมสมบูรณ์สูง และควรมีการแตกใบอ่อนมาแล้วอย่างน้อย 2 ชุด ภายหลังจากเก็บผลไปแล้ว

2. ระยะเวลาที่เหมาะต่อการให้สารคือ ในช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อน หรือใบพวง

3. วิธีการให้สารที่เหมาะสมที่สุด คือ การรดลงดิน เนื่องจากสารนี้ดูดซึมได้ดีทางราก

4. ดินควรมีความชื้นพอสมควรในขณะให้สาร และควรรดนํ้าตามภายหลังการให้สารเพื่อให้ต้นมะม่วงดูดสารเข้าไปได้มากที่สุด

5. ภายหลังการให้สารแล้วประมาณ 2 เดือนครึ่ง มะม่วงจะเริ่มออกดอกได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธุ์ที่ออกดอกง่าย เช่น นํ้าดอกไม้ ฟ้าลั่น เจ้าคุณทิพย์ ศาลายา หนองแซง แต่บางกรณีต้นมะม่วงมีการพักตัวนานเกินไป และไม่ออกดอกภายใน 2 เดือนครึ่ง ก็อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตา เช่น โปแตสเซี่ยมไนเตรท 2.5% (ใช้สาร 500 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร) ซึ่งจะทำให้เกิดการออกดอกได้พร้อมกันทั้งต้นภายใน 2 สัปดาห์ แต่ถ้าเป็นพันธุ์ที่ออกดอกยากและไม่ค่อยตอบสนองต่อ

โปแตสเซี่ยมไนเตรท เช่น พันธุ์เขียวเสวย อกร่อง แรด ก็อาจใช้ไทโอยูเรีย 0.5℅ (ใช้สาร 100 กรัม ผสมน้ำ 20 ลิตร) พ่นให้ทั่วต้นแทน

โปแตสเซี่ยมไนเตรท การใช้โปแตสเซี่ยมไนเตรท หรือไทโอยูเรียจะทำให้การ ออกดอกเป็นไปอย่างสมํ่าเสมอทั้งต้น ทำให้สะดวกต่อการดูแลรักษา

6. อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซล เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้น ดังนี้

ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการบังคับให้มะม่วงออกดอกและเก็บเกี่ยวในช่วงเทศกาล เช่น วันขึ้นปีใหม่ (25-31 ธันวาคม) จะต้องนับวันย้อนหลังขึ้นไปเป็นขั้นตอน ก็จะสามารถกำหนดวันที่ให้สารพาโคลบิวทราโซล โปแตสเซี่ยมไนเตรทได้ดังนี้