หญ้านมหนูใช้รักษาโรคใดบ้าง


ชื่อ
จีนเรียก     ชี่ยู่กึง  โอวชี่หนี่ Berchemia lineata DC.

ลักษณะ
ชอบขึ้นตามชายป่า เป็นพืชล้มลุกอยู่ได้หลายปี เป็นพืชประเภทไม้ต้นเปลือกหนา เนื้อไม้สีเหลืองลำต้นกลมเกลี้ยง แตกกิ่งสะพรั่ง สูงประมาณ 3-4 ฟุต ใบขึ้นสลับ ก้านใบสั้นมาก รูปใบกลมรี ยาว 4-5 หุน ปลายใบทู่ไม่แหลม ขอบใบเรียบ เอ็นใบเห็นชัด ออกดอกเป็นช่อจากปลายกิ่ง บ้างก็ขึ้นจากโคนใบ ออกทีก็สองดอกขึ้นไป ดอกเล็กสีเหลือง มีกลีบ 5 กลีบ ส่วนเมล็ดรูปไข่ เมื่อสุกสีม่วงเข้ม ชิมดูรสเปรี้ยว

รส
รสแกมฝาด ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถกัดเสลด แก้คัดไล่ลม ใช้ภายนอกแก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงตับและไต

รักษา
ฝีมะคำร้อย โรคปอด โรคตับ กระเพาะปวดเพราะไฟธาตุอ่อน ปวดเมื่อยเอว ปวดเมื่อยกระดูก ลมไตมาก ใบใช้รักษาฝีมะคำร้อย

ตำราชาวบ้าน
1. ฝีมะคำร้อย – หญ้านมหนู 1 ตำลึง ต้มรับประทาน ถ้าคนไฟธาตุอ่อนร่างกายอ่อนแอก็ต้มกับเนื้อหมูสับ ถ้าร่างกายไฟธาตุแข็งก็ใส่กวยแชะ ใช้ภายนอก ตำแหลก พอกฝีก็ได้ หรือตำกับไข่ดาว พอกก็ได้ หรือหญ้านมหนู และฮุงติ้งเท้า  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
2. โรคปอด – หญ้านมหนู 1 ตำลึง ต้มกับแปะกิ๊บ  ครึ่งตำลึง รับประทาน
3. ปวดกระเพาะเพราะไฟธาตุอ่อน – หญ้านมหนู 1 ตำลึง ตุ๋นเหล้า
4. ตับอักเสบ – หญ้านมหนู และไผ่หยอง  อย่างละ 1 ตำลึง ต้มรับประทาน
5. ลมในกระเพาะมากเจ็บ – หญ้านมหนู เสือสามขา  อย่างละครึ่งตำลึง ต้มน้ำ รับประทาน
6. ปวดเมื่อยเอว – หญ้านมหนู 1 ตำลึง ต้มกระดูกหางหมู รับประทาน
7. ลมในไต – หญ้านมหนู 1 ตำลึง ต้มเซี่ยงจี้หมู รับประทาน

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ใบทำยากะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช