หญ้าเจ็ดดาว (จีน)


ชื่อ
จีนเรียก      ฉิกแชเกี่ยม กิมท่อเฮิยะ ฉิกเฮียะแช
Sambucus Javanica Reinw.

ลักษณะ
ชอบขี้นตามเชิงเขา ในสวนที่ใกล้บ้านและในทุ่งร้าง หรือชาวบ้านมักปลูกไว้เป็นยา เป็นพืชยืนต้น ไม่มีชื่อไทย สูงประมาณ 3-4 ฟุต ลำต้นขึ้นตรงเป็นเหลี่ยม แต่เปลือกเรียบ สีเขียว ใบคู่ มีก้านใบเล็กๆ ขึ้นที่โคนใบ โคนใบมักขึ้นสลับกันนิดหน่อย ขอบใบขรุขระรูปคล้ายฟันเลื่อย ออกดอกหน้าร้อน ดอกเป็นช่อสีขาว ดอกมีห้ากลีบ ออกลูกสีแดง

รส
เฝื่อนปาก ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานสามารกไล่รมคัดแน่น ระงับความเจ็บปวด ใช้ภายนอกระงับปวด แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงปอดและม้าม

รักษา
ฟกช้ำเพราะถูกของแข็ง เคล็ดยอก ช้ำในบริเวณทรวงอกและสีข้าง ใช้ภายนอก แก้ปวดหลังปวดเอว เนื่องด้วยธาตุนํ้ามาก เคล็ดยอกบริเวณเอว ผู้หญิงตกขาว

ตำราชาวบ้าน
1.  ฟกช้ำเคล็ดยอกเพราะถูกของแข็ง-หญ้าเจ็ดดาว ขยี้กับเกลือ ใช้ทาหรือตำแหลกเอานํ้าชงเหล้ารับประทาน หรือตำกับเหล้า ใช้ทา
2. ทรวงอกท้องถูกของแข็งทิ่มตำเจ็บ-หญ้าเจ็ดดาว ครึ่งตำลึง ตำเอานํ้าแล้วรับประทานกับเหล้า
3.สีข้างฟกช้ำเพราะถูกตี-หญ้าเจ็ดดาว 1 ตำลึงตำแหลกผสมปัสสาวะเด็กเล็กหรือเหล้ารับประทาน
4. เอวตึงเจ็บ-หญ้าเจ็ดดาว ตำกับเหล้าแล้วคั่วจนร้อน พอกที่เอว
5. ปวดเจ็บตามข้อเพราะรูมาติสม์-หญ้าเจ็ดดาว 2 ตำลึง ต้มแล้วชงเหล้ารับประทาน
6. เอวเคล็ดยอก-หญ้าเจ็ดดาว 3 เฉียน ต้มเนื้อสันหมู ชงเหล้ารับประทาน
7. ผู้หญิงตกขาว-รากหญ้าเจ็ดดาว 2 ตำลึง และ พลูนํ้า 1 ตำลึง ต้มน้ำรับประทาน

ปริมาณใช้
สดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง รากสดหรือแห้งไม่เกิน 2 ตำลึง ใช้ภายนอกใบและรากกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช