ข้อควรรู้เกี่ยวกับสมุนไพรหญ้าไก่นกคุ่ม


ชื่อ
จีนเรียก    พู่กงเอ็ง  ซัวอะ  จิเช่า เจียงตอไฉ่  อึ้งฮวยตี่เต็ง  Lactuca polycephala Benth.

ลักษณะ
พืชประเภทหญ้าปล้อง ชอบขึ้นตามทุ่งนา ข้างถนนที่ดินทราย เป็นพืชล้มลุก ลักษณะเป็นพืชอ่อนไม่แข็ง ลำต้นเป็นปล้องข้างในกลวง สูงประมาณฟุตกว่า ใบติดลำต้น ไม่มีก้านใบ ยาวประมาณ 3-4 นิ้ว สีเขียวใบไม้ โคนใบหุ้มต้น ออกดอกหน้าหนาวเข้าหน้าร้อน กลีบดอกบานเป็นวงกลมรูปร่ม ฐานใบสีเหลือง ต้นหนึ่งมีดอกสิบกว่าดอก ออกเมล็ดสีโกโก้

รส
รสขมนิดๆ ธาตุเย็นมาก ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานสามารถแก้ร้อนใน ดับพิษ ดับความร้อนในโลหิตและกระจายการคัด ใช้ภายนอกดับอาการอักเสบ แก้บวม ฤทธิ์เข้าถึงม้ามและปอด

รักษา
ปอดร้อนเจ็บคอ ผิวหนังเป็นตุ่มพิษ ใช้ทาภายนอกแก้ผิวหนังเป็นพิษ
แผลบวม เป็นฝี ผู้หญิงนมเจ็บปวด ตาแดงบวมเพราะร้อนใน

ตำราชาวบ้าน
1. ปอดร้อนเจ็บคอ – ใช้หญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง ต้มใส่กวยแชะ
2. ผิวหนังเป็นผื่น – หญ้าไก่นกคุ่ม 2 ตำลึง ต้มนํ้าแล้วชงกับเหล้า รับประทาน
3. ผิวหนังพุพองเป็นฝีบวมเพราะพิษร้อน – หญ้าไก่นกคุ่มตำกับนํ้าตาลแดง แล้วพอก ทา หรือหญ้าไก่นกคุ่มตำกับหญ้าดีมังกร หูปลาช่อน
แล้วพอก ทา
4. ตุ่มพิษเจ็บขึ้นตามปากหรือหน้า – หญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง ตำเอานํ้ารับประทาน ใช้กากพอกตุ่มพิษด้วย หรือใช้หญ้าไก่นกคุ่มที่ตากแห้งแล้วเผาเป็นเถ้าผสมกับพิมเสน ผสมนํ้ามันชาทา
5. ไข่ดันอักเสบ – หญ้าไก่นกคุ่ม 5-8 เฉียน ดองเหล้า แล้วตุ๋น รับประทาน ส่วนกากใช้พอก
6. ผู้หญิงเจ็บปวดที่นม – หญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง ตำกับเหล้าบีบนํ้า รับประทาน ส่วนกากใช้พอกหรือต้มเอานํ้าผสมน้ำตาลแดงรับประทาน หรือหญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง ตำกับส่าเหล้าแล้วพอก หรือหญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง ตำกับแป้งเหล้า แล้วพอก หรือหญ้าไก่นกคุ่ม 1 ตำลึง หมอน้อย  สานนํ้าผึ้ง  ลักกักเอง อย่างละ 5 เฉียน ต้มนํ้ารับประทาน
7. ตาแดงบวม – หญ้าไก่นกคุ่ม ตำจนแหลกผสมนํ้านมคน ใช้พอก

ปริมาณใช้
สดใช้ไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึง ใช้ภายนอกตามสมควร

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช