อาหารของพืช

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการงอกและการเจริญเติบโตของพืชคือ

1.1 พันธุกรรม คือลักษณะที่จะถ่ายทอดจากพ่อแม่ไปสู่ลูกหลาน พืชแต่ละชนิดมีลักษณะทางพันธุกรรมแตกต่างกัน จึงมีอัตราการเจริญเติบไม่เหมือนกัน

1.2 ดิน เบนที่ยึดเกาะของราก ทรงลำต้น เก็บอาหาร

1.3 น้ำ เป็นตัวนำอาหาร สารละลาย โปรโตพลาสม

1.4 แสงสว่าง ช่วยในการปรุงอาหาร

1.5 อุณหภูมิ ต้องสม่ำเสมอ ไม่ร้อนเกินไป และต้องปรับอุณหภูมิสำหรับพืชบางชนิด

1.6 อากาศ เช่น อ๊อกชิเจนเพื่อการใช้อาหารและคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ เพื่อการสังเคราะห์แสง (สร้างคาร์โบไฮเดรต)

1.7 ธาตุอาหารเช่น คารบอน (C), ไฮโดรเจน (H), อ๊อกซิเจน (O), ไนโตรเจน (N), ฟอสฟอรัส (P), โปแตสเซียม (K) แคลเซยม (Ca) แมกนีเซียม (Mg), กำมะถัน (S), เหล็ก (Fe), ทองแดง (Cu), สังกะสี(Zn), โบรอน(B), แมงกานีส (Mn), คลอรีน(Cl), โมลิบดีนั่ม (Mo)

ธาตุอาหารทั้ง 16 ธาตุนี้ พืชฅ้องการ C, H, O, มากที่สุค แต่ทว่าเราไม่ต้องเป็นห่วง เพราะธาตุทั้ง 3 นี้ พืชจะได้รับจาก น้ำและอากาศ (H2O, CO2, O2 ) ส่วนอีก 13 ธาตุ พืชจะได้รับจากดิน

ธาตุอาหารหลัก มี 3 ธาตุคือ N, P, K

ธาตุอาหารรอง มี 3 ธาตุคือ Ca, Mg, S,

ธาตุที่ใช้น้อย มี 7 ธาตุคือ Fe, Cu, Zn, B, Mn, Cl, Mo,

หน้าที่ของธาตุอาหาร

1. คารบอน (C), ไฮโดรเจน (H), และอ๊อกซbเจน (O) เป็นส่วนประกอบ ของเซลล์ เป็นของเหลวในเซลล์ เป็นน้ำตาล แป้ง และเยื่อใย

2. หน้าที่ของไนโตรเจน

-ทำให้พืชมีสีเขียว เร่งการเจริญเติบโต

– ทำให้ใบ ลำต้น ผลและเมล็ดเจริญเติบโตดี

-เพิ๋มคุณภาพของใบ เช่น ผักต่าง ๆ

-เพิ่มโปรตีนในพืช และในพืชอาหารสัตว์

-ช่วยให้จุลินทรีย์ในดินย่อยอินทรีย์วัตถุเร็วขึ้น

อาการของพืชที่ขาดไนโตรเจน

-ลำต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต ต้นผอมสูง ผลผลิตต่ำ

-ใบมีสีเหลืองซีด หรือน้ำตาลแซมเขียว

อาการของพืชที่รับ N มากเกินไป

-ลำต้น ใบ สีเขียวจัด เฝือใบ ไม่ค่อยออกดอกและผล

– ล้มง่าย โคนเปราะ ไม่ทนโรค สุกช้ากว่าปกติ

3. หน้าที่ของธาตุฟอสฟอรัส

-ช่วยกระตุ้นให้เมล็ดพืชงอก

-กระตุ้นความเจริญเติบโตของรากพืช ทำให้ลำต้นแข็ง

-ช่วยในการผลิดอกออกผล

-ช่วยในการหายใจและการปรุงอาหารของพืช (photosynthesis)

อาการของพืชที่ขาดธาตุฟอสฟอรัส

-รากไม่เจริญเติบโตตามปรกติ

-แคระแกรน ใบและต้นมีสีเขียวแก่ (ใบต้นข้าวโพดมีสีม่วงเป็นทาง ๆ)

-พืชแก่ช้ากว่าปกติ พวกธัญญพืชจะล้มง่าย

อาการของพืชที่รับ P มากเกินไปยังไม่เด่นชัดแน่นอน แต่อาจทำให้พืชขาดธาตุสังกะสีได้ โดยพืชจะแสดงอาการทางใบ ใบตามยอดมีสีเหลือง ขนาดเล็กลง ถ้าขาดสังกะสีนาน ๆ ต้นจะแคระแกรน ส้มและมะนาวจะเป็นโรคใบแก้ว

4. หน้าที่ของธาตุโปแตสเซียม

-ทำให้เมล็ดสมบูรณ์ โดยเฉพาะพวกธัญญพืช

-ทำให้ลำต้นแข็งแรง พืชมีความต้านทานโรค

-ช่วยในการสร้างและการถ่ายเท แป้ง น้ำตาล และน้ำมันในพืช

-ช่วยในการเจริญเติบโตของ ราก น้ำ เนื้อไม้ เนื้อผลไม้ และช่วยให้ใบ ยาสูบติดไฟดี

อาการของพืชที่ขาด K

-ผลิตผลลดลง

-พืชโตช้ากว่าปกติ ช่วงระหว่างปล้องจะสั้น

-พืชหักล้มง่าย และมีความต้านทานต่อโรคน้อย

-เมล็ดในพืชจำพวกแป้งจะลีบ

-ปลายและขอบใบจะมีสีน้ำตาลไหม้

-ใบยาสูบจะมีจุดสีน้ำตาลทั่วไป

-ฝ้ายจะมีใบสีน้ำตาลปนแดง เมื่อฝ้ายแก่สมอฝ้ายจะไม่อ้าเต็มที่

อาการของพืชที่รับ K มากเกินไป

-พืชแก่ช้า เนื้อผลไม้จะนุ่มและยุ่ย เปลือกบาง

-พืชเสียหายจากเกลือ K เป็นพิษ

5. หน้าที่ของธาตุรองและธาตุอื่น ๆ คือ

– แคลเซียม เบืนส่วนประกอบของเซลล์พืช เช่นเป็คติน ในส่วนของปลายราก ยอด กิ่ง และเป็นตัวเร่งปฏิกริยา

-แมกนีเซียม เป็นส่วนของสีเขียวในพืช (คลอโรฟิลล์) ช่วยในการดูดซึม อาหารและสร้างไขมัน

-กำมะถัน เป็นส่วนประกอบของโปรตีน และสีเขียวของพืช

-เหล็ก เร่งปฏิกริยาการหายใจ และช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์

-ทองแดง พบในคลอโรฟิลล์ น้ำย่อย และตัวเร่งปฏิกริยาในเซลล์

-สังกะสี เป็นส่วนประกอบของน้ำย่อย ตัวเร่งปฏิกริยา ถ้าขาดพืชจะแคระแกรนไม่มีเมล็ด

-โบรอน ช่วยในการเคลื่อนย้ายน้ำตาล การดูดซึมและการแบ่งเซลล์

-แมงกานีส ทำงานร่วมกับแคลเซียมและแมกเนเซียมในการสร้างคลอโรฟิลล์ และการใช้คาร์โบไฮเดรต

-คลอรีน ช่วยในการสร้างคลอโรฟิลล์

-โมลิบดีนัม เร่งปฏิกริยาของพวกไนเตรต