อุปกรณ์การสอนวิชาเกษตร

ตามปรกติมนุษย์เรามีประสาทในการรับรู้ความรู้สึกไม่เท่ากัน เช่นการเห็น มนุษย์จะจำได้ 83% แต่การฟังมนุษย์จะจำได้ประมาณ 11% ส่วนการดมกลิ่น การสัมผัส และการชิมรส มนุษย์จะจำได้เพียง 3.5, 1.5 และ1% ตามลำดับ แต่ถ้าเราได้ยินได้ฟังควบคู่กับการได้เห็นก็จะทำให้มนุษย์เราจำได้เป็นเปอร์เซ็นต์สูงและจำได้นานกว่า เครื่องมืออุปกรณ์ที่ช่วยในการเห็นการฟัง เรียกว่าโสตทัศนูปกรณ์

อุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องมือที่จำเป็นอย่างยิ่งต่อการสอนการเรียนในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาเกษตร อุปกรณ์การสอนวิชาเกษตรพอจะแบ่งออกได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ

ก. อุปกรณ์ในห้องเรียน ในห้องโสต หรือ ในอาคาร คือ อุปกรณ์ขนาด เล็ก ที่สามารถเคลื่อนที่ หยิบยกได้ง่าย เช่น

1. กระดานดำ หรือกระดานชอล์ค ซึ่งอาจทำด้วยกระดาน ไม้อัดเป็นแผ่นเดียวตลอด หรือใส่บานพับตรงกลางเป็นสองส่วน นอกจากนี้อาจใช้ผ้าติดกับกกระดาษทาสี กระดานดำ ทำเป็นกระดานชนิดม้วนได้

2. กระดานกล (Flannel) และกระดานแม่เหล็ก (Magnetic Board) สำหรับคิดภาพ และแผนภูมิต่าง ๆ

3. ป้ายประกาศ (Bulletin Board) สำหรับติดภาพ ข่าวสารและเอกสารอื่น ๆ

4. สิ่งของ ของจริง (objects) ได้แก่ชิ้นส่วน ตัวอย่าง ของวัสดุสิ่งของต่าง ๆ เช่น ดิน ปุ๋ย ยา เมล็ดพืช ใบ กิ่ง ดอก เครื่องยนต์ แมลง หมู วัว เป็ด ไก่ และ ตัวอย่างที่ตากแห้ง หรือดองไว้ก็ได้

5. หุ่นจำลอง (Models) และรูปถ่าย เช่นหุ่นจำลองโรงเรือน คอกสัตว์ หรือภาพวาดภาพถ่ายของสิ่งต่าง ๆ

6. วัสดุกราฟฟิคส์ (Graphifcs) เช่น ภาพวาด ลายเส้น แผนที่ แผนภูมิ แผนผัง โป๊สเตอร์ ตารางสถิติ และแผนภูมิพลิก (Flip chart)

7.  เอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ เอกสาร จดหมายเวียน ใบปลิว คำแนะนำ หนังสือพิมพ์ บทเรียนสำเร็จรูป

8.  ประเภทที่ต้องฉาย เช่น สไลด์ ฟิล์มสตริฟ (Filmstrip) ภาพโปร่งใส ภาพทึบแสง ภาพยนต์ โทรทัศน์

9.  ประเภทเครื่องเสียง เช่น วิทยุ เทป แผ่นเสียง เครื่องขยายเสียง

10.  ห้องสมุด ห้องสมุดควรประกอบด้วยเอกสาร ตำรา หนังสืออ้างอิง และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ซึ่งสามารถจะได้มาจากกรมกองต่าง ๆ จากองค์การ บริษัท ห้างร้าน และจากบุคคลอื่น ๆ

ข. อุปกรณ์นอกห้องเรียน คืออุปกรณ์หรือสิ่งของที่มีขนาดใหญ่ เคลื่อนที่หรือหยิบยกได้ยากหรือเคลื่อนที่ไม่ได้เลย เช่น

1.  เครื่องมือ เครื่องจักร รถแทรคเตอร์ อุปกรณ์ต่าง ๆ

2.  นาสาธิต สวนยาง สวนผลไม้

3.  เรือนเพาะชำ แปลงปลูกพืช

4.  คอกสัตว์ บ่อปลา

5.  โรงงานช่างเกษตร โรงงานอาหารสัตว์ โรงฟักไข่ ฯลฯ

6.  คลองชลประทาน การสำรวจรังวัดพื้นที่

7.  ฟาร์มนักเรียน ฟาร์มโรงเรียน

8.  พิพิธภัณฑ์ และงานแสดงออกร้านต่าง ๆ

การเตรียมและการผลิตอุปกรณ์

1.  ให้เด็กทำหรือหามาเอง เช่น คราด จอบ เสียม ตัวอย่างต้นไม้ ดอก ใบ ผล แมลง เคมีภัณฑ์ ฯลฯ

2.  ครูจัดหามาให้ เช่น ปุ๋ย ยา เคมีภัณฑ์ เมล็ดพืช เอกสาร สิ่งพิมพ์ สไลด์ ภาพยนตร์

3.  สร้างเองในโรงงาสนหรือในโรงเรียน เช่น ปุ้งกี๋ บัวรดน้ำ กระป๋อง เสียม คราด

4.  ให้คนอื่นช่วยทำ เช่น ครูช่างไม้ ครูช่างกล ช่วยทำอุปกรณ์การปลูกพืช พรวนดิน รดน้ำ เก็บเกี่ยว ฯลฯ

5.  เก็บสิ่งของไร้ค่ามาใช้และดัดแปลงให้เป็นอุปกรณ์การสอน และอุปกรณ์การเกษตร เช่น เครื่องยนต์เล็กที่ไม่ใช้ เอายางรถยนต์ผ่าซีกทำเป็นรางอาหารไก่ เอาเครื่องพ่นยาเก่า ๆ มาแก้ให้เด็กดู เป็นต้น

6. ผลิตอุปกรณ์การสอน เช่น แผนผัง แผนภูมิ ภาพวาด ตาราง แผนภูมิพลิกขึ้นใช้เอง หรือโดยความช่วยเหลือจากครูฝ่ายศิลป

การผนึกภาพ (Mounting Technigues) การผนึกภาพเป็นเทคนิคอันหนึ่งที่เราสามารถจะถนอมรักษาภาพถ่าย ภาพวาด ภาพเขียน ฯลฯให้มีสภาพคงทนถาวรและสวยงามอยู่ เป็นเวลาแรมปี การผนึกภาพมีวิธีทำได้ง่าย ๆ 2 วิธีคือ

1. การผนึกแห้ง โดยใช้กาวยางน้ำ (Rubber Cement) กาวธรรมดาหรือเทปเหนียวสองหน้า ในการผนึกแห้งเราต้องเตรียมกระดาษแข็ง กระดาน หรือวัสดุรองหลัง 1 ชิ้น ต่อภาพ 1 ภาพ โดยตัดกระดาษแข็งให้เท่ากับหรือโตกว่าภาพ เสร็จแล้วใช้กาวยางน้ำทาบนกระดาษ และด้านหลังของภาพ ทิ้งไว้ให้กาวแห้งหมาด ๆ แล้วรีบนำภาพไปผนึกลงบนกระดาษ แผ่นหลัง แล้วใช้ช้อนหรือขวดแม่โขงกลิ้งถูไปถูมาบนภาพเพื่อไล่ฟองอากาศ และรีดให้ภาพติดกับกระดาษรองหลังอย่างสนิท

2. การผนึกเปียก วิธีนี้เราเอาภาพถ่าย หรือภาพน้ำมันลงแช่ในนํ้าเสียก่อน แล้วเอาน้ำละเลงลงบนกระดาน (ไม้อัด) ใช้กาวลาเท็กซ์ทาบนกระดานจนทั่ว แล้วรีบเอาภาพที่เปียกน้ำมาผนึกลงบนกระดาน ใช้ช้อนหรือขวดแม่โขงกลิ้งถูไปถูมาเพื่อไล่ฟองอากาศ เสร็จแล้ววางทิ้งไว้ให้แห้ง ก็จะได้ภาพติดอยู่บนกระดาน

การทำสไลด์ (slides) การใช้สไลด์เป็นอุปกรณ์การสอน จะช่วยให้ผู้เรียนสนใจและเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้น การฉายสไลด์เป็นเทคนิคที่ใช้กันมากที่สุดอย่างหนึ่งในขบวนของโสตทัศนูปกรณ์ที่คล้ายคลึงกัน การฉายสไลด์ต้องมีเครื่องฉายกระแสไฟฟ้า และห้องมืดหรือไม่ก็ต้องใช้จอชนิดพิเศษเรียกว่าจอแสงตะวัน ซึ่งสามารถจะฉายในห้องธรรมดาได้ สไลด์มีข้อดีหลายอย่าง เพราะเราสามารถเลือกและเรียงภาพได้ตามต้องการ เราจะฉายหรือจะหยุดตรงภาพใดก็ได้ จึงสะดวกที่จะใช้ประกอบการบรรยายและสาธิตในเรื่องต่างๆ

สไลด์อาจมีทั้งชนิดขาวดำหรือเป็นภาพสี แต่สไลด์สีธรรมชาติเป็นชนิดที่ใช้กันมากที่สุด ในการจัดทำสไลด์ เราควรจะเขียนบทสไลด์ขึ้นมาก่อน เพื่อบอกใหทราบว่าจะทำเรื่องอะไร ถ่ายภาพที่ไหน ท่าใด จำนวนกี่ภาพ หลังจากนั้นก็ซื้อฟิล์มสีสำหรับทำสไลด์ เช่น Extachrome Kodachrome หรือฟิล์มสีทำสไลด์ของบริษิท Agfa, Sakura และ Fuji เป็นต้น ฟิล์มที่ใช้เป็น ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ยาว 20-36 ภาพ ในการทำสไลด์ เราจะต้องใช้กล้องถ่ายรูปชนิด 35 ม.ม เพื่อถ่ายภาพต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในบทสไลด์ เมื่อถ่ายเสร็จแล้วก็ส่งฟิล์มไปล้างที่บริษัท เขาก็จะติดกรอบเป็นสไลด์มาให้เรียบร้อย จากนั้นก็มาจัดเรียงลำดับให้ถูกตามขั้นตอนที่ควรจะเป็น เขียนเลขกำกับไว้บนขอบใดขอบหนึ่ง ก่อนจะฉายจะต้องเรียงสไลด์ลงในกล่องหรือถาดสไลด์ให้ หัวกลบลงข้างล่าง และให้ด้านที่มีผิวมันอยู่ติดกับหลอดฉาย การฉายสไลด์อาจฉายควบคู่กับการบรรยาย หรือจะใช้ระบบสไลด์ประกอบเสียงเดินเองโดยอัตโนมัติ เรียกว่าชุดสไลด์กับเทป (siide/Tape Synchronization) อนึ่งพึงระลึกไว้ว่าการฉายสไลด์ในแต่ละช่วงไม่ควรจะใช้สไลด์มากเกินไป ควรฉายครั้งละ 30-40 ภาพกำลังดี ถ้าสไลด์ยาวขนาด 70-80 ภาพ และฉายนานเป็นชั่วโมง ผู้ชมก็จะเบื่อหน่ายได้ง่าย