เกรียนไม้มงคล

(China berry)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Melia azedarach L.
ชื่อวงศ์ MELIACEAE
ชื่ออื่น เคี่ยน เลี่ยนดอกม่วง เฮี่ยน
ถิ่นกำเนิด เอเชียเขตร้อน
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 15-25 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-12 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แผ่กว้าง ค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีเทาอ่อนหรือสีนํ้าตาล แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว


ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ปลายคี่ เรียงเวียนสลับที่ปลายกิ่ง แกนกลางใบประกอบยาว 30-60 ซม. แยกแขนงตรงข้าม 4-5 คู่ ยาว 15-20 ซม. ใบย่อย 4-6 ใบ เรียงตรงข้าม รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 3-6 ซม. ปลายใบเรียวแหลมเป็นติ่งโคนใบ เบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียว สีเขียวสดเป็นมัน ใบอ่อน ผิวใบด้านล่างและก้านใบมีคราบนวลสีชมพูอมเทา
ดอก สีขาวมีแต้มสีม่วงตรงกลาง มีกลิ่นหอม ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้งยาว 15-30 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยม กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนานหรือรูปช้อน ปลายกลีบมนและโค้งไปข้างหลัง เกสรเพศผู้ 10 อัน สีม่วงเชื่อมติดกัน เป็นหลอด เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 2.5-3 ซม. ออกดอกปีละสองครั้ง เดือน ส.ค.-ก.ย. และ ก.พ.-มี.ค.
ผล ผลสดมีเนื้อ ทรงกลมแป้นขั้วผลปม เส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5-3 ซม. สีเขียวสดเป็นมัน เมื่อสุกสีเขียวอมเหลือง เมล็ดมีเนื้อสีขาวขุ่นห่อหุ้ม เมล็ดมีเปลือกหุ้มแข็งสีนํ้าตาลอ่อน 1 เมล็ดต่อผล ติดผลเดือน ต.ค.-ก.พ. และ เม.ย.-ส.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
นิเวศวิทยา พบตามที่โล่งชายป่าดิบ
การใช้ประโยชน์ เป็นไม้มงคล ปลูกไว้ตามบ้าน ยอดและใบอ่อน นำมาเผาเพื่อลดความขมรับประทานเป็นผักแกล้มกับลาบและนํ้าพริก
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย