เพกา

(Indian Trumpet Slower)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Oroxylum indicum (L.) Kurz
ชื่อวงศ์ BIGMONIACEAE
ชื่ออื่น เพกา (กลาง), มะลิดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ (เหนือ), หมากลิ้นฟ้า บักลิ้นฟ้า บักลิ้นงู ลิ้นไม้ ลิ้นฟ้า (อีสาน), หมากลิ้นก้าง หมากลิ้นช้าง (ฉาน-เหนือ), กาโด้โด้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), ดอก๊ะด๊อกก๊ะ, ดุแก (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน). เบโก (มาเลย์-นราธิวาส)


ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 3-20 ม. แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งเปราะหักง่าย เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทา บางครั้งพบแตกเป็นร่องตื้น เพียงเล็กน้อย มีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ที่เกิดจากรอยร่วงหล่นของใบ ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ อยู่กระจัดกระจายทั่วไป
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ เรียงตรงข้าม ชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ใบย่อยรูปไข่ หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. ปลายใบแหลม โคนใบสอบกลมหรือรูปไต มักเบี้ยว ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มก้านใบย่อยยาว ก้านใบยาว 30-200 ซม.
ดอก ดอกช่อ ออกที่ปลายยอดมีขนาดใหญ่ ก้านช่อดอกยาว 50-1 50 ซม. มีดอกย่อย 20-35 ดอก กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบ เป็นหลอดสีม่วงแดงหนาย่น บานกลางคืนร่วงตอนเช้า
ผล ผลแบบแคปซูล มีลักษณะเป็นฝักแบนยาวคล้ายรูปดาบ ห้อยลงอยู่เหนือเรือนยอด ฝัก ฝักกว้างประมาณ 5-6 ซม. ยาว 60-120 ซม. ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก รูปร่างแบนบาง มีปีกที่บางใส หรือมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ เมล็ดกว้าง 4-6 ซม. ยาว 7-10 ซม.
นิเวศวิทยา เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วน มีการระบายน้ำดี
การใช้ประโยชน์ ดอกอ่อน นำมาลวกหรือต้มให้สุกรับประทาน เป็นผักร่วมกับน้ำพริก ยอดอ่อน รับประทาน เป็นผักสด ฝักอ่อน มีรสขมใช้วิธีเผาไฟให้สุกเพื่อลดรสขม แล้วใช้กินเป็นผักเคียง
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร ฝักเพกา มีรสขมอมหวาน สรรพคุณ ช่วยขับผายลม ขับเสมหะ
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย