ข้อควรรู้เกี่ยวกับสมุนไพรเพชรสังฆาต


สันชะอวด สามร้อยต่อ

ชื่อ
จีนเรียก      จิกุกเซียว  ช่วงกุกเซียว  เที่ยกุกเซียว  กิมจี้ป่อห่อ Glechma hederacea Linn.

ลักษณะ
ชอบเกิดในที่ลุ่มมีนํ้าขังหรือที่ชื้น โดยมากมักปลูกตามบ้านใช้ทำยา เป็นพืชไม้เลื้อย ลำต้นเหลี่ยมยาว มีรากเกิดตามข้อเกาะเลื้อยไปตามดิน ใบคู่ ก้านใบยาว รูปกลมหรือกลมรี คล้ายใบบัวบก ขอบใบเป็นหยัก บางคนเรียกใบบัวบกดอกขาว ออกดอกหน้าร้อน เอ็นใบกระจายทั่วใบ ออกดอกไม่มาก ต้นยาวประมาณหนึ่งเซ็นหรือกว่านั้น

รส
รสขมน้อย กลิ่นหอม เป็นพืชไม่เย็นไม่ร้อน ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
สามารถไล่ลม ระงับปวด ใช้ภายนอกไล่ลม ฤทธิ์เข้าถึงตับและไต

รักษา
ถูกทุบตี ปวดเอว ปวดเมื่อยตามร่างกาย นิ่วสาย ตำใช้พอกนิ้วมือ
นิ้วเท้าคัดยอกเจ็บเนื่องจากหกล้ม

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดหน้าอกเนื่องด้วยถูกของแข็งหรือหกล้ม – เพชรสังฆาต, หมอน้อย ทิเปียงต่า อย่างละ 1 ตำลึง ตำเอานํ้าผสมเหล้า รับประทาน
2. ปวดเมื่อยหรือปวดเอวเนื่องจากพลัดตกหกล้ม – เพชรสังฆาต 1 ตำลึง ต้มกระดูกหางหมู กินกับเหล้า หรือเอาเพชรสังฆาต 1 ตำลึง ตำแหลก เอาน้ำตุ๋นเหล้ารับประทาน ส่วนกากใช้พอกบริเวณที่เจ็บปวด
3. ปวดเมื่อยตามร่างกายเนื่องจากรูมาติสซั่ม – เพชรสังฆาต โด่ไม่รู้ล้ม
เตงตี่กึง อย่างละ 1 ตำลึง ต้มกระดูกหมู ชงเหล้า หรือใช้เพชรสังฆาต ต้มกับใบโกฐจุฬาลำพา เอานํ้าชงเหล้าทาหรือต้มเอาไอรมตรงที่เจ็บ
4. นิ่วสาย – เพชรสังฆาต 1 ถึง 2 ตำลึง ต้มกวยแชะ รับประทาน
5. มือเท้าเคล็ดยอก – เพชรสังฆาต ต้มนํ้า ล้างหรืออาบ หรือตำแหลกเอาน้ำทา

ปริมาณใช้
ใช้สดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้พอกหรือทา กะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช