เสือสามขา (จีน)


ชื่อ
จีนเรียก    ซาคาโฮ่ว  หลักง่วยเสาะ ปิงหยี่เช่า ซาเฮียะเกี้ย Desmodium triloruin DC.

ลักษณะ
ชอบขนตามป่า เนินดิน ข้างทาง คันนา เป็นพืชขึ้นหลายปี ลำต้นสีเขียว กิ่งก้านเรียวเล็ก พอต้นถูกดินก็เกิดรากยึด ต้นยาวประมาณฟุตกว่า ใบคู่ มีก้านใบ เกิดเป็นใบเล็ก 3 โบ รูปหัวใจยาวประมาณ 2-3 หุน ขั้วใบแหลม ปลายใบป้าน ขอบใบเรียบ หลังใบมีขนขึ้น เอ็นใบเห็นได้ชัด ฐานก้านใบมักมีใบเล็กๆ ขึ้นเป็นใบหนุน ออกดอกสองกลีบในฤดูร้อนเข้าฤดูฝน กะเปาะใบกลมคล้ายจอก ออกลูกแบนเล็กสีเหลืองแกมโกโก้

รส
ฝาดขม ธาตุเย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแก้ลม ขับความเย็นในร่างกาย ขับลม แก้คัดแน่น ใช้ภายนอก แก้คัดแน่น ฤทธิ์เข้าถึงตับ

รักษา
แก้ปวดท้องหวัดร้อน ปวดท้องเพราะมากในกามกิจ ปอดบวม ใช้ภายนอก แก้ฟกช้ำ

ตำราชาวบ้าน
1. ปวดท้องเพราะหวัดร้อน-เสือสามขา และใบบัวบก โด่ไม่รู้ล้ม
อย่างละ 1 ตำลึง ต้มใส่เหล้านิดหน่อย
2. ปวดท้องเพราะมากในกามกิจ-เสือสามขา และใบบัวบก โด่ไม่รู้ล้ม หญ้าเกล็ดหอม  หญ้าลอยเท้าม้า อย่างละครึ่งตำลึง ตำแหลก เอาน้ำ ตุ๋นใส่เหล้า รับประทาน ส่วนกากพอกสะดือ
3. ปวดลูกอัณฑะ เสือสามขา ครึ่งตำลึง แมลงสาบ 4 ตัว (ตัดหัวขาปีกและรีดเครื่องในออกทิ้ง) ต้มน้ำ รับประทาน
4. เจ็บปวดช้ำใน-เสือสามขา ตำกับเกลือ ทา

ปริมาณใช้
รับประทานสดไม่เกิน 1 ตำลึง แห้งไม่เกินครึ่งตำลึง ใช้ภายนอกกะพอประมาณ

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ์ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช