แครอท(Carrot)


ลักษณะทั่วไป
เป็นพืชใช้กินหัว ต้องการพื้นที่แปลงปลูกค่อนข้างมาก แต่ใช้ปัจจัยการผลิตและแรงงานต่ำเทียบกับขนาดพื้นที่ปลูก สำหรับการปลูกในฤดูร้อนต้องให้น้ำ จึงมักปลูกกันในพื้นที่ขนาดเล็กลง และต้องเอาใจใส่ดูแลมากกว่าการปลูกโดยอาศัยน้ำฝน
ข้อมูลการผลิต
เหมือนกับเบบี้แครอทตลอด ยกเว้นสิ่งต่อไปนี้
ระยะปลูก (ต้นxแถว)    1×15 ซม.
ความลึก 1 ซม.
จำนวนต้น 133 ต้น/ตร.ม.
ระยะเวลาที่เจริญเติบโตเต็มที่ 90-100 วัน
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน(ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*อาจต้องจ้างแรงงานในการปลูกและเก็บเกี่ยว ถ้าพื้นที่ปลูกมีขนาดใหญ่
หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุน ผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อสังเกตเกี่ยวกับต้นทุนผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
การปลูกฤดูร้อนต้องการปัจจัยและความดูแลเอาใจใส่มากว่าการปลูกฤดูฝนซึ่งขึ้นอยู่กับฝนอย่างเดียว
ผลผลิต
สูงสุดในฤดูหนาว 190-230 กก. ฤดูร้อนประมาณ 170-190 กก. ส่วนฤดูฝนตามปกติได้ 125-175 กก. ยกเว้นปีฝนดีจะได้ 170-200 กก. ผลผลิตจะเป็นเกรด A ระหว่าง 30-50%
ราคาขายของเกษตรกร
ฤดูร้อนประมาณ 5-9 บาท/กก. ฤดูฝนจะสูงกว่าคือ 8-10 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ใช้ต้นทุนมากกว่าในการปลูกฤดูร้อน ต้องใช้ปุ๋ยมากขึ้น ส่วนสารเคมีมักจะไม่ใช้กันเลย
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษในการหยอดเมล็ดปลูกและถอนแยก ควรเตรียมแปลงปลูกให้ลึก ระบายน้ำดีเพื่อให้พืชลงหัวได้ดี
การตลาด
ตลาดกว้างขวางมีเอกชนคอยรับซื้อ การสูญเสียระหว่างขนส่งไปกรุงเทพฯ น้อย ราคาเฉลี่ย 10 บาท/กก. และต่ำลงเล็กน้อยในฤดูฝน
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค เหมือนกับเบบีแครอท
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อพื้นที่ปลูก 1 ตร.ม.)


ข้อควรปฏิบัติ เหมือนกับเบบี้แครอท ยกเว้น
ช่วงการปลูก
ขีดร่องลึก 1 ซม. ขวางแปลง ห่างกันร่องละ 15 ซม. หยอดเมล็ดทีละเมล็ด ระยะห่าง 1 ซม.
ช่วงการดูแลรักษา
ถอนแยกครั้งแรกเมื่อมีใบจริง 3-5 ใบ ประมาณ 15-20 วัน หลังเมล็ดงอก ถอนแยกครั้งที่สอง เมื่อมีใบจริง 8-9 ใบหรือ 30-35 วันหลังจากเมล็ดงอก ให้เหลือระยะห่างระหว่างต้น 5 ซม.
ช่วงการเก็บเกี่ยว
ทยอยเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 100-130 วัน ใช้วิธีขุด ตัดแต่งใบให้เหลือความยาว 10 ซม. ในฤดูฝนถ้าหัวมีดินติด ให้ล้างทำความสะอาดผึ่งให้แห้งก่อนทำการบรรจุ ใช้กระดาษรองเข่งกันไม่ให้หัวชอกช้ำเสียหาย
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่