แสมดำ


ชื่อวิทยาศาสตร์ Avicennia officinalis L.
ชื่อวงศ์ AVICEMMIACEAE
ชื่ออื่น อาปี-อาปี (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป ต้นขนาดกลางถึงใหญ่สูง 20 ม. รากแผ่สานเป็นร่างแห และมีรากหายใจลักษณะคล้ายนิ้วโผล่ยื่นขึ้นมาเหนือดิน ทรงพุ่มหนา แตกกิ่งระดับต่ำไม่มีพูพอน เปลือกต้นเรียบ หรือแตกเป็นร่องเล็กน้อยสีเทา ถึงสีเทาอมน้ำตาลหรือนํ้าตาลอมเขียว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม แผ่นใบรูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบกลม โคนใบแหลม ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ผิวใบด้านล่างมีขนยาวนุ่ม สีเหลืองอมนํ้าตาล
ดอก สีเหลืองหรือสีเหลืองแกมส้ม ออกดอกที่ปลายกิ่ง หรือง่ามใบ เป็นช่อเชิงลดแน่น มี 7-10 ดอก กลีบเลี้ยง 5 แฉก กลีบดอก 4 กลีบ โคนกลีบติดกันเป็นหลอดสั้นๆ ออกดอกเดือน ม.ค.-พ.ค.


ผล ผลคล้ายรูปหัวใจเบี้ยว แบน เปลือกอ่อนนุ่มสีเหลืองอมเขียว มีขนนุ่มสีเหลืองอมนํ้าตาลปกคลุมหนาแน่น ผิวเปลือกมีรอยย่น ปลายผลมีจะงอยสั้น เมื่อผลแก่เปลือกจะแตกออก ด้านข้างตามยาวผล และม้วนเป็นหลอดกลม 1 เมล็ดต่อผล
นิเวศวิทยา พบปะปนกับไม้แสมขาวตามริมทะเล
การใช้ประโยชน์ เปลือก ใช้ในการฟอกหนังได้
การใช้ประโยชนด้านสมุนไพร แก่น มีรสเค็ม เฝื่อน ต้มน้ำแก้ลม ในกระดูก ปัสสาวะพิการ แก้กษัย แก้หืดไอกรนริดสีดวง ท้องสมาน อาเจียน ปวดท้อง เปลือก ใช้แก้ปวดฟัน และรักษาโรคเรื้อนเมล็ดอ่อน ใช้ตำพอกเร่งแและพอกฝีที่แตกแล้วให้ตกสะเก็ดเร็วขึ้น
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย