โปรงขาว


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceriops decandra (Griff.) Ding Hou
ชื่อวงศ์    RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น โปรง โปรงหมู ปะโลง โหลง (กลาง), กระปูโลง โปลง โปรง (เพชรบุรี) แหม (ภูเก็ต), แสมมาเนาะ (สตูล)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลาง กึ่งไม้พุ่ม สูง 2-7 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อย พองขยายออก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนสั้น กลม ยาว 6-13 ซม. เหนือผิวดิน ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้น สีเทาอ่อน เรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ช่องอากาศสีนํ้าตาลอมชมพู


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับทิศทางเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบ รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมไข่กลับถึงรูปขอบขนานแกมรูปรี กว้าง 3-7 ซม. ยาว 5-12 ซม. เป็นมัน ปลายใบป้านมน กลม หรือเว้าตื้นๆ โคนใบรูปลิ่ม ผิวใบด้านบนสีเขียว ผิวใบด้านล่างซีด ก้านใบยาว 1-3 ซม. หูใบยาว 2-3 ซม.


ดอก สีขาวและเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล ออกเป็นช่อตามง่ามใบ แต่ละ ช่อมีดอกจำนวนมาก ก้านช่อดอกหนาสั้น ไม่มีก้านดอกย่อย ดอกอยู่ เป็นกระจุกที่ปลายก้านช่อดอกวงกลีบเลี้ยงยาว 0.5-0.7 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่แหลม กว้าง 0.2-0.3 ซม. ยาว 0.3-0.5 ซม. ตรงหรือโค้งขึ้น
ผล ผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือฝักเป็นรูปทรงกระบอกเรียวกว้าง 0.7-1 ซม.ยาว 8-15 ซม.สีเขียวโคนสีม่วงเข้ม มีสันตามยาว ส่วนโค้งชี้ไปทางปลายกิ่ง ไม่เป็นระเบียบ ออกดอกและผลเกือบตลอดปี
นิเวศวิทยา พบตามพื้นที่ป่าชายเลนที่เป็นที่ดอนแห้งและจะมี ลักษณะเหมือนไม้พุ่มหากขึ้นในสภาพที่ไม่เหมาะต่อการเจริญเติบโต
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก มีรสฝาดจัด เฝื่อนเล็กน้อย ใช้เปลือกต้มกับน้ำรับประทานแก้ท้องร่วง แก้อาเจียน แก้บิด แก้มูกเลือด ใช้เปลือกต้มนํ้าชะล้างบาดแผล ตำพอกใช้ห้ามเลือดในบาดแผลสด เล็กน้อยได้ดี
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย