โปรงแดง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Ceriops tagal (Perr.) C.B.Rob.
ชื่อวงศ์ RHIZOPHORACEAE
ชื่ออื่น ปรง (จันทบุรี, สมุทรสาคร) โปรงแดง (สมุทรสาคร), แสม (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 7-15 ม. โคนต้น มีพูพอนเล็กน้อยมีรากคํ้าจุนขนาดเล็ก รากหายใจรูปคล้ายเข่า อ้วนกลมยาว 12-20 ซม. เหนือผิวดิน สีนํ้าตาลอมชมพู ทรงพุ่มกลม สีเข้ม กิ่งสีเขียว มีช่องอากาศเล็กๆ เปลือกต้นสีชมพูเรื่อๆ หรือน้ำตาลอ่อนเรียบถึงแตกเป็นสะเก็ด ต้นแก่มีรอยแผลเป็น


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม สลับทิศทาง เป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง แผ่นใบชี้ไปทางปลายกิ่ง รูปไข่กลับแกมขอบขนานถึงรูปไข่กลับ กว้าง 3-8 ซม. ยาว 5-12 ซม. ปลายใบป้านมน หรือเว้าตื้นๆ ฐานใบรูปลิ่ม ขอบใบหยักเป็นคลื่น ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้ม ผิวใบด้านล่างซีด ก้านใบยาว 1.5-4 ซม. หูใบยาว 1-3 ซม.


ดอก สีขาว ออกดอกเป็นช่อกระจุกตามง่ามใบ แต่ละช่อมี 4-8 ดอก ก้านช่อดอกเรียวยาว 1-1.5 ซม. ก้านดอกย่อยสั้น วงกลีบเลี้ยงยาว 0.5-0.7 ซม. กลีบเลี้ยงหยักลึก 5 กลีบ รูปไข่ ยาว 0.4-0.5 ซม. แผ่บานออก ปลายโค้งจะเข้าหาผล ใบประดับเชื่อมติดกันที่โคนหลอด กลีบเลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน
ผล รูปแพรกลับ ยาว 1-3 ซม. เป็นผลแบบงอกตั้งแต่ยังติดอยู่ บนต้น ลำต้นใต้ใบเลี้ยงหรือ “ฝัก” รูปทรงกระบอก กว้าง 0.5-0.8 ซม. ยาว 15-35 ซม. ปลายเล็กขยายใหญ่ไปทางส่วนโคน แล้วสอบแหลม มีสัน แหลมตามยาว ผิวขรุขระ สีเขียวแต่เมื่อผลแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ห้อยลงในแนวดิ่ง ออกดอกและติดผลเกือบตลอดปี
นิเวศวิทยา พบด้านในของป่าชายเลนตามริมชายฝั่งแม่น้ำที่น้ำท่วมถึงอย่างสม่ำเสมอ และดินมีการระบายน้ำดี
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือก ใช้ต้มกับน้ำไว้ชะล้างบาดแผล
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย