โรคพืชที่เกิดจากโปรโตซัว

PROTOZOAN DISEASES
โปรโตซัวเป็นสัตว์เซลเดียว มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า โดยทั่วไปเคลื่อนไหวได้ nucleus อาจดำรงชีวิตอยู่ตามลำพัง หรือเป็นกลุ่ม อยู่อย่างอิสระ อยู่ร่วมกันเอง หรือเป็นปรสิต บางชนิดอาศัยอยู่บนสิ่งมีชีวิต
อื่น เช่น บักเตรี ยีสต์ สาหร่ายและโปรโตซัวชนิดอื่นๆ พวกที่เป็น saprophyte ใช้อาหารด้วยการย่อยสารต่างๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวของมัน บางชนิดมีวัตถุที่อาจสังเคราะห์ได้เองเช่นเดียวกับพืช โปรโตซัวเคลื่อนไหวได้ด้วย flagella (ชั้น Mastigophora, flagellates) บางชนิดเคลื่อนไหวด้วยขาเทียม (pseudopodia ชั้น Rhizopoda, amoebae) บางชนิดด้วยขนรอบตัว (cilia-ชั้น Ciliata, ciliates) และบางชนิดก็เคลื่อนไหวได้ด้วยตัวของมันเอง (ชั้น Sporozoa) ซึ่งเป็นชนิดที่เป็นปรสิตกับโปรโตซัวกันเอง
โปรโตซัวที่เป็นสาเหตุของโรคพืช มี flagella จัดอยู่ในชั้น Mastigophora อันดับ Kinetoplastida ตระกูล Trypanosomatidae โปรโตซัวนี้ทราบจากรายงานของนักวิจัยหลายท่านในระยะเวลาต่างๆ ว่าสามารถทำให้พืชเป็นโรคได้เป็นเวลาเกือบ 70 ปีมาแล้ว โดย A. Lafont ได้รายงานเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1909 แต่ยังไม่ยอมรับกัน เนื่องจากโปรโตซัวนี้ไม่สามารถแยกมาเลี้ยงให้เป็นเชื้อบริสุทธิ์ และปลูกเชื้อกับพืชปกติเพื่อให้เกิดโรค ตามขั้นตอนการพิสูจน์โรคของ “Koch’s” ได้ จนกระทั่งได้มีการยอมรับเชื้อมายโคพลาสมา และริคเคทเซีย ว่าเป็นสาเหตุของพืชด้วย เพราะการพิสูจน์โรคของมายโคพลาสมาและริคเคทเซีย ตามวิธีการของ “Koch’s” นั้นไม่ใกล้เคียงมากไปกว่าของโปรโตซัวเลย ส่วนโปรโตซัวชนิดอื่นๆ ยังไม่พบเป็นปรสิตกับพืช


ภาพโรคเหี่ยวของปาล์มน้ำมัน เกิดจากโปรโตซัว A อาการโรคโคนของกาบใบ ผลเน่า B สอง sieve elements ที่ตัดความยาวมีจำนวนโปรโตซัวอยู่ต่างกัน P = โปรโตซัว se = sieve element;cw = ผนังเซล C Sieve element ที่เกิดความยาว แสดงส่วนของโปรโตซัวความยาว n = nucleus, db = dense body และ D โปรโตซัวที่ติดความยาว (anterior portion), m= เยื่อหุ้มชั้นนอก kp = kinetoplast แสดง nucleoid ประกอบด้วย DNA fibers เป็นแถบต่างๆ กัน fp = flagellai pocket,b = ส่วนของ flagellum ที่ออกจากเซล (ที่มา : Thomas, et al. 1979)

ตารางโรคที่เกิดจากโปรโตซัว ปัจจุบันมี 5 โรค


โรค phloem necrosis ของกาแฟ
โปรโตซัวสาเหตุโรค (Phvtomonas teptovasorum) ขนาด 14-18 X 100 – 1.2 µm, spindle – shaped flagellates อยู่ใน phloem ทำให้ phloem มีท่อสั้นและเล็ก เพราะเกิดจากการแบ่งเซลของ cambium ผิดปกติ โปรโตซัวมี 2 แบบ คือ
1. พวกขนาดสั้นกว่า (2-3 µm) เรียกว่า “leishmania forms” พบใน sieve tubes การแบ่งเซลที่ผิดปกติเกิดตั้งแต่รากถึงลำต้นสูงเหนือระดับดิน 2 เมตร
2. พวกขนาดเล็กมาก (3-4 4 0.1 – 1.2 µ m) เรียกว่า “spaghetti” โปรโตซัวอยู่เฉพาะในเนื้อเยื่อของลำต้นที่ยังมีชีวิตอยู่โดยย้ายไปเซลใหม่อื่นๆ ผ่านทาง phloem
โรคติดต่อกันได้ด้วยการทาบรากจากต้นที่เป็นโรค แต่ไม่ติดต่อกันด้วยการทาบกิ่ง หรือทาบใบโดยโรคมีอาการที่รากใน 2 – 3 สัปดาห์ และอาการที่ต้นภายใน 4 – 5 เดือน แล้วต้นจะตายในเวลาต่อมาไม่นานนัก การระบาดของโรคเป็นจากต้นหนึ่งไปสู่อีกด้านหนึ่ง และต้นปกติที่ปลูกในไร่ ซึ่งเคยเป็นโรคนี้มาก่อน ก็ทำให้พืชเป็นโรคได้อีก ส่วนพาหะนำโรคยังไม่ทราบ
โรคปลายช่อดอกเน่า
โรคนี้มีรายงานพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1906 มีชื่อเรียกอื่นๆ อีก คือ lethal yellowing, brone – leaf wilt, Coronie wilt และ unknown disease โปรโตซัวสาเหตุโรค (Phytomonas sp.) อยู่ใน seive elements ของใบอ่อน และช่อดอก ซึ่งโปรโตซัวอาจทำให้อุดตันได้ โปรโตซัวมีขนาด 12-18 1.0-2.5 µm และจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเป็นสัดส่วนโดยตรงกับการเจริญของโรค ส่วนพาหนะและวิธีการติดต่อของโรคยังไม่ทราบ
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช