โรคเกิดจากสาหร่ายและพืชชั้นสูง

ALGAL DISEASES AND PHANEROGAMS
โรคเกิดจากสาหร่าย Algal Diseases
สาหร่าย (algae) เป็น eucaryotes ที่มีรงควัตถุสามารถสังเคราะห์แสงในการปรุงอาหารเอง สาหร่ายส่วนมากมีรงควัตถุเป็น chlorophyll a และอยู่เป็นเซลเดี่ยวๆ (unicellular) เรียกว่า phytoplankton มีน้อยที่ประกอบด้วยเซลมากมาย (multicellular) คือ seaweeds ซึ่งอาจมีขนาดยาวใหญ่ แต่ไม่มีโครงสร้างเป็นลักษณะเฉพาะแต่อย่างไร เพียงแต่มีขนาดใหญ่กว่าเท่านั้น
สาหร่ายแบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ โดยอาศัยความแตกต่างของรงควัตถุที่ใช้สังเคราะห์แสงเป็นหลักได้ 5 กลุ่ม สาหร่ายมี nucleus เห็นเด่นชัด สาหร่ายกลุ่ม green algae เก็บสะสมอาหารในรูปแป้ง ส่วนกลุ่มอื่นๆ อาจเป็น glucans หรือ polysaccharides อื่นๆ ผนังเซลปกติประกอบด้วย cellulose และ polysaccharides อื่นๆ อย่างน้อยอีก 2 อย่าง ซึ่งมักเป็น mannans และ glucans
ตารางสาหร่ายกลุ่มต่างๆ ที่จำแนกตามชนิดของรงควัตถุ (ที่มา : Mitchell, 1974)


สาหร่ายพบได้ทั่วไปในที่มีแสงสว่าง ความชื้นสูง และมีอาหารเพียงพอ มีอายุนานข้ามปี เช่น ในประเทศเขตร้อน สาหร่ายในกลุ่ม green และ red algae มักพบขึ้นคลุมบนลำต้นและกิ่งก้านต้นไม้ทั่วไป บนหิน ดิน และวัตถุที่มีความชื้นสูงต่างๆ สาหร่ายบางชนิดเป็นปรสิต และทำให้พืชเป็นโรค โดยเฉพาะในฤดูฝน ที่มีฝนเพียง 2-3 เดือน ก็สามารถทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตได้ดี
ตารางสาหร่ายสาเหตุโรค การทำลายพืชอาศัย (ที่มา : Wellman, 1972)

สาหร่าย

การทำลายพืช

ผลของการทำลาย

Cephaleuros minimis

ลำต้นและก้านใบ

การเข้าทำลายของสาหร่ายทำให้บวมพอง หรือแตกและตายได้

C. vireseens

ใบ ผล ของพืชหลายชนิด

การเข้าทำลายทำให้พืชเป็นแผล

หากเข้าทางปากใบ ทำให้ใบร่วง

หากเจริญคลุมใบทำให้การสังเคราะห์แสงน้อยลง

หากมีเชื้อราร่วมอยู่ด้วย จะเจริญเป็น lichens (อาจเป็น Strigula spp.)

Phycopeltis epiphyton

เจริญที่ผิวด้านบนของใบพืชต่างๆ

สาหร่ายไม่เข้าในพืชเพียงแต่ไปรบกวนการสังเคราะห์แสง หากมีเชื้อราร่วมด้วยจะกลายเป็น lichens

Spirogyra sp.

พบที่โคนต้นอ้อยและในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์

เจริญคลุมพืช

Stomatochroon sp.

พบที่ใบของพืชต่างๆ

เข้าทำลายทางปากใบ แล้วกระจายไปทั่ว

Trentepohlia sp.

กิ่งก้าน และผิวใบทั้งสองด้าน

เจริญคลุมพืช

Rhodochytrium spilanthidis

จุดสีแดงบนใบพืช genus Artemesia

ปรสิตอย่างอ่อน พืชแคระแกรนเล็กน้อย

Chlorochytrium lemnae

บนใบพืช genus Lemna

ปรสิตอย่างอ่อน พืชแคระแกรนเล็กน้อย

Scytonemeae sp.

ฯลฯ

บนใบพืช genus Acalypha

เข้าทำลายทางปากใบ ใบตาย

Cephaleuros virescens (C. mycoidea และ Mycoidea parasitica) เป็นสาหร่ายที่ทำความเสียหายแก่พืชทางเศรษฐกิจมากที่สุด พบเป็นปรสิตของชา ส้ม กาแฟ อโวคาโด มะม่วง ฝรั่ง ยางพารา และพืชอื่นๆ หากทำให้เกิดโรครุนแรง อาจพบเป็นรอยกิ่ง และมีอาการ die-back ตามมาได้ กาแฟที่เป็นโรคโดยมีแผลหลายแห่งบนใบนั้น อาจทำให้ใบร่วง โรคของกาแฟและชาที่เกิดจากสาหร่ายนี้ จากลักษณะอาการเรียกโรคนี้ว่า สนิมแดง (red rust) พบทั่วไปในประเทศเขตร้อนทางแถบตะวันออกและเขตร้อนของอเมริกาอาการโรคมีแผลเป็นจุดขอบไม่เรียบขนาดต่างๆ และอาจทำให้เปลือกของกิ่งไม้แตกได้ ส่วนสาหร่ายอื่นๆ ทำความเสียหายน้อยมาก ไม่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
การแพร่กระจายและการเข้าทำลายพืช
การแพร่กระจายของสาหร่ายเกิดจาก sporangia สร้าง zoospores ซึ่งมี flagella 2 อัน เคลื่อนที่ในนํ้าได้รวดเร็วเป็นวันสปอร์ที่ตกลงบนใบ จะรวมกันเป็น thalli เล็กๆ ที่ประกอบด้วย 2-3 เซล บน epidermis การรวมที่ผิวใบนี้ใช้เวลาประมาณ 5 วัน Thalli นี้ยังมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องเจริญต่อไปจนถึงขนาดเห็นด้วยตาเปล่าซึ่งอาจเกิดประมาณ หนึ่งใน 50 และประมาณ หนึ่งใน 100 เท่านั้น ที่ติดแน่นกับใบและแทงผ่าน epidermis ได้
การติดแน่นของ thalli สาหร่ายนี้ เพราะบางส่วนได้เข้าไปอยู่ในเนื้อเยื่อของใบ โดยดันเข้าไปอยู่ระหว่างเซลได้ epidermis ไม่ทำลายเข้าไปในเซลแต่อย่างใด ทำให้เซลเนื้อเยื่อพืชถูกกดดัน เซลจึงมีรูปร่าง ผิดปกติไป และบางกรณีอาจกระตุ้นให้มีการแบ่งเซลได้ เช่นใต้แผลของใบอโวคาโดพบ mesophyll cell ขนาดเล็กถึง 4-5 แถว ขณะที่ส่วนของใบปกติมีเพียงหนึ่งแถวเท่านั้น ส่วนปฏิกิริยาของเอนไซม์ หรือสารพิษ คงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพราะไม่มีการเปลี่ยนสีเกิดรอยแผลให้เห็น แต่การที่เกิดใบร่วงนั้นอาจเป็นเพราะจากการดูดซึมอาหารของสาหร่าย และผิวใบพืชด้านบนถูกสาหร่ายปกคลุมมากกว่า
การเปลี่ยนสภาพปรสิตจากสาหร่ายไปเป็นไลเคน
ไลเคน (lichen) เป็นอินทรีย์เชิงซ้อนที่ประกอบด้วยเชื้อราและสาหร่ายอยู่ร่วมพึ่งพาอาศัยซึ่งกัน และกัน โดยผสมผสานกันตลอดการเติบโต ในกรณีของสาหร่าย Cephaleuros virescens กับเชื้อรา จะ
เกิดไลเคนที่รู้จักกันดีว่า Strigula complanata และจากการสังเกตไลเคนบนใบพืช พบว่ามี C. minimis ทำลายกิ่งที่มีไลเคนเป็นจุดบนใบพืชอยู่ด้วย นอกจากนี้ได้พบการเจริญของ Strigula มากมายบนพืชแล้วมักเห็นสาหร่าย
ไลเคน (lichen) เป็นอินทรีย์เชิงซ้อนที่ประกอบด้วยเชื้อราและสาหร่ายอยู่ร่วมพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยผสมผสานกันตลอดการเติบโต ในกรณีของสาหร่าย Cephaleuros virescens กับเชื้อรา จะเกิด ไลเคนที่รู้จักกันดีว่า Strigula complanata และจากการสังเกตไลเคนบนใบพืช พบว่ามี C. minimis ทำลาย กิ่งที่มีไลเคนเป็นจุดบนใบพืชอยู่ด้วย นอกจากนี้ได้พบการเจริญของ Strigula มากมายบนพืช แล้วมักเห็นสาหร่าย Phycopeltis sp. อยู่ด้วย แต่ไลเคน Strigula บนต้นปาล์ม พบเป็นสาหร่าย Trentepohlia sp.
การควบคุมโรค
1. ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ อย่าให้มีร่มเงามากเกินไป
2. ล้างป้องกันต้นและใบพืช ด้วยสารละลายจุนสีเจือจาง
3. การตัดใบพืชออกบางส่วน ตลอดจนปรับดินให้มีการระบายนํ้าที่ดี จะช่วยให้อ้อย หรือต้นหญ้าเจริญพ้นการมีสาหร่าย Spirogyra หรือ Trentepohlia ปกคลุมได้ดี

ภาพสาหร่าย Dunaliella salina (green alga) ที่มา:Mitchell, 1974
โรคเกิดจากพืชชั้นสูง Phanerogams
พืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ มีมากกว่า 2,500 species พบขึ้นบนพืชอาศัยทั้งที่เป็นใบเลี้ยงคู่ และใบเลี้ยงเดี่ยว ตลอดจนพืชชั้นตํ่าบางชนิดทั่วไป โดยสามารถออกดอก และมีเมล็ดเช่นเดียวกับพืชอาศัย บางชนิดมีดอกขนาดใหญ่ เช่น Rafflesia arnoldi ปรสิตที่รากของ Vitis ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกถึง 0.9 เมตร นับว่าใหญ่ที่สุดในโลก และ Apodanthes caseariae ซึ่งพบเป็นปรสิตบนพืชเกือบทั่วต้น มีดอกและต้นเล็กมาก สูงไม่เกิน 0.6 ซม. เท่านั้น บางชนิดมีพืชอาศัยน้อยมาก แต่บางชนิดก็เป็นปรสิตบนพืชได้กว้างขวางหลายชนิด เช่น genera Cuscuta และ Orabanche ซึ่ง Cuscuta บางชนิดยัง พบว่าเป็นปรสิตบนลำต้นของตนเอง (self-parasitism) และ C. americana ก็เป็นพืชอาศัยของปรสิตชนิดอื่นๆ ใน genus เดียวกันนี้อีกด้วย
ลักษณะของพืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต (Characteristics of parasitic higher plants)
1. เป็นพืชที่มีคลอโรฟิล ราก สามารถปรุงอาหารได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจากอากาศ แต่ใช้แร่ธาตุและสารอินทรีย์บางชนิดจากพืชอาศัย เป็นแบบ hemi-or semi parasite เช่น กล้วยไม้ต่างๆ
2. เป็นพืชที่มีคลอโรฟิล แต่ไม่มีราก สามารถปรุงอาหารได้ คาร์โบไฮเดรทด้วยตนเองที่ใบและลำต้น แต่ต้องใช้นํ้าและแร่ธาตุอื่นๆ ทั้งหมดจากพืชอาศัย ได้แก่กาฝากต่างๆ (mistletoes) นับว่าเป็นปรสิตแบบเดียวกับแบบแรก
3. เป็นพืชที่ไม่มีคลอโรฟิล ไม่มีราก ได้รับอาหารสำเร็จจากพืชอาศัยทั้งหมด หากเป็นปรสิตสมบูรณ์ พืชนี้จะไม่มีสีเขียว ไม่มีใบ หากมีใบก็จะมีขนาดเล็กมาก ส่วนที่ติดกับพืชอาศัยจะเจริญออกมาจากเนื้อเยื่อภายในพืชอาศัยทั้งหมด ได้แก่ฝอยทอง (dodders) นับว่าเป็นปรสิตถาวร
ความสัมพันธ์ของปรสิตกับพืชอาศัย
1. ปรสิตจะเกิดที่รากในดิน โดยมี haustoria แบบจานยึดติดกับเนื้อเยื่อท่อน้ำท่ออาหารพืชอาศัย แล้วปรสิตนั้นจะแตกชูหน่อเหนือผิวดิน และออกดอกต่อไป เช่นหญ้าจิ๋ว (witchweeds)
2. ปรสิตเป็นลำต้นใต้ดินมีอายุนานข้ามปี ติดอยู่กับรากของพืชอาศัย โดยจะแตกชูหน่อเหนือผิวดิน และออกดอกต่อไปทุกปี เช่น toothwort (Lathraea squamosa) ซึ่งใบไม่มีคลอโรฟิล
3. เนื้อเยื่อของปรสิตจะอยู่รวมกับของรากพืชอาศัย ทำให้บวมโป่ง แล้วเกิดหน่อที่มีดอกขึ้นเหนือผิวดิน เช่น broorn-rapes
4. ปรสิตที่กิ่งก้านของพืชอาศัย เจริญเป็นพุ่ม อายุข้ามปี มีใบสีเขียว เช่นกาฝาก
5. ปรสิตที่มีเมล็ดงอกในดิน เป็นหน่อ เจริญเป็นเส้นจนมีพืชอาศัยที่เหมาะสมก็จะวนเกาะรอบลำต้นโดยได้รับแร่ธาตุอาหารจากพืชอาศัยทาง haustoria เช่นฝอยทอง ซึ่งไม่มีคลอโรฟิล ไม่มีใบ หากมีใบ ก็จะมีขนาดเล็กมาก
พืชชั้นสูงที่เป็นปรสิต และมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแก่พืชทางการเกษตรและป่าไม้อยู่ใน families และ genera ต่างๆ ดังนี้
1.Family Convolvulaceae
Genus Cuscuta (ฝอยทอง)
2. Family Loranthaceae (กาฝาก)
Genus Arceuthobium
Phoradendron
3. Family Orobanchaceae
Genus Orobanche (broom-rapes)
4. Family Scrophulariaceae
Genus Striga (หญ้าจิ๋ว)
การเข้าทำลายและการแพร่กระจาย
ส่วนของพืชที่จะเข้าเป็นปรสิตพืชอาศัยจะสร้างโครงสร้างที่คล้าย appressorium (appressoriumlike bodies) ทำหน้าที่เป็นรากเจริญออกจากลำต้น แทงผ่านเข้าสู่พืชอาศัยด้วยความดันกล ที่เกิดจากการเจริญของปรสิตเอง แต่ในบางกรณีพบว่าบริเวณผิวที่ปรสิตแทงผ่านนั้นอ่อนตัว เข้าใจว่าอาจมีเอนไซม์ ที่เกิดจากปรสิตเข้าเกี่ยวข้องร่วมด้วย แล้วก็จะเกิด haustoria เจริญเข้าในเนื้อเยื่อไปสัมผัสกับท่อน้ำท่ออาหารของพืชอาศัย โดยอาจมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อย pectin และ cellulose ร่วมอยู่ เพราะได้สังเกตพบเนื้อเยื่อบริเวณดังกล่าวอ่อนตัว สำหรับหญ้าจิ๋วนั้นสามารถสร้างสารพิษปล่อยลงพืชอาศัยที่ปรสิตขึ้นอยู่ นอกจากพืชที่เป็นปรสิตบางชนิดสามารถสร้างเอนไซม์และสารพิษดังกล่าวได้แล้ว ยังเข้าใจว่า haustorium ของพืชที่เป็นปรสิต มีความดันออสโมซีส (osmotic pressure) สูงกว่าเนื้อเยื่อของพืชอาศัย ช่วยให้ปรสิตดูดซึมแร่ธาตุอาหารต่างๆ จากพืชอาศัยง่ายขึ้น และยังพบว่าพืชที่เป็นปรสิตที่ลำต้น เช่น Viscum มีผลที่สดเป็นเมือก ประกอบด้วยสาร viscin เมื่อนกกินผลของพืชปรสิตนี้ไป เมล็ดอาจตกหล่นติดอยู่ตามลำต้น หรือกิ่งก้านพืชอาศัยแล้วเมล็ดก็จะงอกทำลายพืชต่อไป เมล็ดดังกล่าวนี้อาจแพร่กระจายติดไปกับเท้าและปากของนก
เมล็ดของกาฝากบางชนิด มีแรงดีดในการแตกออกจากฝัก ไปได้ไกลถึง 9.9 เมตร เช่น Arceuthobium และบางชนิดเมล็ดมีขนาดเล็กมากคล้ายฝุ่น ปลิวตามลมได้ง่าย
เมล็ดอาจติดไปกับคน และปนไปกับเมล็ดพืชอื่นๆ ที่ปลูกอยู่ เช่นเมล็ดของฝอยทองปนไปกับเมล็ดถั่วที่เก็บเกี่ยวแล้ว
เมล็ดของพืชปรสิตบางชนิด มีขนาดเล็กมาก พักตัวอยู่ในดินได้เป็นปี จนกว่าจะมีสารจากรากพืชอาศัยออกสู่ดินบริเวณราก แล้วเมล็ดนั้นจึงจะงอก โดยการงอกของเมล็ดจะเกิดขึ้นได้เฉพาะ เมื่อได้รับการ กระตุ้นด้วยสารจากรากพืชนั้นเท่านั้น คล้ายกับกิจกรรมที่เกิดกับการฟักออกเป็นตัวอ่อนของไส้เดือนฝอย
เมล็ดอาจติดไปกับการให้น้ำแบบร่องตามผิวดิน ติดไปกับดิน เครื่องมือเครื่องใช้การเกษตรต่างๆ
เมล็ดติดไปกับพืชที่ใช้ทำปุ๋ยพืชสด
ฝอยทอง
ฝอยทองเป็นปรสิตที่ทำความเสียหายแก่พืชอาศัยในประเทศต่างๆ โดยทำให้ผลผลิตและการเจริญเติบโตของพืชลดลง และฝอยทองยังเป็นพาหะถ่ายทอดวิสาจากต้นที่เป็นโรคมายังต้นปกติหากพืชทั้งสอง นั้นเป็นพืชอาศัยร่วมกัน
อาการโรค
ฝอยทองเจริญเป็นเถาว์ มีสีส้ม หรือสีเหลือง พันรอบลำต้น และส่วนอื่นๆ ของพืชที่อยู่เหนือดิน โดยยื่นปลายไปยังพืชอาศัยที่อยู่ข้างเคียง พันโดยรอบขึ้นไปอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางที่เกิดจากฝอยทองเข้าทำลายหนึ่งต้นถึง 10 ฟุต จะขยายวงกว้างออกไประหว่างการเจริญเติบโต เมื่อพ้นฤดูฝนก็จะออกดอกสีขาว หรือชมพู หรือเหลือง แล้วให้เมล็ดต่อไป พืชอาศัยจะโทรม ให้ผลผลิตตํ่า ฝอยทองบางต้นอาจลงไป เป็นปรสิตที่ราก หากระบาดเป็นบริเวณกว้าง จะเห็นเถาเป็นสีเหลืองคลุมเต็มไปหมด
สาเหตุโรค
ฝอยทอง (Cuscuta sp.) ที่สำคัญมีอยู่ 3 species คือ C. indicora (เมล็ดใหญ่), C. planiflora (เมล็ดเล็ก) และ C. campestris (ฝอยทองในไข่)
ฝอยทองอยู่ข้ามฤดูในรูปของเมล็ดที่ตกค้างในไร่ หรือปะปนในเมล็ดพืช และอาจพบลำต้นซึ่งเหนียว ไม่มีใบนี้ตกค้างบนเศษทรากพืช เมื่อถึงฤดูเพาะปลูกก็จะงอก แต่ไม่มีรากขึ้นพันพืชอาศัย หากไม่มีพืชอาศัยจะอยู่ได้เพียง 2-3 สัปดาห์ แล้วตายในที่สุด
การควบคุมโรค
1. ใช้เมล็ดพืชที่ปราศจากเมล็ดของฝอยทองปะปนปลูกเท่านั้น
2. เครื่องมือที่ใช้ในการเกษตรต้องสะอาด ไม่มีเมล็ดติดมาด้วย และไม่ต้อนสัตว์ผ่านไร่ที่มีฝอยทองระบาดอยู่ไปยังแปลงปลูกใหม่
3. หากในไร่นั้นมีฝอยทองอยู่แล้ว ก่อนปลูกควรทำลายให้หมดก่อน โดยทำลายทั้งพืชอาศัยและฝอยทอง เช่น โดยการเผา หรือตัด หรือฉีดด้วยยากำจัดวัชพืช เช่น DNBP, PCP และ 2, 4-D เป็นต้น


ภาพวงจรของฝอยทอง (Cuscuta sp.) ที่ทำให้เกิดโรค (ที่มา : Agrios, 1978)
4. หากมีฝอยทองระบาดในไร่ ให้เก็บไปเผา และใช้ยาปราบวัชพืชฉีดพ่นที่ดินทำลายขณะงอกจากเมล็ด ก่อนไปสัมผัสพืช โดยใช้ CIPC หรือ Choler IPC; DCPA หรือ Dacthal, dichlobenil หรือ
Casoron เป็นต้น
หญ้าจิ๋ว
หญ้าจิ๋ว เป็นปรสิตของพืชที่ทราบกันดีในทวีปอเมริกา เอเชียและออสเตรเลีย พบเป็นปรสิตของอ้อย ข้าวโพด ยาสูบ ข้าวและธัญญพืชบางชนิด พืชที่เป็นโรครุนแรงอาจถึงตายได้
อาการโรค
พืชที่เป็นโรค จะแคระแกรน เหี่ยว แล้วเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและตายได้ หญ้าจิ๋วนี้จะเจริญข้างต้นที่เป็นโรค โดยส่ง haustoria ยึดติดรากของพืชอาศัย เพื่อดูดอาหาร
สาเหตุโรค
หญ้าจิ๋ว (Striga asiatica) มีลำต้นและใบเป็นเส้น สีสดใส สูง 15-30 ซม. แตกกิ่งมากมาย โดยมีใบยาวและแคบ ดอกเล็ก สีแดงอิฐ บางชนิดอาจสีเหลือง หรือส้ม หรือเกือบขาว แต่ปกติมักมีสีเหลืองตรงกลาง ดอกมีตลอดฤดู โดยเกาะกับลำต้นเหนือใบ มีฝักให้เมล็ดสีนํ้าตาลเล็กๆ ภายในประมาณ 50,000- 800 เมล็ดต่อต้น


ภาพวงจรของหญ้าจิ๋ว (Striga asiatica) ปรสิตข้าวโพด (ที่มา : Agrios, 1978)
เมล็ดงอก เจริญจนให้เมล็ดใหม่ได้อีก ใช้เวลาประมาณ 90-120 วัน รากมีสีขาว ไม่มีรากขนอ่อน ลักษณะกลม ได้อาหารจากพืชอาศัยทาง haustoria มีใบสีเขียว สังเคราะห์อาหารเองได้ แต่ไม่เพียงพอ อยู่ข้ามฤดูในรูปของเมล็ด Haustorium พองแบบ bulb-shaped เกาะยึดพืชอาศัยโดยย่อยเซล แล้วแทงผ่านผิวรากสู่ภายในถึงท่ออาหาร Nucleus ของ haustorium อยู่ชิดกับ phloem ของพืชอาศัย แต่ phloem ของ haustorium ยังไม่เจริญ พบเฉพาะ xylem
โรคแพร่กระจายเป็นวงโดยรอบ เมล็ดแพร่ได้โดยทางลม น้ำ ดิน และเครื่องใช้ในการเกษตร
การควบคุมโรค
1. ทำลายเมล็ดหญ้าจิ๋วในดินนอกฤดูปลูกด้วยวิธีทางเคมี หรือฟิสิกส์
2. ใช้ต้นกล้าจากแหล่งที่ปราศจากโรคปลูก ตลอดจนเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
3. ใช้ catch crops โดยปลูกพืชอาศัย เพื่อบังคับให้เมล็ดงอก แล้วทำลายโดยการไถกลบ หรือใช้ยาฆ่าวัชพืชฉีดพ่น เช่น 2, 4-D
4. ใชืพืชตระกูลถั่วที่ไม่ใช่พืชอาศัยปลูกเป็นเหยื่อกระตุ้นให้เมล็ดงอก โดยหญ้าจิ๋วนี้เข้าทำลายพืชไม่ได้ จะขาดอาหารตายในที่สุด
การใช้วิธีการต่างๆ ดังกล่าวร่วมกัน ช่วยให้การป้องกันโรคได้พอ เนื่องจากหญ้าจิ๋วไม่สามารถขยายพันธุ์ออกดอกให้เมล็ดได้
Broomrapes
Broomrapes เป็นปรสิตที่ทำลายพืชได้หลายร้อยชนิด เช่น ยาสูบ มันฝรั่ง มะเขือเทศ หญ้าต่างๆ พบทั่วไปในยุโรป อเมริกา เอเซีย และอาฟริกา ทำความเสียหายให้แก่พืชประมาณ 10-70%
อาการโรค
พืชที่เป็นโรคจะแคระแกรนในระดับต่างๆ กัน ขึ้นอยู่กับระยะการเจริญเติบโตของพืชที่เริ่มถูกทำลาย ตลอดจนจำนวนของปรสิต
สาเหตุโรค
Broomrape (Orobanche sp.) เป็นพืชอายุสั้นปีเดียว มีสีขาวหรือเหลือง สูงประมาณ 15-50 ซม. ลำต้นอ่อนคล้ายใบ สีสรรสวยงาม อาจเป็นสีขาว เหลืองอ่อน หรือม่วงอ่อน ดอกออกเดี่ยวๆ ตามลำต้น มีฝักรูปไข่ ขนาดยาวประมาณ 5 มม. ให้เมล็ดเล็กๆ ภายในมากมาย
เมล็ดสามารถอยู่ในดินได้นานไม่น้อยกว่า 10 ปี เมล็ดจะงอกเฉพาะเมื่อยู่ใกล้รากของพืชอาศัยเท่านั้น แม้ว่ามีเฉพาะพืชอื่นอยู่เท่านั้นก็ตาม
เมล็ดงอกเป็น radicle ไปที่รากของพืชอาศัย เมื่อสัมผัสราก เกิด apprssorium รูปร่าง shallowdisc หรือรูปร่างคล้ายถ้วย แผ่รอบราก แทงผ่าน ดูดอาหารและน้ำจากราก แล้วปรสิตเริ่มเจริญเป็นลำต้น โผล่พ้นผิวดินคล้ายหน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งในระยะนี้รากของปรสิตเดิมจะแตกราก แขนง เจริญออกไปหารากอื่นๆ ของพืช ทำให้เป็นหน่อโผล่จากดินเป็นกลุ่ม แล้วเจริญให้ดอกและเมล็ดต่อไป
การควบคุมโรค
1. อย่าให้เมล็ดของ broomrapes แพร่กระจายเข้าพื้นที่เพาะปลูก
2. ปลูกพืชที่ไม่เป็นโรคง่ายในไร่ที่เคยมีโรคนี้ระบาดอยู่เท่านั้น
3. ถอน กำจัดก่อนที่ broomrapes จะออกดอกให้เมล็ด
4. อบดินเมื่อจำเป็นด้วย methyl bromide
กาฝาก
กาฝาก เป็นปรสิตที่พบทำความเสียหายแก่พืชในท้องถิ่นต่างๆ ทั่วไป ทำให้พืชแคระแกรน เปลี่ยนรูป กิ่งตาย การเจริญเติบโตอาจลดลง 50-80% และตายในที่สุดได้ กาฝากแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือกาฝากใบเล็ก (dwarfmistletoes) และกาฝากใบใหญ่ (true or leafy mistletoes)
อาการโรค
กาฝากใบเล็ก มีต้นเป็นหน่อเดี่ยวหรือแตกกิ่ง เจริญเป็นกลุ่ม หรือกระจายตามกิ่งก้านพืช บริเวณเปลือกของพืชอาศัยที่กาฝากเจริญอยู่จะพองหรือเป็นสะเก็ด หากดึงหน่อออกจะเป็นหลุมคล้ายถ้วย หากผ่าดูภายในจะพบ haustorium ของปรสิตเจริญเข้าไปในเปลือก cambium และ xylem ของพืช เป็นคล้ายลิ่ม (wedge-shaped) กิ่งพืชที่เป็นโรคอาจแตกพุ่ม ต้นแคระแกรน เปลือกอาจแตก และตาย


ภาพวงจรของกาฝากใบเล็ก (Arceuthobium sp.) ปรสิตพืช (ที่มา: Agrios, 1978)
กาฝากใบใหญ่ ทำให้พืชมีอาการคล้ายกับชนิดใบเล็ก อาจพบกิ่งของกาฝากนี้ เจริญเกือบครึ่งของพืชอาศัย ใบสีเขียว ใบอาจร่วงหรือเปลี่ยนสีตามใบของพืชอาศัย เมื่อเข้าฤดูร้อนหรือฤดูหนาว แล้วจะแตก ออกใหม่เมื่อพ้นฤดูแล้วเหมือนพืชอาศัย พืชอาศัยจะโทรม เปลี่ยนรูปไป
สาเหตุโรค
กาฝากใบเล็ก อยู่ใน genus Arceuthobium บาง species มีหน่อสูงถึง 10 ซม. ซึ่งปกติไม่เกิน 1.5 ซม. ลำต้นมีสีเหลืองถึงเขียวเข้ม ต้นกาฝากนี้มีเพศผู้ และเพศเมียแยกกันออกดอกเมื่ออายุ 4-6 ปี เพศผู้
หลังออกดอกแล้วจะตาย ส่วนเพศเมียตายหลังจากให้เมล็ดแล้ว ฝักแก่ภายหลังผสมเกสร 5-16 เดือน ฝักแตกปล่อยเมล็ดไกลได้ถึง 15 ม. เมล็ดมีสารเหนียวๆ หุ้มให้ยึดจับติดง่าย
กาฝากใบใหญ่ ในอเมริกาเหนือเป็น Phoradendron flavescens ส่วนในทวีปยุโรปและแหล่งอื่นๆ เป็น Viscum album กาฝากประเภทนี้ มีใบเจริญเติบโตได้ดี ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 1-2 ซม.
แต่บางชนิดอาจมีขนาดถึง 30 ซม. มีใบเขียว ปรุงอาหารได้ ปกติมีสองเพศในดอกเดียว แต่ขนาดเล็ก เมื่อให้ผลแล้วมีเมล็ดเดียว มี haustorial sinkers เจริญบนกิ่งพืชอาศัย คล้ายราก เพื่อดูดอาหารและน้ำจากพืชนั้น
การควบคุมโรค
1. ตัดกิ่งพืชอาศัยที่มีกาฝากออก แล้วทำลายเสีย
2. ตรวจพืชเป็นประจำ ให้กิ่งที่ปกติได้เจริญปราศจากกาฝากปะปนได้
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช