Category: การทำประมง

เรียนรู้วิธีการทำประมง เลี้ยงสัตว์น้ำ กุ้ง หอย ปู ปลา

ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดหาพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ

คำแนะนำเกี่ยวกับการจัดหาพ่อ-แม่พันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อทำการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ จาก Dr. Roger W. doyle ผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาของโครงการพัฒนาประมงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งคำแนะนำดังกล่าวมีเนื้อหาที่เป็นประโยชน์และน่าสนใจ เพื่อเป็นข้อคิดพิจารณาถือเป็นหลักการเกี่ยวกับการจัดหาพ่อ-แม่พันธุ์ทำการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนอกเหนือจากในหัวข้อแนวทางคัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงข้างต้น หลักการต่างๆ ที่ Dr. Roger W. Doyle ให้ไว้มีดังนี้

1. เลือกสัตว์น้ำที่มีคุณสมบัติดี

มีปัญหาอยู่ว่าการที่จะหาพันธุ์สัตว์น้ำที่ดีเลิศมาใช้ในการผสมพันธุ์นั้นทำอย่างไร เท่าที่ได้ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน เมื่อจะทำการเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ ผู้เพาะพันธุ์ปลาก็จะหาพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีลักษณะดีที่สุด ใหญ่ที่สุด เท่าที่จะหาได้มาทำการเพาะพันธุ์ แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ทำการเพาะพันธุ์นั้น จะได้พันธุ์สัตว์น้ำที่เจริญเติบโตเร็วอย่างที่ต้องการ เพราะว่าก่อนที่พวกเขาจะได้เก็บเอาสัตว์น้ำที่จะมาทำพันธุ์นั้น พวกเขาได้จับเอาสัตว์น้ำที่เลี้ยงไปขายหลายครั้งหลายหนแล้ว ดังนั้น แม่กุ้งที่จับเอามาทำพันธุ์นั้นแม้ว่าจะเป็นแม่กุ้งขนาดโตขณะนั้น แต่กุ้งที่มีขนาดโตเร็วกว่านั้นได้ถูกจับออกไปขายก่อนแล้ว ตามความเป็นจริงจึงไม่ได้พันธุ์กุ้งที่โตเร็วอย่างที่ต้องการ จึงเป็นที่กล่าวขานกันทั่วๆ ไปว่าพันธุ์กุ้งเล็กลง และโตช้าลงกว่าที่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งพฤติการณ์แบบนี้เป็นการคัดเลือกพันธุ์ที่เจริญเติบโตช้าโดยไม่ได้ตั้งใจ และก็เช่นเดียวกับการคัดเลือกพันธุ์ปลานิลและตะเพียนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

ข้อเสนอแนะข้อแรก … Read More

การคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์สัตว์น้ำ

แนวทางคัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุกรรมสัตว์น้ำที่ใช้ในการเพาะเลี้ยง

แนวทางพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์นํ้าในอนาคตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้นเห็นว่ายังมีทางที่จะพัฒนาได้หลายประการ เช่น

(1) การคัดเลือกพันธุ์และความจำเป็น

ในการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้สัตว์นํ้าที่มีคุณสมบัติดี เช่น มีความต้านทานโรคดี โตเร็ว ลักษณะดี เป็นที่ต้องการของตลาดนั้น จะต้องรู้ถึงพื้นฐานสำคัญในการคัดเลือกพันธุ์เสียก่อน เช่น

ก. การคัดเลือกพันธุ์ทั่วๆ ไปในปัจจุบันก็ยังคงปฎิบัติกันอยู่ โดยมีอยู่ 2 แบบคือ

แบบแรกเริ่มจากคัดลูกที่โตเร็ว ลักษณะดี มาทำการเลี้ยงเพื่อทำเป็นพ่อแม่พันธุ์ เมื่อทำการเลี้ยงลูกสัตว์น้ำจนได้ขนาดพ่อแม่พันธุ์แล้ว ก็จะคัดเอาพ่อแม่ที่มีลักษณะดีตามต้องการ ทำการเพาะพันธุ์หรือเก็บไว้ทำพันธุ์อีกทีหนึ่ง และก็จะสะสมพ่อแม่พันธุ์ที่ได้นี้เรื่อยไป การคัดแบบนี้ทำให้มีการสะสมพ่อแม่พันธุ์ที่มีอายุและขนาดต่างๆ กันไว้ในบ่อเดียวกัน

แบบที่สอง เริ่มจากผู้เลี้ยงมักจะคัดเอาปลาขนาดใหญ่รุ่นแรกขายสู่ตลาดและเลี้ยงปลาที่เหลือต่อไป เมื่อจับปลาครั้งหลังก็จะเก็บปลาส่วนหนึ่งไว้ทำพ่อแม่พันธุ์

ข้อเสียจากการคัดเลือกพันธุ์ทั้ง 2 แบบ ได้แก่

-การคัดเอาปลาขนาดใหญ่ไปทำพันธุ์นั้น มีผลให้มีการคัดเอาปลาที่มีขนาดแก่กว่ามาเป็นพ่อแม่พันธุ์ โดยปลาเหล่านี้จะมีการเจริญเติบโตที่มีแนวโน้มทางช้าลง

-การคัดเอาปลาที่เหลือจากการขายมาทำพันธุ์นั้น ทำให้ยีน … Read More

สาหร่ายเกลียวทอง

กรมประมง ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเสาะแสวงหาแหล่งอาหารโปรตีนใหม่ๆ ที่เหมาะสม เพื่อจะผลิตขึ้นโดยใช้พื้นที่ดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งมีอยู่นับสิบล้านไร่ ซึ่งใช้ในการเพาะปลูกพืชไม่ได้ผลดี ทั้งนี้เพื่อเพิ่มพูนอาหารโปรตีนแก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคนี้เพื่อความอยู่ดีกินดี หรือปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น และได้พิจารณาเห็นว่าจะสามารถผลิตอาหารโปรตีนขึ้นได้ด้วยราคาถูก จากสาหร่ายสไปรูลิน่า ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินชนิดหนึ่ง มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเพาะเลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มดังกล่าว เพราะทนต่อน้ำที่มีความเค็มและความเป็นด่างได้สูง นอกจากนี้สาหร่ายชนิดนี้มีส่วนประกอบของโปรตีนสูง ย่อยง่ายได้ดีกว่าสาหร่ายชนิดอื่นๆ เช่น ครอเรลลา ที่ใช้เป็นอาหาร หลักของการเลี้ยงลูกกุ้งทะเลในปัจจุบัน และสาหร่ายชนิดนี้เมื่อแปรรูปทำให้มีความบริสุทธิ์ก็สามารถจะใช้เป็นอาหารของคนได้เป็นอย่างดี และในต่างประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประชาชนก็นิยมบริโภคสาหร่ายดังกล่าวที่ผ่านกรรมวิธีให้บริสุทธิ์และแห้งในรูปของเม็ดยา ในปัจจุบันมีหน่วยงานนิเวศน์วิทยาของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติก็กำลังศึกษาค้นคว้าอยู่อย่างขะมักเขม้น และพร้อมที่จะให้คำแนะนำและให้ความร่วมมือแก่ผู้สนใจนำไปเพาะเลี้ยงต่อไป

อนึ่ง สาหร่ายชนิดนี้มีโปรตีนสูง จึงน่าจะพิจารณาใช้เป็นอาหารสัตว์น้ำ โดยผสมกับแป้งมันสำปะหลัง ซึ่งมีอยู่ปริมาณมากในภูมิภาคนี้

Read More

อาร์ทีเมีย

วงจรชีวิตของอาร์ทีเมีย, ไรน้ำเค็ม, ไรสีน้าตาล (Brine Shrimp) Anemia spp.

อาร์ทีเมีย (Brine Shrimp) นี้ ได้ถูกนำมาใช้เป็นอาหารที่ดีสำหรับอนุบาลพวก Crustacean และปลาวัยอ่อน เช่น กุ้งก้ามกราม (Macrobrachium sp.) กุ้งทะเล (Penaeus sp.) กุ้งมังกร (Homarus sp.) ปูและปลาชนิดต่างๆ ได้มีการทดสอบโดยการใช้อาร์ทีเมียกับตัวอ่อนของกุ้งกุลาดำ (P.monodon) และปลานวลจันทร์ทะเล (Chanos chanos) ว่าให้อัตราการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายสูงกว่าอาหารสูตรต่างๆ หรืออาหารที่มีชีวิต ได้แก่ Copepod และ Rotifer ยังไม่มีอาหารสูตรชนิดไหนที่ให้คุณค่าเท่า กับหรือดีกว่าอาร์ทีเมีย

เมอเร็วๆ … Read More

กุ้งกุลาดำ

ลักษณะทั่วไปของกุ้งกุลาดำคือ มีหนวดลายจางมากไม่เด่นชัด แก้มอยู่ในแนวระนาบ และสันที่อยู่สองข้างโคนกรียาวเกือบถึงฟันกรีอันหลังสุด ซึ่งมีสันแนวข้างเฉียงชี้ไปทางนัยตา นอกจากนี้มีลักษณะ อื่นๆ ที่เด่นชัดคือ ลำตัวสีแดงอมน้ำตาลถึงน้ำตาลเข้ม มีลายพาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย และสีออกน้ำตาลเข้มข้างแถบสีขาว ด้านบนของกรีมีฟัน 6-8 ซี่ ด้านล่างมี 2-4 ซี่ ขอบปลายหางและขาว่ายน้ำมีขนสีแดง ถิ่นอาศัย มีอยู่ทั่วไปในทวีปเอเชีย ในประเทศไทยพบแพร่กระจายทั่วไปในอ่าวไทย แต่จะพบมากบริเวณเกาะช้าง บริเวณนอกฝั่งจังหวัดชุมพรถึงนครศรีธรรมราช และทางฝั่งมหาสมุทรอินเดีย (ทะเลอันดามัน) บริเวณนอกฝั่งของจังหวัดภูเก็ตและระนอง ชอบอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีพื้นดินเป็นทรายปนโคลน หรือทรายปนเปลือกหอยและหอยปะการัง กุ้งชนิดนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี สามารถปรับตัวอยู่อาศัยในแหล่งน้ำกร่อยได้ อาหาร ชอบกินแพลงก์ตอน หนอน และแมลงน้ำ ขนาด ความยาวประมาณ 18-25 ซม. … Read More

ปลากระบอก

ปลากระบอก เป็นปลาทะเลเศรษฐกิจกลุ่มหนึ่งที่คนไทยรู้จักกันดี มีรสชาติดีเป็นที่นิยมบริโภค และสามารถเลี้ยงได้ทั้งนํ้ากร่อยและน้ำจืด ปัจจุบันมีผู้เลี้ยงปลาในกลุ่มดังกล่าวนี้ในบ่อน้ำกร่อยได้ผลผลิตประมาณ 370-900 ตัน/ปี (ชวสิต วิทยานนท์ และทศพร วงศ์รัตน์ 2531) ปลากระบอกที่นิยมเลี้ยงมี 2 ชนิด คือ ปลากระบอกท่อนใต้ (Mugil cephalus) และปลากระบอกดำ (Liza parsia) ซึ่งเดิมใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า (Mugil dussumieri C&V ปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้สามารถเพาะขึ้นได้ด้วยวิธีฉีดฮอร์โมนให้วางไข่แล้วทำการผสมเทียม สำหรับประเทศไทยสามารถเพาะปลากระบอกดำได้ที่สถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง จังหวัดสงขลา ส่วนปลากระบอกท่อนใต้กำลังศึกษาค้นคว้าการเพาะปลาชนิดนี้อยู่ที่สถานประมงน้ำกร่อย คลองวาฬ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

การเลี้ยง

ประเทศอิสราเอลนิยมเลี้ยงปลากระบอกท่อนใต้ร่วมกับการเลี้ยงปลานิล ส่วนประเทศอื่นๆ มักนิยมเลี้ยงในบ่อน้ำกร่อย มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะนำปลากระบอกทั้งสองชนิดนี้ไปเลี้ยงในพื้นที่ดินเค็มของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นหรือปล่อยในอ่างเก็บน้ำที่มีคุฌสมบัติของน้ำค่อนข้างกร่อย ปลากระบอกเป็นปลาที่กินขี้แดดหรือตะไคร่น้ำ บนพื้นดินเลนในบริเวณที่ตื้นๆ

Read More

ปลาบึก

ปลาบึก (Mekong Giant Catfish) Pangasianodon gigas Chevey

ปลาบึกเป็นปลาอยู่ในครอบครัวเดียวกันกับปลาสวาย เทโพ และเทพา ลักษณะลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ความยาวจากหัวถึงปลายหาง 3.3 เท่าของความกว้างลำตัว หัวมีขนาดใหญ่ จะงอยปากป้านใหญ่ ตามีขนาดเล็ก และอยู่ในระดับต่ำกว่ามุมปากเล็กน้อย ลูกปลาบึกที่มีอายุน้อยจะมีฟันขากรรไกรและเพดานปาก แต่ฟันจะเสื่อมหายไปเมื่อปลาเจริญเต็มวัย ปลาบึกมีหนวด 2 คู่ เมื่ออายุน้อยความยาวของหนวดยาวประมาณเส้นผ่าศูนย์กลางของตา แต่ในปลาเจริญเต็มวัยพบว่าหนวดที่ขากรรไกรมีขนาดเล็กและสั้นมาก ยาวไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเส้นผ่าศูนย์กลางตา หนวดที่ขากรรไกรล่างมีสีขาวและขนาดสั้นกว่าหนวดที่ขากรรไกรบน หากไม่สังเกตให้ดีจะมองไม่เห็น สีลำตัวบริเวณด้านหลังสีเทาปนน้ำตาลแดง ด้านข้างสีเทาปนน้ำเงิน ส่วนบริเวณท้องมีสีขาว ครีบต่างๆ ของปลาบึกมีลักษณะคล้ายครีบปลาสวาย แต่ต่างกันที่ก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบอกของปลาบึกที่โตเต็มวัยไม่มีหนามแหลมหยักเป็นฟันเลื่อย แต่ในลูกปลาบึกปรากฎว่าก้านครีบแข็งของครีบหลังและครีบอกมีหนามแหลมเป็นซี่ฟันเลื่อยเช่นเดียวกับปลาสวาย

ปลาบึกเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ตัวโตเต็มที่มีความยาวถึง 3 เมตร … Read More

ปลาเทโพ

ลักษณะทั่วไปเป็นปลาไม่มีเกล็ดขนาดใหญ่ รูปร่างคล้ายกับปลาสวายเพราะเป็นปลาในสกุลเดียวกัน มีหัวโตหน้าสั้นทู่กว่าปลาสวาย ลำตัวยาวและด้านข้างแบน นัยตาค่อนข้างโตและอยู่เหนือมุมปาก ปากกว้าง มีฟันซี่เล็กแหลมคมอยู่บนขากรรไกรทั้งสองข้าง มีหนวดเล็กและสั้นอยู่ที่ริมฝีปากและมุมปาก แห่งละหนึ่งคู่ กระโดงหลังสูงและมีด้านเดี่ยวอันแรกเป็นหนามแข็ง ครีบหูมีเงี่ยงแหลมแข็งข้างละอัน มีครีบไขมันอยู่ใกล้กับโคนครีบหาง ครีบหางมีขนาดใหญ่ปลายแหลมเป็นแฉกลึก ลำตัวบริเวณหลังมีสีดำคล้ำหรือสีน้ำเงินปนเทา หัวสีเขียวอ่อน ท้องสีขาวเงิน มีจุดสีดำขนาดใหญ่เหนือครีบหู ถิ่นอาศัย แต่เดิมมีชุกชุมในลำน้ำเจ้าพระยา ในปัจจุบันมีจำนวนลดน้อยลง ในภาคอีสานพบในแม่น้ำโขง ชาวบ้านเรียก ปลาหูหมาด อาหารกินสัตว์น้ำที่ขนาดเล็กกว่าและซากของสัตว์ ขนาดความยาวประมาณ 80-120 ซม.

การเลี้ยง

ปลาเทโพเมื่อนำมาเลี้ยงในบ่อจะกินอาหารได้แทบทุกชนิด เช่นเดียวกับปลาสวาย แต่ปลาชนิดนี้จะเจริญเติบโตดีถ้าได้ให้ปริมาณอาหารที่มีส่วนผสมของโปรตีนสูงกว่าปลาสวาย ในระยะเวลา 1 ปี ปลาจะโตถึง 5 กก. ในบ่อที่เลี้ยงด้วยไข่ไก่ตายโคม แต่โดยปกติถ้าเลี้ยงด้วยอาหารผสมจะได้น้ำหนัก 1.5 … Read More

ปลาสลิด

ปลาสลิด เป็นปลาในครอบครัวเดียวกันกับปลากัด มีอวัยวะช่วยหายใจเช่นกัน แต่เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า และลักษณะลำตัวแตกต่างจากปลากัด ลำตัวแบนข้างมาก บริเวณลำตัวค่อนข้างกว้าง เรียวไปทางด้านหัวและหาง ลักษณะคล้ายใบไม้ ลำตัวจากหัวถึงโคนหางยาวประมาณ 2.3-3.0 เท่าของความลึกลำตัว ลำตัวมีสีน้ำตาลเขียวหรือเทาอมเขียว มีแถบส์น้ำตาลเข้มพาดเฉียงลำตัว ซึ่งแถบนี้มักจะเลือนหายไปเมื่อปลาโตเต็มที่ นอกจากนั้นยังมีแถบเล็กๆ พาดไปตามความยาวลำตัวจากหัวถึงโคนหางอีกข้างละ 1 แถบ ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 9-12 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-12 อัน ก้านครีบอ่อน 36-38 อัน ครีบอกยาวกว่าครีบหัว ครีบท้องจะมีก้านครีบอ่อนอันที่หนึ่งเป็นเส้นยาวเลยโคนหาง เกล็ดตามเส้นข้างลำตัวประมาณ 55-63 เกล็ด

ปลาสลิด เป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของปลาในสกุลนี้ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวถึง 25 … Read More

ปลาหมอตาล

ปลาหมอตาล (Kissing Gouramy) Helostoma temminki Cuv.8i Val.

ปลาหมอตาลเป็นปลาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับปลาแรด แต่ขนาดโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 300 กรัม เป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาแรด มีลำตัวแบนข้าง บริเวณด้านบนของลำตัวสีเทาอมเขียว มีแถบสีดำพาดขวางบริเวณหัว 1 แถบ และบริเวณโคนหางอีก 1 แถบ ปากขนาดเล็กยืดหดได้ ปลาหมอตาลเป็นปลาที่กินอาหารจำพวกสาหร่ายสีเขียว หรือสีน้ำเงินแกมเขียวชนิดเซลล์เดียว (Blue green algae) ตะไคร่น้ำ อาหารผสมจำพวกรำ ปลายข้าว และปลาป่น

การเลี้ยงปลาหมอตาล

เป็นปลาที่เหมาะสมที่จะเลี้ยงในนารวมกับปลานิล ปลาไน เพราะปลาชนิดนี้จะใช้ประโยชน์จากอาหารต่างชนิดกับปลาดังกล่าว นอกจากนี้ในบ่อที่เลี้ยงปลานิลที่อุดมไปด้วยสาหร่ายสีเขียวชนิดเซลส์เดียว (Phytoplankton) ซึ่งเป็นอาหารโดยตรงตามธรรมชาติของปลาหมอตาล ดังนั้น จึงใช้ปลาชนิดนี้แก้ปัญหาน้ำเสียอันเนื่องมาจากสาหร่ายดังกล่าวและยังเป็นการเพิ่มพูนผลผลิตปลาอีกด้วย

การเพาะปลาหมอตาลRead More