Category: การเพาะและขยายพันธุ์พืช

วิธีการ และความรู้ เรื่องการเพาะและขยายพันธุ์พืช ทั้งพืชไร่ พืชสวน พืชทุกชนิด

การทำสวนสมุนไพร

สมุนไพรที่ใช้เป็นยารักษาโรคในรูปแบบต่างๆ ทั้งยาต้ม ยาชง ยาลูกกลอน ซึ่งคนไทยมักจะรู้จักและคุ้นเคยกันมาตั้งแต่ในสมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่นิยมกันมากในปัจจุบันมักอยู่ในรูปของยารักษาโรค อาหารเสริม และใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางชนิดต่างๆ มากมาย

การปลูกพืชสมุนไพรไว้เป็นอาหาร และใช้รักษาโรคที่อาการไม่รุนแรงมากนัก จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในครอบครัวได้ แถมยังมีพืชสมุนไพรที่ปลอดจากสารเคมีไว้บริโภคในครัวเรือนด้วย

พืชที่จะนำมาปลูกในสวนสมุนไพรมักเน้นถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก เป็นพืชที่มักนำมาใช้กันอยู่บ่อยๆ ปัจจัยสำคัญที่จะใช้เลือกพืชสมุนไพรมาปลูกคือ ต้องดูว่าสถานที่ปลูก ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมที่จะใช้ปลูกพืชชนิดนั้นเหมาะสมกันหรือไม่ ซึ่งมีข้อพิจารณาต่างๆ ดังนี้

1. แสงแดด
ให้พิจารณาดูว่าปริมาณแสงแดดที่ส่องไปยังบริเวณที่จะปลูกในแต่ละวันเป็นอย่างไร เช่น ได้รับแสงแค่รำไร มีแสงส่องเฉพาะในช่วงเช้าหรือช่วงบ่าย หรือได้รับตลอดทั้งวัน

2. อุณหภูมิ
ให้พิจารณาถึงอุณหภูมิที่พืชจะได้รับซึ่งอาจเป็นผลมาจากฤดูกาล สถานที่ที่ใช้ในการปลูก และปริมาณแสงที่จะได้รับ เช่น หากพืชชนิดนั้นทนกับอากาศร้อนได้ดีก็ควรปลูกในบริเวณที่มีแดดจัดซึ่งมีอุณหภูมิสูง

3. น้ำ
ให้พิจารณาถึงแหล่งน้ำที่จะใช้สำหรับการปลูกพืชแต่ละชนิด ซึ่งควรมีการรดน้ำให้แก่พืชในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม ไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป… Read More

เห็ดเผาะหรือเห็ดถอบ

เห็ดเผาะ เป็นเห็ดราที่อยู่ในจำพวกเชื้อราเอ็คโตไมโคไรซา (ectomycorrhiza)
ชื่อภาษาอังกฤษ Astraeus
ชื่อสกุล Astraeus
ชื่อวงศ์ Lycoperdacea

เป็นเห็ดพื้นบ้านที่มักออกดอกในช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน มักขึ้นอยู่ตามพื้นที่ในป่าเต็งรัง ชอบขึ้นในดินที่มีลักษณะร่วนซุย และจะออกดอกเพียงปีละครั้งเท่านั้น แหล่งที่พบเห็ดชนิดนี้ได้มากคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ หรือภาคอื่นๆ แต่ไม่พบในภาคใต้ เห็ดชนิดนี้จะมีรสหวานเล็กน้อย เนื้อเห็ดมีความกรุบกรอบ เป็นเห็ดที่คนไทยทางภาคเหนือและภาคอีสานนิยมรับประทานกันมาก และเป็นเห็ดที่ไม่สามารถเพาะขึ้นมาเองได้

ลักษณะของเห็ดเผาะ
ลักษณะของเห็ดเผาะจะกลมค่อนข้างแบน ไม่มีก้านดอก เส้นผ่าศูนย์กลางของดอกมีประมาณ 1-3 เซนติเมตร ในระยะเริ่มแรกดอกเห็ดจะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาก็จะเริ่มกลายเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือดำเมื่อดอกเริ่มแก่ขึ้น ภายในผนังดอกทั้งชั้นนอกและชั้นในจะมีสปอร์อยู่เป็นจำนวนมากมาย ดอกเห็ดมักจะแตกเป็น 7-11 แฉกเมื่อแก่ โดยที่ผนังชั้นนอกของเห็ดเผาะจะแข็งและหนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร และมีเซลล์เส้นใยหลายชั้นเรียงตัวอัดกันแน่นอยู่ ส่วนผนังชั้นในเมื่อยังอ่อนจะมีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อบางๆ … Read More

แนวคิดในการกำจัดขยะก้นกรองบุหรี่โดยฝังเมล็ดพันธุ์พืช

แต่ละปีมีก้นกรองบุหรี่ถูกทิ้งประมาณ 5ล้านล้านชิ้น

เป็นปริมาณขยะหนักถึง 1,700,000,000 ปอนด์

ก้นกรองบุหรี่ 1 ชิ้น ใช้เวลาในการย่อยสลาย 10-15 ปี

green-butts เป็นองค์กรรณรงค์ลดขยะจากก้นกรองบุหรี่ที่โดนทิ้ง

โดยมีแนวคิดในการเปลี่ยนวัสดุที่ใช้ทำก้นกรอง เป็นวัสดุจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้รวดเร็ว
(ทำด้วย ปอ, ป่านและฝ้าย)

กำจัดก้นกรองบุหรี่

ภาพที่ทุกท่านเห็นด้านบน คือ ผลงานของ Ben Forman  นักออกแบบชาวอังกฤษ

นำเสนอแนวคิด ในการกำจัดปัญหามลพิษจากก้นกรองบุหรี่ที่โดนทิ้งเป็นขยะเกลื่อนกราด

เขาคิดว่าทำไมไม่เปลี่ยนขยะให้เป็นสิ่งสวยงาม

“Cigg Seeds” คือ บุหรี่ที่มีก้นกรองทำจากวัสดุย่อยสลายง่าย ซึ่งภายในบรรจุเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ป่า

เมื่อไรก็ตามที่ก้นกรองบุหรี่ถูกทิ้งบนพื้นดิน ดอกไม้ที่สวยงามจะขึ้นมาแทนที่

แม้ว่าวิธีนี้จะไม่ได้ผลนักในเขตเมืองที่มีสภาพพื้นเป็นคอนกรีตเสียส่วนใหญ่

แต่ก็เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับชายหาด สวนสาธารณะ และพื้นที่สีเขียวอื่น ๆ

*** … Read More

พัฒนาการของผลพืช


ดอกของพืชมีหน้าที่สำคัญในการแพร่กระจายพันธุ์ แต่อย่างไรก็ตามดอกจำเป็นต้องพัฒนาไปเป็นผลและเมล็ดเสียก่อน ความหมายที่แท้จริงของผลคือส่วนของรังไข่ที่พัฒนาขึ้นมาจากดอก เมล็ดคือส่วนที่พัฒนามาจากไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น ในปัจจุบันเราต้องการผลเพื่อใช้ ในการบริโภคมากกว่าการใช้เพื่อขยายพันธุ์ จึงได้มีการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีผลขนาดใหญ่ เนื้อมาก และเป้าหมายที่สำคัญคือต้องการผลที่ไม่มีเมล็ด หรือเมล็ดลีบ เมื่อวัตถุประสงค์ในการใช้ประโยชน์จากผลไม้เปลี่ยนไปเช่นนี้ เทคโนโลยีต่างๆ จึงเข้ามามีบทบาทมากขึ้นเพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ที่ต้องการ รวมทั้งการใช้ PGRC ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาของผล อย่างไรก็ตามความพยายามดังกล่าวยังไม่สัมฤทธิ์ผลอย่างแท้จริง และยังต้องอาศัยเวลาและความรู้อักมาก ซึ่งคาดว่าในอนาคตเราจะสามารถใช้ PGRC ในการบังคับการพัฒนาของผลได้อย่างถูกต้องและได้ผล

การติดผล (fruit setting)
การติดผลเป็นกระบวนการเริ่มแรกของการพัฒนาจากดอกไปเป็นผล เมื่อดอกบานเต็มที่และพร้อมที่จะรับการผสมเกสรจะสังเกตได้ว่าอับละอองเกสรตัวผู้จะแตกออก และปลดปล่อยละอองเกสรตัวผู้ซึ่งมีขนาดเล็กมากออกมา เมื่อละอองเกสรตัวผู้นั้นไปสัมผัสกับยอดเกสรตัวเมียไม่ ว่าด้วยวิธีใดก็ตามจะเกิดการพัฒนาต่อไปโดยละอองเกสรตัวผู้จะยืดตัวออกเป็นหลอดยาวงอกลงไปตามก้านเกสรตัวเมียเพื่อเข้าไปผสมกับไข่ซึ่งอยู่ภายในรังไข่นั้น และเกิดการปฏิสนธิขึ้น ซึ่งเป็นจุดเริ่มแรกของการติดผล ดังนั้นปัจจัยสำคัญในการติดผล จึงขึ้นอยู่กับความสามารถใน การงอกของละอองเกสรตัวผู้และความสามารถในการปฏิสนธิภายในรังไข่ ละอองเกสรตัรผู้มีจำนวนมาก แต่มีความสามารถในการงอกได้แตกต่างกันไป ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมหลายอย่างเช่น อุณหภูมิและความชื้นนอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่เกี่ยวข้องกับการติดผล ซึ่งแยกเป็นรายละเอียดได้ดังนี้… Read More

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกของพืช

การเกิดดอก
ดอกพืชเป็นส่วนสำคัญมากส่วนหนึ่งเนื่องจากเป็นจุดเริ่มแรกของการขยายพันธุ์ โดยการพัฒนาต่อไปเป็นผลและเมล็ด ไม้ดอกหลายชนิดถูกปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาใหม่มีดอกขนาดใหญ่ สีสวยและออกดอกสมํ่าเสมอ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกไม้ล้มลุก และขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดซึ่งผลิตขึ้นมาจากต้นพ่อและแม่ที่ได้รับการคัดเลือกมาแล้ว พืชเหล่านี้จงมักไม่มีปัญหาเรื่องการออกดอก ถ้ามีการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง ส่วนไม้ผลหลายชนิดมีปัญหาว่าบางครั้งไม่ออกดอกทั้งๆ ที่ถึงฤดูกาลที่เหมาะสมแล้วก็ตาม การแก้ปัญหาเรื่องการออกดอกของไม้ผลจึงเป็นเรื่องใหญ่มาก เนื่องจากผลผลิตของไม้ผลขึ้นอยู่กับการออกดอกเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตามปัจจุบันเรายังไม่สามารถแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ แต่ก็ยังอยู่ในความพยายามของนักวิทยาศาสตร์ทั้งทลาย ซึ่งยังต้องอาศัยเวลาอีกนาน

จากความพยามยามของนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวทำให้เราทราบถึงปัจจัยบางอย่างที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการออกดอกของพืชบางชนิด และหนึ่งในปัจจัยสำคัญนั้นคือฮอร์โมนพืช ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการออกดอกของพืช มีกี่ชนิด อะไรบ้าง สร้างขึ้นอย่างไร ยังเป็นปัญหาที่ไม่มีผู้ใดให้คำตอบได้ เคยมีผู้เสนอว่าการออกดอกของพืชถูกควบคุมโดยฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่พืชสร้างขึ้น ซึ่งเรียกว่าฟลอริเจน (florigen) แต่จนกระทั่งทุกวันนี้ยังไม่มีผู้ใดสกัดฟลอริเจน จากพืชได้เลย และไม่สามารถให้ความกระจ่างได้ว่า ฟลอริเจนมีจริงหรือไม่ เคยมีรายงานว่า จิบเบอเรลลิน น่าจะเป็นฟลอริเจนเนื่องจากเร่งการออกดอกของพืชได้ แต่ต่อมามีข้อโต้แย้งว่า จิบเบอเรลลินก็มีผลยับยั้งการออกดอกของพืชมากชนิดเช่นกัน จึงไม่อาจจัดว่าจิบเบอเรลลิน เป็นฟลอริเจนได้ ในระยะหลังพบว่าเอทิลีนกระตุ้นให้พืชหลายชนิดออกดอกได้แต่ก็ไม่ใช่ทุกชนิด และยังพบว่าพืชบางชนิดถ้าได้รับเอทิลีนมากเกินไปจะถูกยับยั้งออกดอกแต่ถ้าได้รับสารเพียงช่วงสั้นๆ กลับออกดอกได้ … Read More

การใช้สารเร่งรากของพืช

การเกิดราก
รากพืชทำหน้าที่สำคัญในการดูดนํ้าและธาตุอาหาร เพื่อเลี้ยงต้นพืชทั้งต้น การเจริญของรากตามปกติต้องอาศัยฮอร์โมนที่ส่งมาจากลำต้นหรือจากที่สร้างขึ้นเองที่ปลายรากเพื่อใช้ในการเติบโตยืดยาวออกไปเรื่อยๆ ฮอร์โมนที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตของรากคือ ออกซิน รากต้องการออกซินปริมาณตํ่ามาก เพื่อการเติบโต ในกรณีที่มีออกซินมากเกินไป จะทำให้รากหยุดชะงักการเติบโตได้ แต่ในการเกิดจุดกำเนิดรากนั้นพืชต้องการออกซินความเข้มสูงมากระตุ้น จากหลักการอันนี้ เราจึงได้นำออกซินมาใช้ประโยชน์ในการเร่งรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอน การเกิดรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอนของพืชโดยทั่วๆ ไปเกิดได้ 2 กรณีคือ เกิดมาจากจุดกำเนิดรากที่มีอยู่แล้วในกิ่ง และอีกกรณีหนึ่งเกิดจากเนื้อเยื่อเจริญซึ่งเกิดขึ้นเมื่อกิ่งพืชมีรอยแผล การใช้สารออกซินแก่กิ่งพืชในทั้ง 2 กรณีนี้จะช่วยให้เกิดรากได้เร็วขึ้นและมากขึ้น โดยที่ถ้าเป็นกรณีแรกออกซินจะกระตุ้นให้จุดกำเนิดรากนั้นพัฒนาออกมาเป็นราก และถ้าเป็นกรณีหลัง ออกซินจะกระตุ้นให้เนื้อเยื่อเจริญในบริเวณรอยแผลเกิดการแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว และถ้ามีสภาพแวดล้อมเหมาะสมคือ ความชื้นสูง ออกซิเจนเพียงพอและอุณหภูมิพอเหมาะ จะทำให้เนื้อเยื่อเจริญนั้นเปลี่ยนรูปไปเป็นจุดกำเนิดราก และพัฒนาออกมาเป็นรากได้ในภายหลัง ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้ต้องการออกซินเป็นตัวกระตุ้นเช่นกัน

ในการเกิดรากของกิ่งปักชำและกิ่งตอนนั้นมีปัจจัยต่างๆ นอกเหนือจากออกซิน เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยหลายประการ ได้แก่ ชนิดของกิ่ง ฤดูกาล อุณหภูมิ ความชื้น องค์ประกอบของวัสดุที่ใช้ปักชำหรือตอน … Read More

ต้นเหงือกปลาหมอ

(Sea Holly)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acanthus ilicifolius L.
ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
ชื่ออื่น แก้มหมอ แก้มหมอเล (กระบี่). นางเกร็ง จะเกร็ง อีเกร็ง (กลาง) เหงือกปลาหมอ เหงือกปลาหมอน้ำเงิน (ทั่วไป)
ลักษณะทั่วไป ไม้พุ่มลำต้นเลื้อย สูง 1-2 ม. ไม่มีเนื้อไม้ลำต้น เป็นโพรง ตั้งตรง แต่เมื่ออายุมากจะเอนนอน ลำต้นแก่จะแตกกิ่งออกไป มีรากค้ำจุน และมีรากอากาศ
ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก มักมีหนามที่โคนก้านใบ 1 คู่ใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 1-1.5 ซม. … Read More

หวายลิง


ชื่อวิทยาศาสตร์ Flagellaria indica L.
ชื่อวงศ์ FLAGELLARIACEAE
ชื่ออื่น หวายเย็บจาก หวายลี (ใต้)
ลักษณะ ทั่วไป ไม้เลื้อย ลำต้นแข็งคล้ายหวาย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.3-0.8 ซม. แตกกิ่งยาว 3-5 ม. หรือบางครั้งอาจยาวได้ถึง 10 ม. เปลือกต้นมีสีเขียว แต่เมื่อลำต้นแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีเทา


ใบ เรียวยาว รูปใบหอกถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 0.5-2 ซม. ยาว 7.5-20 ซม. ปลายใบม้วนงอ เรียวยาว และแข็ง ทำหน้าที่เกาะไม้อื่น เพื่อพยุงลำต้นให้เลื้อยทอดสูงขึ้น … Read More

หลุมพอทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPIMIOIDEAE
ชื่ออื่น ประดู่ทะเล (กลาง) งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 20-40 ม. ทรงพุ่มทรงสูงถึงแผ่กว้าง เปลือกต้นสีเทาแกมเหลืองถึงสีนํ้าตาลเทา เรียบหรือแตกสะเก็ด เปลือกชั้นในสีชมพูถึงส้มผิวเปลือกสีเขียว
ใบ ใบเดียวปลายใบมนหรือกลม เว้าเล็กน้อย โคนใบกลม แผ่นใบเกลี้ยง มีปื้นขนเล็กน้อยด้านล่างใกล้โคนใบ ก้านใบย่อยยาว 0.2-0.8 ซม.


ดอก สีชมพูหรือสีขาวและจะเปลี่ยนเป็นสีแดง ออกดอกที่ปลาย กิ่งแบบช่อแยกแขนง มีขนสั้นนุ่มละเอียด ช่อดอกยาว 7-10 ซม. กลีบ เลี้ยงยาว 0.8 … Read More

หยีทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Derris indica Bennet
ชื่อวงศ์ LEGUMIMOSAE-PAPIUONOIDEAE
ชื่ออื่น กายี (ภาคใต้), ขยี้ (ชุมพร), เพาะดะปากี้ (มลายู-สงขลา), ปารี (มลายู-นราธิวาส) มะปากี (มลายู-ปัตตานี), ราโยด (ปัตตานี), หยีน้ำ (ภาคใต้)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 5-15ม.ทรงพุ่มกว้างแผ่เป็นพุ่มลำต้น มักคดงอ แตกกิ่งตา เปลือกเรียบ สีเขียวแกมน้ำตาลถึงน้ำตาลเทาคลํ้า เปลือกชั้นในสีน้ำตาลอ่อนประขาว ผิวเปลือกสีเขียว
ใบ ใบประกอบชั้นเดียว ยาว 10-20 ซม. เฉพาะก้านใบยาว 3-5ซม. เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงสลับใบย่อย … Read More