กำเนิดว่านและความเชื่อ

ว่านเป็นพืชที่เกิดขึ้นโดยการวิวัฒนาการตามธรรมชาติเช่นเดียวกับบรรดาสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย ฉะนั้นจึงไม่สามารถสืบสาวราวเรื่องได้ว่า ว่านชนิดใดเกิดตั้งแต่เมื่อใด เท่าที่ปรากฏในตำราสมุดข่อย ซึ่งได้เป็นมรดกตกทอดกันต่อ ๆ มา ตั้งหลายชั่วอายุคนแล้วนั้น ปรากฏ ในหนังสอตำราของอาจารย์เลื่อน กัณหะกาญจนะ กล่าวว่า

ตำหรับว่าน

“สิทธิการิยะ ยังมีพระฤาษี 4 องค์ในผืนแผ่นดินนี้ มีฤทธาอานุภาพยิ่งกว่าบรรดาโยคีและฤาษีทั้งปวง ทั้ง 4 องค์นี้มีนาม กะวัตฤาษีองค์หนึ่ง กะวัตพันฤาษีองค์หนึ่ง สัพรัตถนาถฤาษีองค์หนึ่ง จังตังกะปิละฤาษีอีกองค์หนึ่ง พระฤาษี 2 องค์ใน 4 องค์นี้ ได้ให้ธาตุทั้ง 4 ตั้งอยู่บน อธิบดีแก่บรรดาสรรพสิ่งทั้งปวง ส่วนท่านฤาษีองค์ที่ 4 คือท่านจังตังกะปิละนั้น ได้ตั้งบรรดากบิลว่านต่าง ๆ ขึ้นไว้สำหรับท้าวพระยาทั้งปวงอันรู้จักคุณพระรัตนตรัย คือพระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตนะ พระสงฆ์รัตนะ ทั้งยังรู้จักอดกลั้นต่อบรรดาอกุศลกรรมทั้งหลายอีกด้วย เพื่อสำหรับท้าวพระยา และสมณีชีพราหมณ์ทั้งปวง จนได้รู้จักสรรพคุณและสารประโยชน์จากว่านต่างๆ เหล่านั้นไปช่วยบำบัดโรคภัยไข้เจ็บและช่วยปกป้องผองภยันตรายทุกข์ภัยนานาประการแก่ผู้เฒ่าผู้แก่แลคนทั้งปวงทั่วกัน” ตามที่กล่าวนี้แสดงว่า ได้เคยมีการรวบรวมบรรดาว่านต่าง ๆ เข้าเป็นหมวดหมู่ สำหรับสั่งสอนประชาชนต่อ ๆ มาให้รู้จักถึงชนิดว่าน ลักษณะและสรรพคุณ หรือประโยชน์ของว่านมาแล้วในอดีต ทั้งแสดงว่าการกระทำอย่างนี้ ได้กระทำในสมัยเมื่อพระพุทธศาสนาได้เกิดมีแล้ว คือ ไม่นานเกินกว่า 2500 ปีมานี้เองอย่างแน่นอน

โดยปกติพระฤาษีหรือท่านผู้ทรงวิทยาคุณขลังต่างๆ ย่อมพำนักอาศัยอยู่ตามป่าสูงหรือในถ้ำตามภูเขา ฉะนั้นบรรดาชนชาวป่าชาวดอยที่มีถิ่นที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง จึงพลอยได้รับความรู้ ในเรื่องว่านยาจากท่านเหล่านั้นเองและคงรักษาความรู้ได้ด้วยการบอกเล่าสืบทอดต่อมาจนทุกวันนี้การนับถืออิทธิฤทธิ์ของว่านจึงยังคงมีแพร่หลายอยู่เฉพาะในหมู่ชนชาวป่าชาวดอยเหล่านั้นตลอดมาจนบัดนี้ ได้แก่พวกกะเหรี่ยง, ละว้า, ข่า, ขมุ, ยาง, แม้ว, เย้า, ซอง, ต้องสู้เขมรและลาวที่อยู่นอกๆ เขตชุมนุมออกไป ถึงในเมืองไทยเราตามแถวชาวชนบทชั้นนอกๆ ก็ยังคงมีผู้เลื่อมใสเชื่อถือในอภินิหารของว่านอยู่อีกไม่น้อยเหมือนกัน ซึ่งในขณะนี้การนิยมปลูกว่านได้เริ่มมีบทบาทกันอย่างมากมาย นิยมแสวงหาว่านนำไปปลูกไว้ในบ้านและสถานที่ท่างาน, ร้านค้า ธนาคาร โดยเชื่อถือนิยมตามกัน เป็นมรดกตกทอดถึงกับมีการค้าขายว่านกันขึ้นเป็นอาชีพ เป็นต้น

อิทธิฤทธิ์ของว่าน

ว่านต่างๆ มีอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ไม่น้อยไปกว่าเวทย์มนต์พระคาถาเหมือนกันโดยสามารถป้องกันภยันตรายต่างๆ ได้ เช่นอยู่ยงคงกระพันชาตรี คือใช้ของมีคมเช่น มีดฟันถูกร่างกายแล้ว ไม่เข้าเป็นบาดแผลตามปรกติทั่ว ๆ ไป อย่างมากเป็นเพียงรอยขีดบนผิวหนังเล็ก ๆ มีเลือดออกซิบ ๆ หรือบวมนูน เพราะรอยถูกฟันอย่างแรงให้แลเห็นเท่านั้น หรือใช้ปืนยิงมา ก็ทำให้ยิงไม่ดัง ไม่มีลูกปืนออกมาถูกตัว หรือถ้ามีเสียงหรือมีลูกปืนออกมา ก็แคล้วคลาดไม่กระทบถูกร่างกายส่วนหนึ่งส่วนใด หรือถ้าหากกระทบถูกต้องร่ายกายก็ไม่มีบาดแผลปรากฏแก่ร่างกาย นอกจากแก่เสื้อผ้าที่สวมใส่ เป็นรอยถูกกระสุนไหม้เกรียม หรือเป็นรูขาดเท่านั้น

เมื่อกินว่านเข้าไปแล้วทำให้มีกำลงเกิดขึ้นมากมาย มีใจฮึกเหิมไม่หวาดกลัวต่อบรรดาศาสตราวุธทั้งปวง สามารถต่อสู้เอาชนะคนหมู่มากที่รุมล้อมได้ ว่านบางชนิดทำให้คนปรกติดี ๆ ที่ไปถูกเข้า ถึงกับเป็นง่อยเปลี้ยเสียขาไปก็มี บางชนิดมีพิษทำให้ถึงกับตายบ้างก็มี บางชนิดทำให้เกิดเป็นเสน่ห์เมตตามหานิยมแก่ผู้มีว่านชนิดนั้นติดติว ว่านบางชนิดทำให้เกิดเป็นเสนียดจัญไรได้ เช่น ว่านดอกทองบางชนิดใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ เช่นว่านน้ำและว่านหางจรเข้ ว่านบางชนิดสามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ลอยพุ่งเป็นดวงในเวลากลางคืน นำเอาดวงหน้าคนปลูกไปแสดงด้วย เที่ยวเพ่นพ่านดังภูตผีปีศาจ เช่นว่านกระสือ เป็นต้น ทั้งๆที่ว่านมีอิทธิฤทธิ์ดังกล่าวมาแล้วต่างๆ ก็ยังคงมีผู้สนใจศึกษาในเรื่องของว่านน้อยมาก ทั้งนี้เป็นเพราะขาดการเชื่อถือ และไม่มีผู้รู้ที่สามารถชี้ชัดลงไปว่า ว่านชนิดใดมีรูปร่างลักษณะอย่างใดแน่ ขาดทั้งตัวอย่างสำหรับนักศึกษาพอจะศึกษาตามหลักเกณฑ์ ทางแผนปัจจุบัน ยิ่งในทางสรรพคุณและอิทธิฤทธิ์ของว่านด้วยแล้ว ยิ่งหาผู้ทรงวิทยาคุณชี้ชัดว่า ว่านอย่างนี้มีสรรพคุณทางยาอย่างใดมีอิทธิฤทธิ์อย่างใดให้แน่นอนยากมาก เพราะขาดผู้ชำนาญที่เคยใช้เคยทดลองหรือเคยพบเคยเห็น ส่วนมากมักพูดว่าเคยพบจากตำราหรือท่านว่าแต่อย่างเดียว

ทั้ง ๆ ที่บรรดาว่านต่าง ๆ ได้ถูกท่านโบราณอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทางคาถาอาคมขลังได้รวบรวมบรรดาหัวว่านสำคัญต่างๆ ตั้ง 108 อย่างทำเป็นผงผสมกับเกษรไม้หอมเช่นพิกุล บุนนาค มะลิ บัวทั้ง 5 ประกอบด้วยผงวิเศษต่างๆ มีผงอิทธิเจ, ผงปถมัง, ผงตรีนิสิงเห, ผงมหาราช, ผงมหานิยม, ผงนะหน้าทอง, ผงอิติปิโส 108, ผงคัมภีร์, กาฝากมะนาว, กาฝากพุด, ไคลโบสถ์, ไคลเสมา, ชานหมากและของอื่น ๆ อีกมากมายหลายอย่าง โดยนำเอามาบดให้ละเอียดระคนรวมกันผสมน้ำมันตังอิ้วปั้นเป็นแท่ง ทำแม่พิมพ์ประทับเป็นองค์พระพิมพ์รูปต่าง ๆ เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำเข้าพืธีพุทธาภิเศกพร่อมด้วยพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ ทำพีธิปลุกเศกคาถากำกับให้พระพิมพ์เหล่านั้นมีอิทธิ ฤทธิ์ต่าง ๆ ในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรีบ้าง เป็นเมตตามหานิยมบ้างเรียกกันว่าพระเครื่องเป็นต้น และที่พระเครื่องทรงความศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ก็ด้วยอภินิหารของว่าน บรรดาลช่วยเหลือเกื้อกูลพร้อมทั้งคาถาอาคมที่ประกอบเป็น 2 แรงด้วยกัน

อิทธิฤทธิ์ของว่านนั้นจะมีคงที่ตลอดไปได้มักเป็นว่านที่ปลูกติดต่อเป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนมาแล้วโดยมาก เพราะผู้ปลูกเหล่านั้นทราบเคล็ดลับของการทำให้ ว่านคงทรงอิทธิฤทธิ์อยู่โดยมิเสื่อมคลาย ส่วนว่านที่ขึ้นเองตามป่าเขาโดยธรรมชาตินั้นมักไม่มีใครมีอิทธิฤทธิ์ ทั้งๆ เป็นว่านชนิดเดียวกันอย่างเดียวกัน ในการนี้ถึงแม้จะได้นำเอาว่านมาปลูก ถ้ามิได้ระมัดระวัง โดยปล่อยให้ว่านขึ้นแสะโรยราไปเองตามธรรมชาติหรือปล่อยให้ว่านคงอยู่ในดินตลอดระยะเวลาจนกว่าจะถึงฤดูฝนมาใหม่ว่านก็จะผลิแตกต้นอีก แต่อิทธิฤทธิ์ของว่านนั้นจะเจือจางเสมอลงไปทุกที นานๆ หลายฝนเข้าก็หมดฤทธิ์ไปเอง ทั้งนี้เป็นเพราะธาตุสาร (ปรอท) ในตัวว่านลืมต้น คือ หนีออกไปจากต้นขณะเมื่อว่านโทรมในฤดูแล้ง ถ้าหากได้กู้ว่านขึ้นจากดินภายในเดือน 12 วันอังคาร หรือภายในเดือนอ้ายไม่เกินข้างขึ้นอ่อน ๆ วันพุธเสียก่อนแล้ว คืออย่าให้ว่านคงอยู่ในดินเลยพ้นถึงฤดูนกกาเหว่าหรือนกยูงร้องหาคู่จึงจะไม่เสีย ถ้าปล่อยให้หัวว่านคงอยู่เลยกำหนดฤดูนี้ไป ว่านก็จะเสื่อมอานุภาพลงไปเรื่อย ๆ

การกู้หรือเก็บเอาว่านขึ้นเก็บไว้

1. ให้เลือกเอาวันอังคารวันใดวันหนึ่งในเดือน 12 หรือไม่เกินวันพุธข้างขื้นอ่อนๆ ของเดือนอ้าย เป็นวันขุดเอาหัวว่านขึ้น

2. เวลาจะขุดว่าน ให้ใช้มือตบดินตรงใกล้กอว่านหรือต้นว่านนั้นแล้วว่าคาถาเรียกว่านไป ตบดินไปสลับกันจนกว่าคาถาใช้เรียกว่านจะจบลง จึงขุดเอาเอาหัวว่านขึ้นมา

3. คาถาสำหรับเรียกว่านมีดังนี้ “อมขุก ๆ กูจะปลุกพญาว่านให้ลุกก็ลุก กูจะปลุกพญาว่าน ให้ตื่นก็ตื่นพญาว่านหนีไปอื่นให้แล่นมาหากูนี่เน้อ มาฮอดแล้วพันเฝ้าตื่น อม มะสะ หะหับคงทน”

4. ในการขุดว่านขึ้นใช้หัวเพื่อนำไปทำอะไรหรือติดตัวไปไหนด้วย หรือจะขุดเพื่อเก็บว่าน เอาไว้เพราะมีมากเกินไป ก็ต้องใช้คาถาเรียกกำกับเวลาขุดขึ้นทุกคราไป ว่านนั้นๆ จึงจะทรงอิทธิฤทธิ์คงที่อยู่เสมอไม่เสื่อมคลายลงเลย

ฤกษ์ในการขุดหรือปลูกว่าน

การขุดหรือปลูกว่านให้คงมีอิทธิฤทธิ์ไม่เสื่อมคลายนั้น ท่านมีวันกำหนดให้ทำการในเดือนต่างๆ ดังต่อไปนี้

เดือนอ้ายหรือเดือน 1  ใช้วันพุธ

เดือนยี่หรือเดือน 2 กับเดือน 7  ใช้วันพฤหัสบดี

เดือน 3 กับเดือน 8  ใช้วันศุกร์

เดือน 4 เดือน 9 กับเดือน 11  ใช้วันเสาร์

เดือน 5 กับเดือน 10  ใช้วันอาทิตย์

เดือน 6 กับเดือน 12  ใช้วันอังคาร

ตามตำราโดยมากมักปลูกในเดือน 6 วันอังคารและขุดในเดือน 12 วันอังคารเหมือนกัน อย่างนี้เกือบทุกเล่มทั้งนี้เพราะเดือน 6 วันอังคาร เป็นฤดูฝนเหมาะแก่การปลูก และเดือน 12 เหมาะแก่การขุดเอาขึ้น เพราะเป็นสมัยน้ำจะบ่าลงมาท่วมบรรดาพืชที่ปลูกกับพื้นดินนั่นเอง ส่วนวันอังคารทั้ง 2 เดือนนั้น ก็เพราะเป็นเกณฑ์ฤกษ์ดีของเดือนทั้งสองนั้นตกในวันอังคาร

เคล็ดลับของการขุดว่าน เพื่อให้ต้นว่านขลังเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ คือ ในขณะที่ยกต้นว่านขึ้นจากดินที่ปลูกอยู่เดิม เมื่อขุดออกไปแล้ว ให้ร้องว่า ขะโมย…ขะโมย…ขะโมย 3 ครั้ง ดังนี้แล้ว จึงนำว่านนั้นไปปลูกตามพิธีการปลูกว่านแต่ละชนิดให้ถูกต้องต่อไป เมื่อทำได้ดังนี้ ต้นว่านนั้นจะคงความขลังความศักดิ์สิทธิ์ตามอิทธิฤทธิ์ที่มีโดยมิเสื่อมคลาย

วิธีปลูกว่าน

เพราะว่านเป็นของกายสิทธิ์มีคุณฤทธิ์ โดยเฉพาะตัวของว่านเอง ฉะนั้นการปลูกจึงต้องมีพิธีรีตรองมากกว่าการปลูกพืชธรรมดาทั่วไป เช่นในการปลูกว่านจะต้องหาวันฤกษ์ดีของเดือนที่จะปลูกเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ผู้ปลูกเองกับเป็นการเพิ่มคุณฤทธิ์ให้แก่ว่านไปด้วยในตัว โดยมากมักปลูกกันในวันอังคาร เดือน 6 เพราะเป็นหน้าฝนเหมาะแก่การปลูกพืชชนิดนี้มากกว่าเดือนอื่น ดินที่ใช้ปลูกว่านต้องเป็นดินสะอาด ปราศจากวัตถุพวกมูลสัตว์ต่าง ๆ เจือปนและเป็นดินบริเวณกลางแจ้ง ไม่มีอะไรบัง ควรร่อนเอาแต่ส่วนละเอียดๆ ไปใช้ ดินมี 2 สี คือแดงกับดำ

1. เป็นดินร่วน

2. เป็นดินทราย

3. เป็นดินเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียด ทิ้งตากนํ้าค้างไว้คืนหนึ่ง

4. เป็นอิฐเผาไฟแล้วทุบให้ละเอียด

5. หญ้าแห้งสับเป็นท่อนๆ ขนาดครึ่งนึ่ว สำหรับผสมปนกับดินหรือปนทราย

เวลาเอาหัวว่านลงแล้ว เวลากลบดินอย่ากลบให้ดินแน่นเกินไปนัก เพื่อนํ้าที่รดจะได้ซึมได้ง่าย หากกดดินแน่นหัวว่านเกินไป น้ำซึมได้ช้า ทำให้หัวว่านชุ่มนํ้านานเกินไปอาจเน่าเสียโดยง่าย และส่วนมากควรเหลือหัวว่านให้โผล่พ้นดินสักนิดหน่อยเพื่อสะดวกในการแตกต้นขึ้นใหม่

คาถาในการรดน้ำว่านเมื่อปลูกแล้ว

ว่านสำคัญ ๆ ที่มีคุณฤทธิ์มาก จำเป็นต้องเศกคาถากำกับในเวลาก่อนรดน้ำ คาถามีต่าง ๆ กัน ดังนี้

1. “อิติปิโสภควา อรหังสัมมาสัมพุทโธ วิชาจรณสัมปันโน สุขโต โลกวิทู อนุตตโร ปุริสสธัมมสารถิ สัตถา เทว มนุสสานัง พุทโธ ภควาติ” ว่าจบ 1 บ้าง 3 จบบ้าง 7 จบบ้างแล้วจึงรดนํ้า

2. “สัพเพเตโรคา สัพเพเตภะยา สัพเพเตอันตรายา สัพเพเตอุปัททวา สัพเพเตทุนนิมิตา อวมังคลาวินาสสันตุ” เสก 9 จบแล้วจึงรดนํ้า

3. “มหาลาโภ โหตุ ภวันตุเม” 3 จบจึงรดนํ้า

4. นโมพุทธายะ” จบหนึ่งบ้าง 3 จบบ้าง 7 จบบ้าง และตามกำลังวันคือวันอาทิตย์ 1 จบ ถึงเสาร์ 7 จบบ้าง จึงรดนํ้า

ในการปลูกว่านลงกระถาง ควรเอาออกตั้งไว้ในที่แจ้งเพื่อได้รับแสงแดดในตอนเช้าและตอนบ่ายส่วนตอนกลางวันแดดจัดมาก ควรทำร่มบังแดดให้ เพราะการปลูกในกระถางนั้นดินไม่สามารถอุ้มนํ้าไว้ได้มากเหมือนอย่างพื้นดิน ซึ่งรากของว่านอาจสามารถซอกซอนดูดนํ้าตามพื้นดินมาบำรุงลำต้นให้ชุ่มชื้นกันความร้อนของแดดได้

อนึ่ง ขณะที่เริ่มปลูกใหม่ ๆ ควรระมัดระวังในเรื่องแสงแดด อย่าให้ถูกจัดนักและเรื่องดิน อย่ากดให้แน่นเกินไป นํ้าอย่ารดให้ชุ่มโชกโชน เหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญในการเล่นว่านมากเหลือเกิน ถ้าผู้ปลูกไม่เอาใจใส่ทนุถนอมว่านมักเน่าจากรากและหัวหรือเกิดเหี่ยวแห้งเฉาตายเป็นส่วนมาก

เพื่อให้ว่านสำคัญ ๆ ที่ปลูกเกิดผลศักดิ์สิทธิ์เพิ่มขึ้นในอิทธิฤทธิ์แน่นอนสมตามเจตจำนง หรือตำราที่กล่าวไว้ควรใช้แผ่นทองลงยันต์อติปิโสแปดทิศ ซึ่งเข้าพิธีปลุกเศกอย่างดีแล้ว พร้อมด้วยสิ่งอาถรรพ์อันเป็นมงคลหรือผงศักดิ์สิทธิ์ ๆ ตามสมควรมาฝังไว้โคนต้นว่านที่ปลูกไว้นั้น

ในขณะจะทำการขุดว่านควรเอาน้ำมนต์ ที่เสกด้วยสัพพาสีแปดจบ พรมให้ทั่วต้นว่านและบริเวณโคนต้นรอบเสียก่อนแล้วจึงขุดก็จะเพิ่มอิทธิฤทธิ์แก่ว่านนั้น ๆ ยิ่งขึ้น

เสน่ห์จันทร์

ความนิยมว่านจำพวกเสน่ห์จันทร์

ว่านจำพวกเสน่ห์จันทร์นี้ นิยมเล่นกันเป็นคราวๆ ในประวัตศาสตร์สมัยพระนครศรีอยุธยายังเป็นราชธานี ก็เคยนิยมเล่นกันมากในสมัยขุนวรวงษาธิราชหนหนึ่ง ต่อมาในสมัยพระนารายณ์มหาราชก็นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่ง ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็นิยมเล่นกันเป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่ พ.ศ. 2520 กลับมีผู้นิยมเล่นว่าจำพวกนี้เพิ่มขึ้นมากมายถึงกับมีการซื้อขายกันเป็นต้นเป็นหน่อ ด้วยราคาแพงๆ โดยเฉพาะ เสน่ห์จันทร์ขาว, และเสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์ ถึงปัจจุบันนี้ก็ยังมีผู้นิยมเสาะแสวงหาว่านจำพวกนี้กันอยู่เสมอ ถึงแม้ว่านนี้ได้ขยายพันธุ์เติบโตสืบทอดกันเรื่อยมาอย่างมากมาย ก็ยังไม่เพียงพอความต้องการของผู้นิยมราคาจึงขึ้นสูงปรูดปราดเรียกว่าแพง

ว่านจำพวกนี้เป็นว่านเสี่ยงทาย เป็นว่านเจริญตาเจริญใจ และสวยงามแก่ผู้ที่ได้พบได้เห็น – ต้นใบก้าน และถือกันว่าเป็นว่านชี้ชะตาของเจ้าของหรือผู้ปลูก ผู้รักษา ว่าชะตาจะขึ้นลง จะยากดีมีจน เรื่องเมตตามหานิยมนั้น เป็นสรรพคุณของว่านจำพวกนี้ เมื่อบ้านใครมีปลูกไว้ ย่อมเป็นเมตตามหานิยมเป็นเสน่ห์มหานิยมแก่บ้านนั้น หรือร้านค้าร้านขายนั้น บันดาลให้เจ้าของกิจการนั้นๆ ให้ร่ำรวย ทำธุรกิจคล่องตัว มีผู้ไปมาหาสูไม่ขาด ส่วนต้นว่านนั้นถ้างอกงามดีก็หมายความว่าเจ้า ของก็จะมีลาภอยู่เย็นเป็นสุข ถ้าว่านเหี่ยวแห้งร่วงโรย ไม่งามเหมือนของผู้อื่นเขา ก็หมายความว่าจะต้องมีอะไรเป็นเหตุเหล่านั้น คือไม่ราบรื่น ไม่รํ่ารวย เจ็บๆ ป่วยๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะได้รู้ จะได้หาทางแก้

ว่านเสน่ห์จันทร์มีอยู่ด้วยกัน 6 ชนิด คือ 1. เสน่ห์จันทร์ขาว 2. เสน่ห์จันทร์มหาโพธิ์, 3. เสน่ห์จันทร์แดง 4. เสน่ห์จันทร์เขียว, 5. เสน่ห์จันทร์หอม และ 6. เสน่ห์จันทร์ทอง ปัจจุบัน มีผู้นำเอาต้นเต่าเกียดซึ่งเป็นต้นไม้ยารักษาโรคได้บางอย่างนำมาเป็นเสน่ห์จันทร์ดำ

ว่านเศรษฐี

ว่านเศรษฐี

ว่านจำพวกเศรษฐีนี้ สมัยโบราณครั้งกรุงศรีอยุธยารู้จักว่านชนิดเศรษฐีนี้เพียง 3 อย่างเท่านั้น คือ 1. เศรษฐีธรรมดา หรือที่เรียกกันว่าเศรษฐีเรือนกลาง 2. เศรษฐีเรือนนอก และ 3. เศรษฐีเรือนใน เป็นที่รู้จักกันสามอย่างในสมัยนั้น

ต่อมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเกิดมีผู้พบว่าจำพวกเศรษฐีเพิ่มขึ้นมาอีก 5 อยางคือ 1. เศรษฐีขอด หรือเศรษฐีกวัก หรือเศรษฐีกอบทรัพย์ 2. เศรษฐีชะม่อม 3. เศรษฐีด่างหรือว่านกวักทองกวักเงิน 4.เศรษฐีมงคล 5. เศรษฐีนางกวัก หรือมหาเศรษฐี ต่อมามีต้นไม้ประเภท เลี้ยงง่ายงอกงามเจริญรวดเร็ว เป็นไม้เสี่ยงทายถึงวาสนาของเจ้าของ ผู้ปลูกต่างประเทศนิยมกัน ซึ่งแต่เดิมมานั้นพืชเหล่านี้ พวกเศรษฐีคฤหบดีผู้มีทรัพย์นิยมปลูกไม้ประดับ ใส่หรือปลูกไว้ในกระถางลายครามที่หายากมีราคาแพง ตั้งไว้ในที่รับแขกเป็นการอวดมั่งอวดมี อวดความมั่งคั่งของตน ต่อมาความนิยมอันนี้จึงได้ติดต่อเข้ามาถึงประเทศไทยของเราด้วย เพราะเหตุว่าเป็นไม้จำพวกเศรษฐีชอบปลูกเลี้ยง จึงเลยพลอยได้ชื่อว่าเป็นว่านพวกเศรษฐีไปด้วย

ในปัจจุบันมีว่านเศรษฐีนี้ เป็นพืชที่ใส่กระถางปลูกรวม 11 ชื่อแล้ว เรื่องว่านเศรษฐีนี้ การค้นคว้าหามาปลูกเกือบหมดทุกชนิด และมีตำราจำพวกว่านนี้ 12 เล่ม เมื่อนำต้นว่านเปรียบเทียบกับทุกตำรา โดยมากตำราว่านประเภทนี้ไม่ตรงกัน บางตำรามุ่งในการค้า ลอกเอามาจากตำราที่ผิด บอกชื่อว่านผิด บอกสรรพคุณผิดแผกไปจากของเดิมต่อเติมเลยเถิดไป ชนิดแหวกแนวโลดโผนมุ่งในทางขายตำราหากำไรเสียโดยมาก เช่นพิมพ์รูปว่านอย่างหนึ่ง เขียนชื่อว่านไม่ตรงกับต้นว่าน บอกคุณค่าของว่านอย่างมหาศาลเป็นการเข้าใจผิด

ว่านเศรษฐีเหล่านี้ จะเห็นตามบ้านเจ้าบ้านนาย บ้านคฤหบดี เศรษฐี หลายร้อยหลายต้น แต่พอถามเจ้าของ เจ้าของบอกชื่อไม่ถูก ไม่รู้สรรพคุณนิยม ไม่รู้ว่าการปลูก บำรุงรักษา การเขียนว่านจำพวกเศรษฐีนี้อาศัยตำราของท่านอาจารย์เลื่อน กัณหะกาญจนะ เป็น แบบบรรทัดฐาน จึงขอนำว่านที่ท่านกล่าวไว้ 3 ว่าน คือ เศรษฐีจีน, เศรษฐีญวน และเศรษฐีแขก นำมากล่าวไว้ให้ท่านทราษด้วย

ความนิยมว่านจำพวกกวัก

ว่านจำพวกตระกูลกวักนี้ สันนิษฐานว่า นิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีพร้อมกันกับจำพวกว่านเสน่ห์จันทร์ทั้งหลาย และสมัยพระนารายณ์มหาราช ก็นิยมเล่นกันอีกครั้งหนึ่งเช่นกัน และสืบทอดกันมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็นิยมเล่นกันในหมู่ท้าวพระยา คฤหบดี และสมภารเจ้าวัด เพราะระยะเริ่มแรกมีน้อย และขยายสืบพันธุ์กันต่อมาจนถึงสมัยปัจจุกัน ว่านประเภทนี้ได้ตื่นขยายตัวมากมาย นิยมเล่นกันถึงกับมีการค้าขายด้วยราคาแพง ๆ เอาการอยู่

ว่านประเภทกวักเป็นมีสิริมงคล มีคุณสมบัติเป็นเมตตามหานิยม บันดาลให้เจ้าของหรือผู้ปลูกมีโชคมีลาภ อยู่เย็นเป็นสุข มีด้วยกันอยู่ 9 ชนิด แต่ละชนิดเกือบจะคล้ายคลึงกันก็มี ตามตำราที่ลอกมาจากสมุดข่อยโบราณ ที่อาจารย์ ร.ต.สวิง กวีสุทธิ์ ร.น. ท่านได้เขียนไว้ในกบิลว่าน

ฉบับสมบูรณ์ คือ 1. ว่านกวักพุทธเจ้าหลวง 2. ว่านกวักนางพญาใหญ่ 3. ว่านกวักนางพญาเล็ก (กวักนางพญามหาเศรษฐีเป็นชื่อภายหลัง) 4. ว่านกวักนางมาควดี (ว่านมหาโชค เป็นต้นเดียวกัน) 5. ว่านกวักหงสาวดี (ไม่ใช่ต้นยางที่เขานิยมกันปัจจุบัน) 6. ว่านกวักทองใบ (กวักแม่ทองใบต้นเดียวกัน) 7. ว่านกวักแม่จันทร์ 8. ว่านกวักโพธิ์เงิน (ต่อมามีกวักโพธิ์ทองอีกต้นหนึ่งลักษณะเหมือนกันแต่ใบแดง) 9. ว่านกวักเงินกวักทอง รวมกัน 9 ชนิด แต่ละชนิดเป็นไม้ว่านสวยงามทุกต้น

ต่อมาท่านได้เพิ่มเติมไว้อีกต้นหนึ่ง คือกวักทางลาย กวักทางลายต้นนี้ มีด้วยกัน 3 ชนิด ชนิดต้นแข็งใบใหญ่ ต้นแข็งใบเล็ก และต้นแข็งใบใหญ่แต่ใบอ่อน และปัจจุบันบางตำรากล่าวไว้ มีว่านกวักเงินอีกต้นหนึ่ง ใบใหญ่มีลายเงินสวยงามมาก นิยมเล่นมานานแล้ว รวมความว่า ว่านกวัก เดิมมี 9 ต้น แต่ได้เพิ่มอีก 2 ต้น 5 ชนิด จึงรวมความว่า ว่านกวักที่จะชี้ให้ท่านศึกษามีรวมกัน เป็น 14 ชนิด

ส่วนว่านกวักทองคำทกำลังนิยมกันนั้น เป็นไม้พันธุ์ผสมใบเหมือนกวักทางลายลำต้นเตี้ยสีชมภู ไม่มีสรรพคุณอะไร เพราะเป็นไม้เพื่อการค้าไม่เคยมีปรากฏในสมัยไหน ? เพราะว่านทุกต้นมีคุณค่าอยู่ในตัว มีวิญญาณ มีสรรพคุณ การที่จะนำไม้ต้นหนึ่งต้นใดมาอ้างเป็นว่านจึงไม่คิดเชื่อได้เพราะไม่มีหลักฐานในการพิสูจน์กัน

วิธีดูลักษณะว่าน

ว่านส่วนมากเป็นพืชที่มีลำต้น ใบ และหัว มีส่วนคล้ายคลึงกันโดยมาก ยิ่งกว่านั้น ว่านบางอย่างในท้องถิ่นหนึ่งมีชื่อและใช้ประโยชน์ไปอย่างอื่น แต่เมื่อไปอีกท้องถิ่นหนึ่ง เรียกชื่อและสรรพคุณที่ใช้ก็แตกต่างกันออกไป ทั้งที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน อย่างนี้ก็มี ดังนั้นจึงต้องพิเคราะห์พิจารณาว่า ว่านแต่ละว่าน แต่ละหัวด้วยความรอบคอบและถ้วนถี่ด้วย จึงขอนำความจาก ที่พบในตำราว่านมาแนะนำไว้ในที่นี้ คือ

1. เช่นต้นดังว่านขมิ้นอ้อย หมายความว่า ว่านที่มีลักษณะลำต้น และใบ เหมือนหรือคล้ายว่านขมิ้นอ้อย

2. ต้นดังต้นไพร หมายถึง ว่านชนิดนั้นมีลำต้นกลมมีใบสีเขียว คล้ายกับต้นไพร

3. หัวดังหัวหอมหัวใหญ่หมายถึง หัวว่านต้นที่กล่าวนั้น มีหัวเหมือนหัวหอมหัวใหญ่

4. ต้นเหมือนต้นพลับพลึง หมายถึงว่านต้นนั้นมีลักษณะเดียวกันกับต้นพลับพลึงชนิดเล็ก คือหน่อของต้นพลับพลึงเป็นต้น

วันมงคลที่ควรจะปลูกว่านได้

วันดีสำหรับบุคคลผู้เป็นเจ้าของว่านสมควรที่จะปลูกว่านได้ ถ้าหากว่านต้นนั้นไม่มีการบังคับว่าจะต้องปลูกวันนั้นวันนี้ เช่นว่านเสน่ห์สาวหลง ต้องปลูกวันจันทร์ ก็ต้องปลูกวันจันทร์เท่านั้นฯ ส่วนว่านต้นที่ ไม่บังคับ ท่านที่เกิดวันใดก็ปลูกได้ตามตารางนี้

ท่านที่เกิดวัน เป็นเดชมงคล เป็นศรีมงคล เป็นมนตรีมงคล เป็นกาลกิณีห้ามปลูก
         
อาทิตย์ วันองคาร วนพุธ พุธกลางคืน วันศุกร์
         
จันทร พุธ เสาร์ ศุกร์ อาทิตย์
         
อังคาร เสาร์ พฤหสบดี อาทิตย์ จันทร์
         
พุธ พฤหัสบด พุธกลางคืน จันทร์ อังคาร
         
พุธกลางคืน อาทิตย์ จันทร์ เสาร์ พฤหัสบดี
         
พฤหัสบดี ศุกร์ อาทิตย์ พุธ เสาร์
      qj «ร  
ศุกร์ จันทร์ อังคาร พฤหสบดี พุธกลางคืน
         
เสาร์ พุธกลางคืน ศุกร์ อังคาร พุธ

 

วันดีเป็นมงคล วันที่เป็นเดช เป็นศรี เป็นมนตรี ส่วนกาลกิณี เป็นวันชั่ว วันเสีย งดการปลูกเด็จขาด เดช คือ อำนาจวาสนา ศรี คือความสุข ความเจริญ มนตรี คือ ยศศักดิ์ เกียรติ ตำแหน่ง การงาน กาลกิณี หมายถึง ชั่ว ร้าย เลว