กะทือมีประโยชน์อย่างไร


ชื่อวิทยาศาสตร์ Zingiber zerumbet’Smith.
ชื่ออื่นๆ กะทือป่า กะแวน กะแอน แฮวดำ (เหนือ) เปลพ้อ (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) เฮียวข่า (ฉาน-แม่ฮ่องสอน) เฮียวแดง (แม่ฮ่องสอน)
อังกฤษ Wild Ginger, Martinique Ginger.
ลักษณะ มีเหง้าใต้ดิน ต้นบนดินสูง 0.8-1.8 เมตร มี 2 ชนิด คือ กะทือขาว กับกะทือแดง ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับกันเป็นสองแถว ใบรูปขอบขนานแกม หอกกว้าง 2-4 ซ.ม. ยาว 10-20 ซ.ม. ถ้าเป็นกะทือขาว ใบเขียว กาบใบหุ้มลำต้นมีสีเขียว ดอกมีใบประดับเป็นสีเขียวอมม่วง ออกรวมกันเป็นช่อยาว แหลมหัวแหลมท้าย ตรงกลางป่อง ส่วนกะทือแดง กาบใบหุ้มลำต้นมีสีแดงคลํ้า ดอกมีใบประดับเป็นสีม่วงแดง ทั้ง 2 ชนิด มีดอกสีเหลืองอ่อน บานครั้งละ 2-3 ดอก จากล่างขึ้นข้างบน ผล กลม แข็ง
ส่วนที่ใช้ เหง้าใต้ดินแก่มีสีเนื้อซีดๆ
สารสำคัญ มี methyl-gingerol, shogaol, zingerone, citral และ l-phellandrene, zerumbone และ sesquiterpene
ประโยชน์ทางยา ยาไทยใช้ต้มแก้หืด แก้ไอ แก้บิด ขับลม บำรุงนํ้านม สามารถหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด ภายนอกใช้รักษาโรคผิวหนัง
อื่นๆ เหง้าอ่อน ต้มเป็นผักจิ้ม ใช้ยำได้
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ