กะเพรา

กะเพรา

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ

ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ กะเพราขาว กะเพราแดง กอมก้อ กอมก้อดง กะเพราขน กะเพราดำ

ชื่ออังกฤษ Sacred basil, Holy basil

ชื่อวิทยาศาสตร์ Ocimum sanctum Linn.

วงศ์ Labiatae

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

กะเพราเป็นพืชล้มลุก สูงประมาณ 1 – 2 ฟุต ลำต้นเป็นรูปสี่เหลี่ยม ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงกันข้าม ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยห่างๆ ปลายใบและโคนใบ แหลมหรือมนเล็กน้อย ลำต้น กิ่ง และใบ มีขนอ่อนๆ ดอกออกเป็นช่อ ช่อดอกยาว ออกที่ปลายยอด ดอกย่อย ออกรอบแกนกลางเป็นชั้น กะเพรามี 2 ชนิด คือ กะเพราขาว และกะเพราแดง กะเพราแดงมีก้านสีม่วงแดง ใบมีสีเข้ม เขียวแกมม่วง ดอกสีขาวแกมม่วง ส่วนกะเพราขาว กิ่งก้านมีสีเขียวอ่อน ใบสีเขียว ดอกสีขาว

การปลูก

กะเพรานิยมปลูกเป็นพืชสวนครัวอยู่ทั่วไป ปลูกโดยใช้

เมล็ดหรือใช้กิ่งปักชำ กะเพราชอบดินร่วนซุย ปลูกง่ายในดินทุกชนิด ใช้เมล็ดโรยบนดินหรือแปลงที่จะปลูก ควรปลูกต้นฤดูฝน ส่วนที่ใช้เป็นยา ใบสดหรือแห้ง

ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา

เก็บใบที่สมบูรณ์เต็มที่ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป

สารสำคัญ ในใบและลำต้นมีนํ้ามันหอมระเหยประมาณร้อยละ

0.35 นํ้ามันประกอบด้วยสารเคมีหลายชนิด เช่น โอซิมอล (ocimol), ยูจีนอล (eugenol), ไลนาลูออล (linalool) แคริโอฟิลลีน (caiyophyUene), ไลโมนีน (limonene) แคมฟีน (camphene) และซินีออล (cineol) เป็นต้น

ประโยชนในการรักษา

1. ใช้เป็นยาขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แก้อาการแน่นจุก เสียด และปวดท้อง

วิธีใช้ ใช้ใบและยอดกะเพรา 1 กำมือ (น้ำหนักสด 25 กรัม, นํ้าหนักแห้ง 4 กรัม) ต้มเอานํ้าดื่ม หรือใช้ใบแห้งป่นเป็นผง ใช้ครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ ชงกับนํ้า หรือใช้ใบสดปรุงเป็นอาหารรับประทาน เช่น ปรุงแกงเลียงให้สตรีหลังคลอดรับประทาน

-กะเพราเหมาะสำหรับใช้แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก

วิธีใช้ เด็กอ่อนใช้ใบสด 3 – 4 ใบ ใส่เกลือเล็กน้อย บดให้ละเอียด ผสมน้ำผึ้ง หยอดให้เด็กอ่อน 2-3 หยด เป็นเวลา 2 – 3 วัน จะช่วยขับลม และถ่ายขี้เทา

2. ใช้แก้อาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกิดจากธาตุไม่ปกติ

วิธีใช้ ใช้เช่นเดียวกับการใช้แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ

3. ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด

จากการทดลองกับคนใช้โรคหอบหืดพบว่า เมื่อให้ดื่มนํ้าต้มใบกะเพรา จะมี่การหายใจได้สะดวกขึ้น

นอกจากนี้ยังมีรายงานจากการวิจัยในสัตวัทดลองพบว่า กะเพรา สามารถช่วยลดความเครียด และลดนํ้าตาลในเลือดได้อีกด้วย