การแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืช

การแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืช โดยทั่วไปจะแยกจากเนื้อเยื่อของพืชส่วนที่เป็นโรค เช่น ลำต้น ใบ หัว รากที่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน หรือจากดินที่อยู่รอบรากพืชที่ถูกไส้เดือนฝอยเข้าทำลายตามวิธีการต่างๆ การเก็บตัวอย่างไส้เดือนฝอยจากดิน ควรใช้ samping tube เข้าช่วย และตัวอย่างดินหรือส่วนของพืชที่เป็นโรคควรเก็บไว้ในถุงพลาสติก ภายในอุณหภูมิประมาณ 15-25°ซ. จะทำให้ไส้เดือนฝอยคงชีวิตอยู่ได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์แล้วแต่ชนิดของไส้เดือนฝอย
วิธีการของ Baermann funnel โดยการห่อดินตัวอย่างด้วยกระดาษทิชชู วางบนตะแกรงที่อยู่บนกรวยซึ่งมีน้ำอยู่ ขนาดกรวยมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12-15 ซม. ปลายกรวยสวมด้วยท่อยาง และมีคลิปหนีบอยู่ ให้ระดับนํ้าในกรวยสูงพอดีสัมผัสกับห่อดินพอเปียก ไส้เดือนฝอยจะเคลื่อนที่ในดินที่เปียกนั้น ผ่านกระดาษลงน้ำสู่ก้นกรวย ภายใน 1 วัน นำไส้เดือนฝอยไปตรวจโดยการเปิดคลิปต่อไป สำหรับส่วนของพืชที่เป็นโรค เช่นราก กิ่ง เป็นต้น ให้วางบนตะแกรงได้โดยตรง หลังจากล้างดินออกหมดแล้ว
วิธีการกรองผ่านตะแกรง (sieving method) โดยทำสารละลายดิน ที่มีดินประมาณ 500 กรัม ต่อน้ำ 3-4 ลิตร คนให้เข้ากัน ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 1/2-1 นาที แล้วรินผ่านตะแกรงกรองขนาดรูตะแกรง 850, 250 และ 45 µ (= 20, 250 และ 325 mesh/in. ตามลำดับ)ทำซ้ำอีกโดยนำสารละลายที่กรองได้ด้วยตะแกรงสุดท้ายไปเริ่มใหม่ เก็บไส้เดือนฝอยจากตะแกรงโดยเปิดน้ำสะอาดให้ไหลช่วยล้างสิ่งเจือปนอื่นๆ ออก
วิธีการหมุนเหวี่ยง (centrifugation) โดยแยกอินทรีย์วัตถุต่างๆ ซึ่งลอยอยู่ออกจากดินที่มีไส้เดือนฝอยอยู่ แล้วไส้เดือนฝอยจะแยกได้จากการหมุนเหวี่ยงในสารละลาย high specific gravity เช่น sucrose (490 g sucrose/1,000 ml water)
การจัดหมวดหมู่ไส้เดือนฝอยศัตรูพืช
ไส้เดือนฝอยจัดไว้ใน phylum Nematoda แยกต่างหากจากสัตว์มีอยู่ทั้งหมดมากกว่า 10,000 ชนิด แต่ที่รู้จักกันดีและมีรายละเอียดต่างๆ ไว้นั้นมีอยู่น้อย ไส้เดือนฝอยในดินมีจัดไว้ 10 อันดับ และเป็น ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชอยู่เพียง 2 อันดับ คือ
1. Order Tylenchida มีไส้เดือนฝอยศัตรูพืชมากที่จัดอยู่ในอันดับนี้ บางชนิดเป็นปรสิตของแมลง รา ลักษณะที่สำคัญของไส้เดือนฝอยคือ มีหลอดดูดอาหาร (stylet or spear) เล็ก ยาว ปกติมี 3 knobs ที่ปลายด้านล่างและติดกับกล้ามเนื้อ ลำคอ (pharynx or esophagus) แบ่งออกเป็น 4 ส่วนคือ Procorpus, Metacorpus (median bulb) เป็นเสี้ยวซึ่งมีกล้ามเนื้อแนวรัศมี Isthmus ซึ่งมีประสาทเป็นวงแหวนโดยรอบ และ glandular bulb ที่ส่วนล่าง Cuticle ของไส้เดือนฝอยในอันดับนี้เห็นเป็นลอน คล้ายวงแหวนติดต่อกันชัดเจน (annulation)
2. Order Dorylaimida ไส้เดือนฝอยในดินส่วนมากอยู่ในอันดับนโดยเกือบทั้งหมดยังไม่ทราบรายละเอียดการดำรงชีวิต มีอยู่เพียง 3 สกุลเท่านั้นที่เป็นไส้เดือนฝอยศัตรูพืช มีหลอดดูดอาหารใหญ่แต่สั้น
และปลายเอียง ไม่มี knob, ลำคอ ไม่มี median bulb โดยส่วนบนแคบ และกว้างขึ้นที่ส่วนปลาย หรืออาจมีรูปเป็นทรงกระบอกได้ Cuticle เรียบปกติมองไม่เห็นเป็นวงแหวนติดต่อกันหากใช้กล้องจุลทัศน์ธรรมการจำแนกไส้เดือนฝอยศัตรูพืชมีตามลำดับดังนี้
1. Order Tylenchida
Suborder Tylenchina
Superfamily Tylenchoidea
Family Tylenchidae : Anguina, Ditylenchus
Family Tylenchorhynchidae : Tylenchorhynchus
Family Pratylenchidae : Pratylenchus, Radopholus, Hirschmaniella
Family Hoplolaimidae : Hoplolaimus, Scutellonema, Rotylenchus, Helicotylenchus
Family Belonolaimidae : Belonolaimus
Superfamily Heteroderoidea
Family Heteroderidae : Heterodera, Meloidogyne
Family Nacobbidae : Nacobbus, Rotylenchulus
Superfamily Criconematoidea
Family Criconematidae : Macroposthonia, Hemicycliophora Family Paratylenchidae : Paratylenchus
Family Tylenchulidae : Tylenchulus
Suborder Aphelenchina
Superfamily Aphelenchoidea
Family Aphelenchoididae : Aphelenchoides, Bursaphelenchus, Rhadinaphelenchus
2. Order Doryhimida
Family Longidoridae : Longidorus, Xiphinema
Family Trichodoridae : Trichodorus
Family Tylenchidae การจัดตำแหน่งของโครงสร้างส่วนหัวไม่ชyดเจน (noncephalic framework) หลอดดูดอาหารมีขนาดเล็ก ไส้เดือนฝอยมีขนาดยาว ทั้งเพศเมียและเพศผู้มีความว่องไว มีรังไข่อันเดียว (ovary) ช่องคลอด (vulva) อยู่ระหว่างจุดกึ่งกล่างลำตัวกับช่องขับถ่าย (anus) เพศเมียมีหางชี้ เพศผู้ caudal alae อยู่ไม่ถึงปลายสุดของลำตัว Esophageal glands เป็นกระเปาะอาจอยู่ซ้อนกับลำไส้เล็กน้อย
Family Tylenchorhynchidae การจัดตำแหน่งโครงสร้างของส่วนหัวมีเล็กน้อยถึงปานกลางหลอดดูดอาหารพัฒนาได้ดี มี basal knob ไส้เดือนฝอยมีขนาดยาว (ประมาณ 0.8-1.5 มม.) มีความว่องไวทั้งสองเพศ มีรังไข่ 2 อัน ช่องคลอดอยู่กึ่งกลางลำตัว หางของเพศเมียมีลักษณะกลมหรือแหลม Caudal alae อยู่ชิดปลายหาง Esophageal gland อยู่เป็นกระเปาะ
Family Pratylenchidae การจัดตำแหน่งโครงสร้างของส่วนหัวเด่นชัดและมีผิวแข็งกว่าปกติไส้เดือนฝอยมีขนาดยาว ว่องไวทั้งสองเพศ ส่วนหัวกว้างและกลมหรือแบนเล็กน้อย หลอดดูดอาหารแข็งแรง มี
basal knobs ใหญ่ มี esophageal gland 3 ลอน อยู่ซ้อนกับลำไส้เล็กน้อยเป็นบางส่วน มีรังไข่ 1-2 ส่วนหางของเพศเมียยาวเป็นสองเท่าของความกว้างของลำตัวตรงช่องขับถ่ายหรือมากกว่า Caudal alae จดปลายหาง
Family Hoplolaimidae หัวโค้งรูปกรวย หรือกลมใหญ่ ไส้เดือนฝอยมีขนาดยาว ว่องไวทั้งสองเพศ การจัดตำแหน่งโครงสร้างของส่วนหัวพัฒนาได้ดี หลอดดูดอาหารหนา เห็น basal knob เด่นชัด Esophageal gland อยู่ซ้อนกับลำไส้บางส่วน ผิว cuticle เห็นวงแหวนติดต่อกันเด่นชัด มีรังไข่ 1-2 อัน หางของเพศเมียสั้น ปกติมีขนาดสั้นกว่า 2 เท่าของความกว้างลำตัวตรงช่องขับถ่าย Caudal alae จดถึง ปลายหาง
Family Belonolaimidae ไส้เดือนฝอยมีขนาดยาว Cuticle มีผิวเป็นวงแหวนติดกันเด่นชัด โครงสร้างของส่วนหัวต่างๆ เด่นชัด หลอดดูดอาหารเรียวยาว Esophageal gland อยู่ซ้อนกับลำไส้เล็กน้อยมีรังไข่ 2 อัน เพศเมียมีหางกลม และยาวไม่น้อยกว่า 2 เท่าของความกว้างของลำตัวตรงช่องขับถ่าย Caudal alae อยู่ถึงปลายสุด
Family Heteroderidae เพศผู้และเมียมีลักษณะสัณฐานต่างกัน โดยเพศเมียโป่ง มีรูปร่างคล้ายลูกแพร์ (pear-shaped or lemon-shaped) หรือผลฝรั่ง เพศผู้ยาวคล้ายพยาธิ (vermiform) โครงสร้างของส่วนหัวไม่เด่นชัด แต่พัฒนาได้ดีกว่าเพศผู้ ไม่มี caudal alae มี 2 รังไข่ ช่องคลอดอยู่ที่ปลายหรือด้านหลังส่วนกลางของลำตัว มีอยู่สกุลหนึ่งที่เพศเมียแข็งกลายเป็น cyst (Heterodera) ส่วนอีกสกุลหนึ่งจะอ่อน (Meloidogyne)
Family Nacobbidae โครงสร้างของส่วนหัวมีผิวแข็งกว่าปกติทั้งสองเพศ เพศเมียโป่ง (saccate) ส่วนเพศผู้ยาวคล้ายพยาธิทั่วไป ช่องคลอดอยู่ตรงกลางระหว่างกึ่งกลางลำตัวกับช่องขับถ่าย มี caudal alae เป็นปรสิตอยู่ภายในพืชที่มีอาการปุ่มปม
Family Criconematidae ผิว cuticle เป็นวงแหวนขนาดใหญ่ต่อกัน บางชนิดวงแหวนเหลื่อมกันเล็กน้อย Metacorpus กว้างเป็นรูปไข่ใหญ่ต่อรวมกับ procorplus เป็นส่วนเดียวกัน Crescentic plate ยาว Isthmus แคบและสั้น ต่อมต่างๆ อยู่ใน basal bulb ช่องคลอดอยู่ทางด้านปลาย มีรังไข่ 1 อัน อวัยวะเพศผู้ไม่สมบูรณ์ ไส้เดือนฝอยเพศเมียบางชนิดมีหลอดดูดอาหารยาวมาก
Family Paratylenchidae เป็นไส้เดือนฝอยขนาดเล็กที่มีลำคอเหมือนกับไส้เดือนฝอยในตระกูล Criconematidae วงแหวนรอบลำตัวละเอียดและไม่เหลื่อมกัน มีรังไข่ 1 อัน ช่องคลอดอยู่ด้านปลายหลอด ดูดหารของเพศเมียพัฒนาได้ดี ส่วนของเพศผู้ไม่สมบูรณ์

ภาพ Order Tylenchilda (Tylenchorhynchus cylindricus)


ภาพ Order Dorylaimida (Eudorylaimus isokaryon)
Family Tylenchulidae เพศเมียเป็นถุงเกือบกลม มีลำคอเหมือนกับไส้เดือนในตระกูล Criconematidae หลอดดูดอาหารสั้นพัฒนาดีในเพศเมีย แต่ในเพศผู้ไม่สมบูรณ์ ไส้เดือนฝอยที่สำคัญมากที่สุดในตระกูลนี้คือ Tylenchulus semipenetrans ซึ่งเป็นไส้เดือนฝอยศัตรูส้ม โดยตัวแก่เพศเมีย ส่วนหัวฝังอยู่ในราก และส่วนท้ายโป่งอยู่ภายนอกราก
Family Aphelenchoididae มี esophageal gland ยื่นไปถึง crescentic plate ใน metacorpus ที่มีส่วนหัว Metacorpus ปกติมีขนาดใหญ่ หลอดดูดอาหารมี knob เห็นไม่เด่นชัด มีรังไข่ 1 อัน Spicules มีรปคล้ายหนาม (thorn-shaped)


ภาพเปรียบเทียบขนาดและลักษณะสัณฐานของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช genera ต่างๆ(ที่มา: Agrios, 1978)
Family Longidoridae ไส้เดือนฝอยมีขนาดยาวเรียว มีหลอดดูดอาหารยาว ลำคอที่ส่วนหัวยาว แต่ที่ส่วนปลายสั้นและมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่กว่า
Family Trichodoridae ไส้เดือนฝอยมีขนาดกว้างและสั้น มี cuticle หนา หลอดดูดอาหารโค้ง ส่วนหางกลมมน Esophageal glands มี basal bulb
ดังภาพเปรียบเทียบขนาดและลักษณะสัณฐานของไส้เดือนฝอยศัตรูพืช genera ต่างๆ และลักษณะที่สำคัญของแต่ละ genera

ภาพ Anguina tritici (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Ditylenchus dipsaci (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Pratylenchus vulnus (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Radopholus similis (ที่มา:Dropkin, 1980)


ภาพ Hirschmanniella oryzae (ที่มา:Dropkin, 1980)


ภาพ Hoplolaimus stephanus (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Scutellonema validum 1,000x (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ rotylenchus buxophilus (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Helicotylenchus canalis (ที่มา:Dropkin, 1980)


ภาพ ropkin, Belonolaimus longicaudatus 734x (ที่มา:Dropkin,1980)


ภาพ Cyst nematodes (Heterodera spp.) (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Root-knot nematode (Meloidogyne spp.) ที่มา: Dropkin, 1980


ภาพ Nacobbus spp. (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ  Rotylenchulus reniformis (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Macroposthonia xenoplax 388x (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Paratylenchus crenatus 1,000x (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Tylenchulus spp. เพศเมีย (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Aphelenchoides spp. (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Longidorus spp. (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Xiphinema spp. (ที่มา: Dropkin, 1980)


ภาพ Trichodorus spp. 500x (ที่มา: Dropkin, 1980)
ที่มา:ไพโรจน์  จ๋วงพานิช