การใช้ประโยชน์จากต้นสัก

(Teak)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Tectona grandis L. f.
ชื่อวงศ์ LABIATAE
ชื่ออื่น ปายี้ เป้อยี ปีฮือ
ถิ่นกำเนิด อินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-30 ม. ขนาดทรงพุ่ม 15-20 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มกลมกว้าง ลำต้นเปลาตรง โคนต้นเป็นพูพอนตา เปลือกต้นสีนํ้าตาลอมเหลือง เรียบ หรือแตกเป็นร่องตื้นตามแนวยาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก รูปไข่กลับหรือรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 15-35 ซม. ยาว 25-60 ซม. ปลายใบแหลมโคนใบสอบเป็นครีบ แผ่นใบหนาและเหนียว สีเขียวเข้มสากมือ เส้นแขนงใบนูนเด่น ถ้าขยี้ ใบสดจะมีสีแดงช้ำและเปลี่ยนเป็นสีเขียวคลํ้า ก้านใบยาว 2-5 ซม.
ดอก สีขาวนวล ออกเป็นช่อแบบช่อแยกแขนงขนาดใหญ่ที่ปลายกิ่ง ช่อดอกตั้ง ยาว 30-50 ซม. ดอกย่อยขนาดเล็ก ร่วงง่าย เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.7-0.9 ซม. กลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเหลืองนวล เชื่อมติดกันเป็นรูประฆัง กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปกรวย ปลายแยกเป็น 6 แฉก แผ่บานและโค้งไปด้านหลัง เกสรเพศผู้ 6 อัน เส้นผ่านศูนย์กลางดอกประมาณ 0.3 ซม. ออกดอกเดือน มิ.ย.-ก.ค.


ผล ผลแห้ง เป็นกระเปาะค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5-2 ซม. ประกอบด้วยกลีบเลี้ยงที่พองลม บางคล้ายกระดาษห่อหุ้ม เปลือกหุ้มเมล็ดแข็ง ภายในมี 4 ช่องโปร่ง แต่ละช่องมี 1 เมล็ด ติดผล เดือน ส.ค.-ต.ค. ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและการปักชำราก
นิเวศวิทยา พบทั่วไปทางภาคเหนือที่ระดับความสูง 500 ม. ลงมา
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ มีลายสวยงามแข็งแรงทนทาน เลื่อย ผ่า ไส กบ ตบแต่ง และชักเงาได้ง่าย ใช้ทำเครื่องเรือนและในการก่อสร้าง บ้านเรือน ปลวก มอด ไม่ชอบทำลายเพระมีสารพวกเตคโตคริโนน
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดอุตรดิตถ์
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย