ข่อย

ข่อย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า สตริบลุ๊ส แอสเปอร์ (Streblns asper, Hour) อยู่ในตระกูลมอเรซีอี้ ( Moraceae) บางแห่งเรียก ส้มผ่อ, ส้มพ่อ, ส้มพล, ขอย, ขรอย หรือ ขันดา ภาคเหนือเรียก กักไม้ฝอย ข่อยเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ยางจากต้นมีน้ำย่อยที่มีคุณ สมบัติย่อยน้ำนม เปลือกตนข่อยมีรสเมาเมื่อต้มน้ำใช้ชะล้างบาดแผลฆ่าเชื้อและโรคผิวหนังได้ดี ซึ่งอินเดียใช้เปลือกข่อยต้มกินแก้โรคท้องร่วง และใช้มวนเป็นยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก นำกิ่ง ข่อยมาทุบใช้สีฟันทำให้ฟันทนแข็งแรง ใบข่อยหนาแข็งหยาบสากมือ ขอบใบหยักแบบซี่เลื่อย ใช้ขัดเครื่องครัวให้สะอาด ใช้แทนกระดาษทรายขัดไม้ และถูเมือกปลาไหลออกได้ดี ใบข่อย คั่วชงน้ำดื่มต่างน้ำชาได้ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม สำหรับสตรีบรรเทาอาการปวดขณะมีประจำเดือน ระบายท้องอ่อนๆ ดอกตัวผู้เป็นช่อกลมก้านสั้นสีเหลืองอมเขียวหรือเกือบขาว ดอกตัวเมียออกเป็นคู่ก้านยาวสีเขียว ผลสุกมีสีเหลืองอ่อน เปลือกนอกฉ่ำน้ำและนิ่ม เมล็ดคล้ายเมล็ดพริกไทยผสมในยาอายุวัฒนะหลายตำรับ เมื่อโค่นต้นแล้วยังขุดรากนำมาใช้ได้อีก เนื่องจากภายในเปลือกรากมีสารพวกไกลโคซายด์ที่มีฤทธิ์เป็นยาบำรุงหัวใจหลายชนิด รากข่อยใส่แผลรักษาบาดแผล ในสมัยโบราณจะพบว่าตำหรับตำราต่างๆ ใช้เปลือกข่อยทำกระดาษทนทานมาก ปลวกแมลงไม่กินกระดาษข่อย เช่น ตำราโบราณต่างๆ ใช้กระดาษข่อย ข่อยเป็นพืชที่พบในประเทศเขตร้อนทั่วๆไป ชอบขึ้นตามที่ลุ่มแฉะ เป็นไม้ที่ทนทานต่อดินฟ้าอากาศมาก แต่เจริญเติบโตช้า

สรุปสรรพคณ

ยางข่อยมีนํ้าย่อยช่วยย่อยน้ำนม

เปลือกต้นมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อล้างแผลและโรคผิวหนัง ต้มกินแก้โรคท้องร่วง มวนเบนยาสูบแก้ริดสีดวงจมูก

กิ่งข่อยทบสีฟันเพื่อฆ่าเชื้อในปาก ทำให้ฟันทนแข็งแรง

ใบข่อยคั่วชงน้ำดื่มแทนน้ำชา ช่วยระบายอ่อนๆ บำรุงธาตุ เจริญอาหาร ขับผายลม แก้ปวดประจำเดือน

เมล็ดเข้ายาอายุวัฒนะหลายตำหรับ

เปลือกรากมีสารไกลโคซายด์หลายชนิด เป็นยาบำรุงหัวใจ รักษาบาดแผลให้หายเร็ว

กระดาษข่อยทนทานมากปลวกแมลงไม่กินกระดาษข่อย