ข้อมูลของยางพารา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Hevea brasiliensis Muell Arg.
ชื่ออื่นๆ กะเต๊าะห์ (มลายู) ยาง (กลาง)
ชื่ออังกฤษ Para Rubber, Elastica,. Indian Rubber, South American Rubber, Caoutchouc.
ลักษณะ ลำต้นสูงมากประมาณ 35-40 เมตร แตกกิ่งก้าน เป็นไม้พื้นเมืองของบราซิลเหนือแถบลุ่มแม่นํ้าอะเมซอน ใบเป็นใบประกอบแบบนิ้วมือ จัดเรียงสลับกัน ใบย่อย 3 ใบขนาดใหญ่ ก้านใบยาว ใบย่อยรูปปลายหอกกว้าง 4-5 ซ.ม. ยาว 10-15 ซ.ม. ดอกออกเป็นกระจุก ดอกย่อยเล็ก สีเหลือง ผล ขนาดใหญ่เท่ากับส้ม รูปร่างค่อนข้างกลม แบ่งเป็น 3 พูใหญ่ ก้านของผลยาว ผล เมื่อยังไม่แก่สีเขียว แก่จัดเป็นสีนํ้าตาลแตกได้ ภายในมีเมล็ด 3 เมล็ดขนาดใหญ่ เมล็ดมีรูปร่างค่อนข้างกลม ยาวเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 ซ.ม. ยาว 2.5-3 ซ.ม. เปลือกแข็ง เปลือกนอกสีนํ้าตาลแก่มีประสีขาวหรีอสีนํ้าตาลเข้ม ภายในมีเนื้อสีขาว มีกลิ่นเหม็นเอียน
ส่วนที่ใช้ นํ้ายางจากลำต้น เนื้อไม้ เมล็ด
สารสำคัญ การกรีดเอานํ้ายาง ยางพันธุ์ดีปลูกปีที่ 4 จะกรีดเอานํ้ายาง และจะกรีดไปได้จนต้นยางมีอายุ 40-50 ปี วิธีกรีดยาง บางแห่งกรีดเป็นรูปตัววี หรีอกรีดทแยงมุมกับลำต้นเป็นมุมประมาณ 40-50 องศา โดยใช้มีดพิเศษ ข้างใต้จะมีภาชนะรองรับนํ้ายางสีขาวเหมือนนํ้านมไหลออกมาจากแผลที่ถูกกรีด ต้องกรีดตอนเช้ามืด ถ้ากรีดสายแดดร้อนจัดมากๆ นํ้ายางจะไม่ไหลออกมามากเท่าที่ควร ตอนสายๆ เมื่อนํ้ายางหยุดไหลแล้ว เทนํ้ายางรวมในภาชนะใหญ่ๆ เติมกรดนํ้าส้มลงไป (acetic acid) นํ้ายางจะรวมตัวเป็นสารครึ่งแข็งครึ่งนิ่มเทใส่ลงในพิมพ์ โดยมากจะทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 1 1/2 ฟุต ยาว
2 1/2 ฟุต บางชนิดทำเป็นเส้นๆ เรียกยาง “Crepe” แล้วทำให้แห้งโดยการผึ่งลม จากนั้นนำไปรมควัน
Vulcanize rubber คือ ยางผสมกับผงกำมะถัน 12-20% นำไปอบในอุณหภูมิ 135-160 องศาเซลเซียส หรืออาจทำโดยวิธีนำยางที่นิ่มผสมกับนํ้ายากำมะถันคลอไรด์ในคาร์บอนไดซัลไฟด์
Vulcanite, Ebonite หรือ Hard rubber คือ ยางที่ผสมกับกำมะถัน 30% นำไปอบด้วยความร้อน
สารสำคัญ นํ้ายางสีขาวเหมือนนํ้านมมีสาร caoutchouc 40-60% เป็น while hydrocarbon มีสูตร (C10 H 16)n นอกจากนั้นมีสารพวกเยลาติน และชัน
ประโยชน์ ยางดิบนำไปเตรียมเป็นเครื่องมือทางการแพทย์ เช่น กระเป๋านํ้าร้อน นํ้าแข็ง ที่สวนปัสสาวะ สายยาง ทำปลาสเตอร์ และอื่นๆ
ทางอุตสาหกรรม ทำยางรถยนต์ สายยาง และเครื่องใช้อื่นๆ นํ้ามันจากเมล็ดใช้ทำสบู่ นํ้ามันผสมสี นํ้ามันซักแห้ง ต้นแก่ๆ จะได้ปริมาณนํ้ายาง ลดลงต้องตัดทิ้งและปลูกใหม่ เนื้อไม้มีสีขาวสวย เบา ใช้ทำวัสดุก่อสร้าง และเครื่องเฟอร์นิเจอร์ โดยใช้นํ้ายาบางชนิดฉาบ นำไปอบ จะได้เนื้อไม้ที่มีคุณภาพดีเชื่อกันว่าไม่แพ้ไม้เต็ง
ที่มา:ศาสตราจารย์พเยาว์  เหมือนวงษ์ญาติ