ธุรกิจการเลี้ยงโคนม

นมพร้อมดื่ม
นมพร้อมดื่มจัดเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง อันเป็นผลผลิตจากเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมนมพร้อมดื่มในเชิงการค้าได้เริ่มขึ้นในประเทศไทยเป็นเวลา 25 ปีมาแล้ว อันมีผลสืบเนื่องมาจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตติ์ฯ ได้เสด็จประพาสทวีปยุโรปในปี พ.ศ. 2503 ทั้งสองพระองค์ทรงให้ความสนพระทัยเกี่ยวกับกิจการการเลี้ยงโคนมของเดนมาร์กเป็นอย่างมาก รัฐบาลเดนมาร์กและสมาคมเกษตรกรเดนมาร์กจึงได้ร่วมน้อมเกล้าฯ ถวายโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมให้เป็นของขวัญแด่ล้นเกล้าทั้งสองพระองค์ และเพื่อให้การดำเนินโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยบรรลุตามเจตนารมณ์ ที่ตั้งไว้ จึงได้มีการตกลงทำสัญญาให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเศรษฐกิจระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลเดนมาร์ก ซึ่งรัฐบาลเดนมาร์กได้ให้ความช่วยเหลือจัดตั้งฟาร์มโคนมและศูนย์ฝึกอบรมการเลี้ยงขึ้นที่ตำบลมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พร้อมทั้งจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาเริ่มดำเนินการ
นอกจากโครงการความช่วยเหลือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเดนมาร์กแล้ว รัฐบาลไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลออสเตรเลียภายใต้แผนโคลัมโบ ได้มอบอุปกรณ์การผลิตนมพาสเจอร์ไรซ์แก่ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ใน ปี พ.ศ. 2504 รวมทั้งความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมันตะวันตก โดยจัดทำโครงการ ในลักษณะคล้ายคลึงกับที่เดนมาร์กดำเนินการอยู่ที่มวกเหล็ก เริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่ปี 2507 ส่วนในด้านของกรมปศุสัตว์ก็เริ่มโครงการผสมเทียมโคโดยใช้นํ้าเชื้อจากพ่อพันธุ์โคนม พร้อมทั้งจัดตั้งสถานีผสมเทียมแห่งแรกที่อำเภอห้วยแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ และแห่งที่สองที่ตำบลหนองโพ อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี พ่อพันธุ์โคนมที่ใช้ผสมเทียมชุดแรกเป็นโคนมพันธุ์บราวน์สวิส ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา
จากโครงการความช่วยเหลือและความร่วมมือระหว่างประเทศหลายๆ โครงการที่ได้กล่าวมาข้างต้น นับเป็นการเริ่มต้นศักราชของการเลี้ยงโคนมเพื่อผลิตนํ้านมในเชิงการค้าอย่างแท้จริง เนื่องจากก่อนหน้านั้นผู้ที่เลี้ยงโคนมจะเป็นชาวอินเดียที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย ซึ่งนิยมดื่มนมสดเป็นอาหารประจำ โดยมีแหล่งเลี้ยงที่สำคัญรอบๆ กรุงเทพฯ โคที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นโคพื้นเมือง หรือโคที่นำเข้ามาจากประเทศอินเดีย ซึ่งให้นํ้านมปริมาณตํ่า ประมาณวันละ 2-3 ลิตร
ในปี 2529 นับว่าเป็นปีที่มีการปฏิวัติครั้งใหญ่ในวงการนมพร้อมดื่ม กล่าวคือ ปริมาณการบริโภคนมพร้อมดื่มเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากโครงการรณรงค์บริโภคนมโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและเอกชน ซึ่งมีโครงการย่อยที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ “นมโรงเรียน” และในปัจจุบันขยับขยายมาเป็น “นมอาชีวะ” ทั้งนี้เป็นผลให้ตลาดของผลิตภัณฑ์นมขยายตัวอย่างกว้างขวาง ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งการขยายตัวในเขตภาคเหนือ ซึ่งมีศักยภาพทางการตลาดสูง ผู้บริโภคทั่วไปมีความตื่นตัวที่จะบริโภคนมเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว อัตราการบริโภคนมสูงกว่าอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศ คาดว่าภาคนี้จะเป็นพื้นที่สำคัญสำหรับการผลิตและการบริโภคนมในอนาคต และปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่ก็เป็นศูนย์กลางผลิตนมพร้อมดื่มอยู่แล้ว
ความสำเร็จของการก้าวกระโดดในปริมาณการบริโภคนมพร้อมดื่มสืบเนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. ตัวผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม เนื่องจากบริษัทต่างๆ ออกผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มมากขึ้น ตั้งแต่ยี่ห้อใหม่ รสใหม่ กล่องบรรจุแบบใหม่ ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกสิ่งที่เหมาะสมกับรสนิยม
2. การปฏิวัติการบรรจุจากนมพาสเจอร์ไรซ์ ซึ่งมีอายุการเก็บสั้นมากเพียง 4-5 วัน นับเป็นอุปสรรคในการเก็บสต็อกสินค้า และทำให้การวางจำหน่ายได้ในวงแคบ บางครั้งต้องใช้พนักงานขายส่งถึงที่ ซึ่งสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมาก จึงนับเป็นข้อจำกัดในการขยายตลาด แต่การเปลี่ยนมาบรรจุนมด้วยระบบยูเอชที ซึ่งช่วยรักษานํ้านมให้อยู่ในสภาพดีได้นานถึง 6 เดือน เท่ากับเป็นการขจัดอุปสรรคสำคัญในการขยายตลาดไปได้
3. ประเทศในทวีปเอเชียหลายประเทศ รวมทั้งประเทศไทยด้วย เริ่มเปลี่ยนแปลงนิสัยจากการบริโภคข้าวมาบริโภคโปรตีนมากขึ้นตามแนวการบริโภคอาหารของประเทศในตะวันตก การบริโภคนมตามแนวความคิดเดิมเป็นเพียงอาหารสำหรับเด็ก แต่ปัจจุบันผู้ใหญ่เริ่มหันมาเห็นความสำคัญและบริโภคนมเพิ่มขึ้น ทั้งจากรายได้ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งรายได้ของคนชั้นกลางขึ้นไป รวมทั้งการรณรงค์ไห้เห็นถึงคุณค่าของอาหารนม โครงการร่วมระหว่างภาครัฐบาลและภาคเอกชน คือ โครงการรณรงค์ให้บริโภคนม ช่วยเสริมการขยายฐานการบริโภคนมพร้อมดื่มให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยภาคเอกซน แบ่งความรับผิดชอบดังนี้ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมเป็นแกนนำในจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เชียงราย และพะเยา สหกรณ์โคนมหนองโพ ราชบุรี และบริษัทล็อกซ์เลย์ เทรดดิ้ง จำกัด เป็นแกนนำใน 7 จังหวัดทางภาคตะวันตก ได้แก่ จังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครนายก และเพชรบุรี สำหรับในกรุงเทพฯ นั้น แต่ละบริษัทต่างเจาะตลาดเอง โดยมีโครงการขยายเข้าสู่โรงเรียน ปัจจุบันกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้นจากเดิมที่เน้นเฉพาะกลุ่มเด็กตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาถึงมัธยมศึกษา เพิ่มเป็นชั้นอุดมศึกษาด้วย
ธุรกิจการเลี้ยงโคนม
ปัจจุบันการเลี้ยงโคนมในประเทศกระจัดกระจายอยู่ทั่วๆ ไปตามจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาณาบริเวณรอบๆ ศูนย์รับนํ้านมดิบแหล่งใหญ่ๆ ซึ่งมีอยู่ 9 แห่งด้วยกัน คือ
1. โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์นมขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จังหวัดสระบุรี
2. โรงงานผลิตภัณฑ์นมของสหกรณ์โคนมอยุธยา จำกัด จังหวัดอยุธยา
3. โรงงานของบริษัทผลิตภัณฑ์นมหนองโพ จำกัด จังหวัดราชบุรี
4. โรงงานผลิตภัณฑ์นมของสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
5. โรงงานผลิตภัณฑ์นมของสหกรณ์โคนมนครปฐม จำกัด จังหวัดนครปฐม
6. โรงงานของบริษัทโชคชัยแดรี่ฟาร์ม จำกัด
7. เขตอำเภอสีคิ้ว โดยสมาชิกผู้เลี้ยงโคนมผู้เลี้ยงโคนมของสหกรณ์การเกษตรสีคิ้ว รับนํ้านมดิบในเขตอำเภอสีคิ้ว อำเภอสูงเนิน และอำเภอขามทะเลสอ จำนวน 145 ฟาร์ม ยอดขายเฉลี่ยประมาณเดือนละ 3 แสนบาท
8. บริษัทโฟร์โมสต์ฟรีสแลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมมือกับสหกรณ์ผู้เลี้ยงโคนมปากช่อง จัดตั้งศูนย์รับน้ำนมดิบแห่งใหม่ ที่ตำบลลำพญากลาง จังหวัดสระบุรี ซึ่งจะทำให้สามารถรับนํ้านมดิบจากสหกรณ์แห่งนี้เพิ่มขึ้นจากวันละ 17,000 สิตร เป็นวัน ละ 30,000 ลิตร
9. บริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด เซ็นสัญญากับสหกรณ์โคนมกำแพงแสน ตั้งศูนย์รับนํ้านมดิบที่อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กำลังการเก็บรักษาน้ำนมดิบได้วันละ 10 ตัน หลังจากที่เคยเซ็นสัญญากับสหกรณ์โคนมนครปฐม เพื่อเปิดศูนย์รับน้ำนมดิบที่อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ซึ่งสามารถเก็บรวบรวมนํ้านมดิบได้วันละ 16-20 ตัน จากสมาชิก 528 ครอบครัว นอกจากนี้ กำลังเจรจาตั้งศูนย์รวบรวมนํ้านมดิบแห่งใหม่ โดยจะลงทุนอีกประมาณ 5 ล้านบาท และขนาดความจุใกล้เคียงกับที่กำแพงแสน
อย่างไรก็ตาม ในแผนพัฒนาการเลี้ยงโคนมนี้ได้กำหนดให้ขยายเขตการเลี้ยงโคนมเพื่อการค้าออกไปอีกในจังหวัดลพบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งในปัจจุบันมีการเลี้ยงโคนมกันมาก นอกจากนี้จังหวัดที่อยู่ในข่ายที่มีโอกาสอย่างมาก ในการพัฒนาการเลี้ยงโคนมในอนาคต คือ ฉะเชิงเทราและสุรินทร์ (โครงการอีสานเขียว)
เกษตรกรผู้เริ่มเลี้ยงโคนมควรจะให้ความสนใจศึกษาในเรื่องของการจัดการด้านการผลิตและการเงิน โดยคำนึงว่าจะผลิตโคนมอย่างไรให้ประหยัดและเกิดประโยชน์มากที่สุด สถานที่ที่เกษตรกรสามารถติดต่อเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวได้ คือ แหล่งเงินทุน แหล่งพันธุ์ สถานีผสมเทียม โรงงานอาหารสัตว์ สัตวแพทย์และสัตวบาล ศูนย์ส่งเสริมอบรมความรู้ทั้งในด้านการเลี้ยงและอาหารโคนม สำหรับการจัดการฟาร์มโคนมนั้น มีการแบ่งฟาร์มออกเป็น 3 ส่วน คือ ฟาร์มแม่โครีดนม ฟาร์มแม่โคทดแทน และฟาร์มโคขุนเพศผู้ แผนผังการปฏิบัติงานในฟาร์มโคนมนั้นแสดงไว้ในแผนภูมิ ซึ่งเป็นระบบเลี้ยงแม่โคทดแทนประมาณ 3 ปี และระบบการเลี้ยงแม่โครีดนมในระยะ 1 ปี ส่วนการตลาดของฟาร์มโคนมนั้นส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายนํ้านมดิบให้กับโรงงานผลิตภัณฑ์นม นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายโคขุนเพศผู้ ทั้งโคขนาดเล็กและโครุ่น รวมทั้งการจำหน่ายโคสาวเพื่อเลี้ยงเป็นแม่โคนมต่อไป

แผนผังการปฏิบัติงานในฟาร์มโคนม


ที่มา:กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ธุรกิจโคนมพันธุ์
ปัญหาสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาธุรกิจโคนม คือ การขาดแคลนพันธุ์โคนม ซึ่งในปัจจุบันโคนมที่นิยมเลี้ยงส่วนใหญ่เป็นโคพันธุ์ผสม เนื่องจากทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศและต้านทานโรคได้ดี อาทิ พันธุ์โฮลสไตน์ (HOLSTEIN) พันธุ์เรดเดน (RED DANE) พันธุ์เรดซินดิ (RED SINDHI) พันธุ์ซาฮิวัล (SAHIWAL) และพันธุ์บราวน์สวิส (BROWN SWISS) ดังนั้น ในการที่จะเริ่มพัฒนาธุรกิจโคนมจึงจำเป็นต้องจัดหาพันธุ์โคนมเหล่านี้ ให้เพียงพอกับความต้องการของเกษตรกร แหล่งที่จะจัดหาพันธุ์โคมีหลายแหล่งด้วยกัน ดังนี้
1. การสั่งซื้อพันธุ์โคนมจากต่างประเทศโตยตรง เป็นวิธีที่นิยมกันมาก ทั้งในส่วนของรัฐบาลและเอกชน เพราะทำให้ได้โคพันธุ์ดีจำนวนมากตามที่ต้องการ ราคาประมาณตัวละ 38,000-40,000 บาท และการนำเข้าในแต่ละครั้งจะต้องมีจำนวนมาก เพื่อให้คุ้มกับค่าขนส่ง ดังนั้น เอกชนที่เลี้ยงโครายใหญ่เท่านั้นจึงจะสั่งเข้าได้ สำหรับเกษตรกรรายย่อยนั้นจะต้องรวมตัวกันหรือซื้อผ่านบริษัทเอกชนรายใหญ่
2. การซื้อพันธุ์โคนมจากแหล่งเลี้ยงโคนม ได้แก่ สหกรณ์โคนม องค์การส่งเสริมกิจการโคนม หรือฟาร์มโคนมของเกษตรกรโดยตรง พันธุ์โคนมที่มีจำหน่าย จะมีตั้งแต่ระยะลูกโค โคสาว แม่โคนม โคแก่และโคคัดทิ้งเนื่องจากมีปัญหาบางประการ ซึ่งผู้ซื้อสามารถเลือกได้ตามความต้องการ ในราคาตั้งแต่ตัวละ 6,000-7,000 บาท สำหรับโคที่มีขนาดเล็กจนถึง 20,000 บาทขึ้นไป สำหรับโคที่มีคุณภาพดี
3. จัดหาโคจากโรงฆ่าสัตว์ เกษตรกรจะต้องมีความสามารถในการคัดเลือกโคพอสมควร แต่การจัดหาพันธุ์โคนมโดยวิธีนี้อาจจะไม่ดีเท่าพันธุ์โคนมที่มีจำหน่ายทั่วไป และเกษตรกรจำเป็นต้องปรับปรุงพันธุ์ต่อไปในรุ่นหลังๆ ราคาซื้อขายสำหรับแม่โคที่โตเต็มที่แล้วประมาณตัวละ 8,000-10,000 บาท
4. ตลาดนัดโคกระบือ โคที่ซื้อขายส่วนใหญ่เป็นโคนมพันธุ์พื้นเมือง พันธุ์ผสมบราห์มัน และพันธุ์ผสมเรดซินดี ในราคาตั้งแต่ตัวละพันกว่าบาทถึงหมื่นกว่าบาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาโคนม รัฐบาลจะเป็นผู้จัดหาโคนมมาจำหน่ายให้ โดยกรมปศุสัตว์คัดเลือกแม่โคเนื้อและแม่โคงานที่มีเลือดยุโรปสูง ลักษณะดีและปลอดโรค นำมาผสมเทียมกับโคนมพันธุ์ดี นอกจากนี้ยังทำการนำเข้าพันธุ์โคนมที่ตั้งท้อง 3-5 เดือน เพื่อจำหน่ายให้แก่เกษตรกรโดยตรง
แผนแม่บทการพัฒนาโคนม
สภาพของธุรกิจโคนมนับตั้งแต่การเลี้ยง การผลิต การรวบรวม การขนส่ง การแปรรูป และการตลาดของนํ้านมดิบและผลิตภัณฑ์นมเท่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น กรมปศุสัตว์ สำนักงานเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมทั้งยังมีเอกชนอีกหลายรายเข้ามาดำเนินการในธุรกิจโคนมอีกด้วย หน่วยงานเหล่านี้ต่างดำเนินกิจการเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน จึงเป็นการยากที่จะกำหนดนโยบายโดยส่วนรวมของธุรกิจโคนมและควบคุมดูแลการปฏิบัติให้สอดคล้องกัน ตลอดจนการแก้ไขอุปสรรคและปัญหาที่จะเกิดขึ้นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ด้วยเหตุนี้กระทรวงเกษตร และสหกรณ์จึงจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโคนมเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และกำหนดแนวทางที่แน่ชัดในการส่งเสริมโคนมและผลิตภัณฑ์นมในประเทศ
แผนการผลิตโคนมและน้ำนมดิบในระยะยาวเริ่มตั้งแต่ปี 2530-2540 โดยเป้าหมายหลักของแผนก็คือ การเพิ่มจำนวนโคนมภายในประเทศเพื่อขยายการผลิตนํ้านมดิบ และการผลิตผลิตภัณฑ์นมเพื่อทดแทนการนำเข้า ซึ่งการเพิ่มจำนวนโคนมในแผนนี้จะกระทำ 2 วิธี คือ การขยายจำนวนโคนมจากฝูงโคนมในประเทศที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยในช่วงปี 2530-2534 จะคัดเลือกแม่พันธุ์โคเนื้อและโคงานที่มีลักษณะที่เหมาะสม เพื่อนำมาเป็นแม่พันธุ์ในการผลิตพันธุ์โคนมลูกผสมในประเทศปีละ 1,000 ตัว และอีกวิธีหนึ่งก็คือ เร่งรัดนำเข้าโคนมพันธุ์ดีจากต่างประเทศปีละ 2,000 ตัวในช่วงปี 2530-2531 การ เพิ่มจำนวนโคนมตามแผนพัฒนานี้ ทำให้คาดหมายได้ว่าเมื่อสิ้นสุดแผนพัฒนานี้ในปี 2540 จะมีจำนวนแม่โคนมในประเทศประมาณ 133,500 ตัว และปริมาณน้ำนมดิบที่ผลิตได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 385 พันตัน
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนพัฒนาการเลี้ยงโคนม สามารถสรุปได้ดังตาราง ซึ่งมีรายละเอียดที่นำสนใจดังนี้คือ
ตารางการคาดการณ์จำนวนโคนมและปริมาณน้ำนมดิบตามแผนพัฒนาโคนม


ที่มา: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ตารางผลที่คาดว่าจะได้รับจากแผนพัฒนาการเลี้ยงโคนม


ที่มา:สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
หมายเหตุ:*นมผงในที่นี้รวมทั้งนมผงธรรมดาและนมผงเลี้ยงทารก
1. ปริมาณนํ้านมดิบที่ผลิตได้ในประเทศจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากที่ผลิตได้ในปี 2529 เพียง 64 พันตัน เป็น 385 พันตัน ในปี 2540 เมื่อเปรียบเทียบปริมาณการผลิตนํ้านมดิบกับความต้องการใช้นํ้านมดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดในประเทศแล้ว จะเห็นว่าสัดส่วนดังกล่าวก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น กล่าวคือ ในปี 2529 ปริมาณการผลิตน้ำนมดิบคิดเป็นร้อยละ 12.6 ของปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์นมทั้งหมด และในปี 2540 สัดส่วนนี้เพิ่มเป็นร้อยละ 55.8 ซึ่งหมายถึงว่าในปี 2540 นี้ปริมาณการผลิตนํ้านมดิบในประเทศสามารถตอบสนองความต้องการผลิตภัณฑ์นมในประเทศได้ประมาณครึ่งหนึ่งของความต้องการทั้งหมด
2. หากพิจารณาสัดส่วนของการใช้นํ้านมดิบเพื่อผลิตนมพร้อมดื่มเทียบกับความต้องการนมพร้อมดื่มทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ปี 2533 เป็นต้นไป ปริมาณนํ้านมดิบที่ผลิตได้ในประเทศจะเพียงพอสำหรับความต้องการที่จะนำไปผลิตนมพร้อมดื่ม
3. เมื่อนํ้านมดิบที่ผลิตได้ในประเทศมีเพียงพอสำหรับผลิตนมพร้อมดื่มแล้ว ก็จะมีนํ้านมดิบเหลือสำหรับผลิตนมผงธรรมดาและนมผงเลี้ยงทารกได้อีกด้วย ดังจะเห็นได้ว่าสัดส่วนของการใช้นํ้านมดิบผลิตนมผงเทียบกับความต้องการนมผงเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ ตั้งแต่ปี 2534 จนกระทั่งในปี 2540 ปริมาณการใช้นํ้านมดิบเพื่อผลิตนมผงคิดเป็นร้อยละ 90 ของความต้องการนมผงทั้งหมด
4. การผลิตนํ้านมดิบที่เพิ่มขึ้นจนสามารถนำนํ้านมดิบไปผลิตทั้งนมพร้อมดื่ม และนมผงดังกล่าวข้างต้น ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมทั้งหมดมีแนวโน้มที่ลดลง และเมื่อเทียบสัดส่วนระหว่างปริมาณการนำเข้าผลิตกัณฑ์นมกับปริมาณการผลิตนํ้านมดิบในประเทศแล้ว จะเห็นได้ว่าสัดส่วนดังกล่าวลดลงจาก 7 : 1 ในปี 2529 เหลือเพียง 0.8 : 1 ในปี 2540 ซึ่งหมายถึงว่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์นมได้ลดลงจาก 7 เท่าของปริมาณการผลิตนํ้านมดิบภายในประเทศในปี 2529 เหลือเพียง 0.8 เท่าในปี 2540
สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตามแผนพัฒนาโคนมดังกล่าวนี้ประกอบด้วย
1. กำหนดเขตการเลี้ยงโคนมเพื่อผลิตนํ้านมดิบเชิงการค้าและจดทะเบียนผู้เลี้ยงโคนม การกำหนดเขตนั้นจะพิจารณาโดยอาศัยหลักเกณฑ์ในเรื่องระยะทางการขนส่งนํ้านมดิบเข้าศูนย์รับนํ้านมดิบ และโรงงานแปรรูปเป็นสำคัญ กล่าวคือ ในเขตส่งเสริม
ตารางเขตส่งเสริมธุรกิจโคนม


ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
นั้นศูนย์รับนํ้านมดิบจะอยู่ห่างจากโรงงานแปรรูปภายในรัศมีประมาณ 200 กิโลเมตร และเกษตรกรอยู่ห่างจากศูนย์รับนํ้านมดิบประมาณ 50 กิโลเมตร ซึ่งในเบื้องต้นเขตการเลี้ยงโคนมมีอยู่ 9 แห่ง คือ จังหวัดสระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา อยุธยา นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และเชียงใหม่
2. กำหนดเขตการส่งนํ้านมดิบเข้าแปรรูปในโรงงานนมพร้อมดื่มและโรงงานนมผง โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและค่าขนส่งที่ประหยัดที่สุดในการขนส่งนํ้านมดิบ จากแหล่งเลี้ยงต่างๆ ไปยังโรงงานแปรรูป ถ้าโรงงานนมพร้อมดื่มตั้งอยู่ในจังหวัดใด ก็จะรับนํ้านมดิบที่ผลิตในเขตจังหวัดนั้นเป็นหลัก เช่น โรงนมพร้อมดื่มในเขตมวกเหล็ก ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนม รับนํ้านมดิบจากเขตสระบุรี เป็นต้น สำหรับโรงงานนมพร้อมดื่มของบริษัทเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร รับนํ้านมดิบจากเขตใกล้เคียง คือ สระบุรี ราชบุรี และเพชรบุรี ส่วนโรงงานนมผงของบริษัทเนสท์เล่รับนํ้านมดิบจาก สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา และปราจีนบุรี
3. ดำเนินการจัดทำโครงการขยายการเลี้ยงโคนมในเชิงการค้าให้แก่เกษตรกรรายย่อยในเขตส่งเสริม เริ่มตั้งแต่การจัดฝึกอบรมไปจนถึงการให้บริการด้านสินเชื่อ ระยะยาวแก่เกษตรกรในการประกอบธุรกิจโคนม
4. ส่งเสริมการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพเสริม โดยสนับสนุนให้เกษตรกรเลี้ยงโคนมรายละ 2 ตัว กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงนมพร้อมดื่มของวิทยาลัยเกษตรกรรมและวิทยาลัยเทคโนโลยีและอาชีวศึกษาทั่วประเทศที่มีอยู่ประมาณ 18 แห่ง นอกจากมุ่งที่จะผลิตนํ้านมดิบเพื่อส่งเข้าโรงงานแปรรูปดังกล่าวแล้ว ยังให้การส่งเสริมการจำหน่ายนมพร้อมดื่มภายในท้องถิ่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโครงการนมโรงเรียนของรัฐบาลอีกด้วย
ที่มา:ส่วนวิจัยเกษตรกรรม ฝ่ายวิชาการ ธนาคารกสิกรไทย