สรรพคุณทางยาของสะระแหน่


ชื่อ
จีนเรียก  แซป่อห่อ กิมปุ๊กห่วง กอยโซว Mentha arvensis Linn.

ลักษณะ
เป็นพืชที่ปลูกกันทั่วไปตามชนบท สูงประมาณ 1-2 ฟุต ตามต้นมีขนปุย แข็ง ใบคู่ รูปรี ขอบใบเป็นหยัก หลังใบมีก้านนูน ออกดอกในฤดูร้อน และในฤดูฝน ออกลูกกลมสีนํ้าตาล

รส
เผ็ดนิดๆ มีกลิ่นหอม ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานแล้วขับเหงื่อ ไล่ลม แก้บวม ใช้ภายนอกสามารถระงับการบวมของผิวหนังและระงับการคันได้ ฤทธิ์เข้าถึงปอด

รักษา
ใช้ในการรักษาหวัด ไอ มือเท้าบวม ท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้ทาแก้บวมตาม
ผิวหนัง แก้ค้น เด็กกินไล่ลมในท้อง

ตำราชาวบ้าน
1. แก้หวัดปวดหัวนํ้ามูกไหล
ก. ใบสะระแหน่ 3 เฉียน ต้มกับใบหม่อน 1 ตำลึง
ข. ใบสะระแหน่ 3 เฉียน ต้มกับใบชา
ค. ใบสะระแหน่ 3 เฉียน ใบหญ้าขัดมอน 1 ตำลึง ต้มกับนํ้าตาลแดง
2. ไอเนื่องจากหวัด – ใบสะระแหน่ 3 เฉียน ต้มกับนํ้าตาลกรวด
3. ขาบวม – ใบสะระแหม่ 3 เฉียน ต้มปลาหลีฮื้อ หรือเติมนํ้าส้มที่ทำจากข้าวครึ่งตำลึง ห้ามรับประทานเกลือหรือของเค็ม
4. ท้องอืด –ใบสะระแหนและเปลือกส้มดิบอย่างละครึ่งตำลึง ตำกับเกลือนิดหน่อย แล้วชงด้วยนํ้าเดือด
5. เด็กท้องอืดขัดหนัก – ใบสะระแหน่ 1 เฉียน ตำกับดินเถ้าในเตาไฟหนัก 2 เฉียน จนแหลกแล้วปะที่สะดือ
6. ลมบวมใต้ผิวหนัง -ใบสะระแหน่ต้มนํ้าล้าง
7. ผิวหนังคัน -ใบสะระแหน่ตำจนแหลกแล้วทา

ปริมาณใช้
ใบสดรับประทานไม่เกิน 2-3 เฉียน ใบแห้งไม่เกิน 1-2 เฉียน ใช้ภายนอก กะพอประมาณ

ที่มา:บุญชัย  ฉัตตะวานิช