หงอนไก่ทะเล


ชื่อวิทยาศาสตร์ Heritiera littoralis Ait.
ชื่อวงศ์ STERCULIACEAE
ชื่ออื่น ไข่ควาย (กระบี่), ดุหุน (ตรัง), หงอนไก่ หงอนไก่ทะเล (ภาคกลาง, สุราษฎร์ธานี)
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้น สูง 20 ม. ทรงพุ่มค่อนข้างกลม เปลือกต้น สีน้ำตาลเทา แตกสะเก็ดตามยาว เปลือกต้นชั้นในสีน้ำตาลอมชมพู


ใบ ใบเดี่ยวแผ่นใบรูปไข่หรือรูปขอบขนาน กว้าง 3.5-10 ซม. ยาว10-22 ซม. ปลายใบทู่หรือมนโคนใบกลมมนเบี้ยวบางครั้งสอบแคบ ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ผิวใบด้านล่างเป็นคราบขาวประด้วยจุดและสะเก็ดสีน้ำตาลอ่อน เส้นแขนงใบ 7-15 คู่ ก้านใบยาว 1-2 ซม.
ดอก ดอกสีชมพูอมม่วงออกตามง่ามใบใกล้ปลายกิ่ง เป็นช่อแยก แขนง ยาว 10-20 ซม. เป็นดอกแยกเพศ ดอกเล็กรูประฆังยาว 0.3-0.7 ซม. มีขนสั้นนุ่มผิวด้านนอกสีน้ำตาลแกมเขียว ด้านในสีแดงส้ม วงกลีบรวม 4-6 กลีบ รูปสามเหลี่ยมแคบๆ ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้ยาว 0.3-0.58 ซม. ดอกเพศเมียยาว 0.3-0.7 ซม. ออกดอกเดือน มี.ค.-พ.ค. และเดือน ต.ค.-พ.ย.


ผล รูปทรงรี กว้าง 4-6 ซม. ยาว 5-11 ซม. เปลือกเป็นเส้นใย อัดแน่น ผิวเกลี้ยง เป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล ด้านบน ทางปลายผลมีสันคล้ายครีบ เห็นเด่นชัด เมล็ดค่อนข้างกลม 1 เมล็ดต่อผล
นิเวศวิทยา พบตามป่าชายเลนทั่วๆ ไป ในเขตน้ำกร่อย ที่ดิน ค่อนข้างเป็นดินทราย
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เมล็ด แก้ท้องเสีย แก้บิด เปลือก ต้มน้ำอมบ้วนปากแก้รำมะนาด ปากอักเสบ กิ่งอ่อน มีสารเทนนิน ใช้ถูฟันรักษาเหงือก
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย