หญ้าแฝก

ในบรรดาหญ้าใบหยาบที่มีอายุข้ามปีที่พบอยู่ในซีกโลกตะวันออก จำนวน 10 สายพันธุ์ ที่จัดอยู่ในกลุ่ม Anjiropogoneae นั้น หญ้าแฝก (Vetiveria Zizanioides) ได้พิสูจน์แล้วว่า เป็นหญ้าที่เหมาะอย่างยิ่งในการอนุรักษ์ดินและรักษาความชุ่มชื้น

หญ้า V. Zizanioides (L) Nash (2n = 20) Khus; เป็นหญ้าแฝกที่ขึ้นเป็นกระชุกหนา ไม่มีหนวด (Awnless) เป็นเส้น ไม่มีขน มีอายุข้ามปี เป็นหญ้าที่ ไม่ค่อยแพร่พันธุ์และไมแพร่พันธุ์เลย เมื่ออยู่นอกเขตที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ คือในพื้นที่ที่เป็นหนองนํ้า ไม่มีรากแขนงหรือแขนง ขยายพันธุ์โดยการแบ่งราก หรือปักชำ หญ้าแฝกขึ้นเป็นกอใหญ่จากรากที่เป็นกระชุกใยเหมือนฟองนํ้า (รูป A) มีลำต้นสูง 0.5-1.5 เมตร (B) ใบมีลักษณะค่อนข้างแข็ง ยาว และแคบ อาจยาวถึง 75 เซนติเมตร และกว้างไม่เกิน 8 มิลลิเมตร ถึงแม้จะไม่มีขนแต่ขอบใบจะหยาบ กลีบเลี้ยงดอกมีแกนสั้น ๆ ช่อดอกยาว 15-40 เซนติเมตร (C) ข้อต่อและก้านดอกไม่มีขน ดอกแคบ แหลม เกาะติดก้านดอก และไม่มีหนวด (D) ช่อดอกชนิดหนึ่งมีหลายก้าน มีสองเพศ เกาะติดอยู่กับก้านสั้น ๆ มีผิวแข็ง ไม่มีขน ก้านเกษรตัวผู้สามก้าน เกษรตัวเมียสองก้าน ช่อดอกอีกชนิดหนึ่ง มีเกษร และก้านเกษรตัวผู้ แต่ไม่มีส่วนที่เจริญเป็นเมล็ด บางชนิดไม่ค่อยออกดอกเลย

หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีชีวิตอยู่ได้ทั้งในสภาพแห้งแล้งและเปียกแฉะ ดังนั้นแฝกจึงทนความแห้งแล้งอย่างรุนแรงได้ ซึ่งอาจเป็นเพราะนํ้าหล่อเลี้ยงในใบ มีเกลืออยู่มาก ทั้งยังทนต่อนํ้าท่วมได้นานเช่นกัน (นาน 45 วันในแปลง) หญ้าแฝกมีค่าระดับความเป็นกรดด่างของดินกว้างมาก สามารถขึ้นได้ในดินทุกชนิด โดยไม่ต้องมีปุ๋ย และทนอุณหภูมิซึ่งต่ำถึง -9 องศาเซนติเกรดได้

หญ้าแฝก Zizanioides ไม่ออกเมล็ด ในสภาพของแปลงปลูกปกติ ในขณะที่หญ้าแฝก Nigritana (สายพันธุ์ไนจีเรีย) ออกเมล็ดได้ แต่เป็นเมล็ดที่สามารถควบคุมการงอกได้ง่าย