เนียมหูเสือประโยชน์ทางยา


หูเสือจีน

ชื่อ
จีนเรียก       โฮ่อึ๋มเช่า ชี่ปอ   Rubus parvifolius Linn.

ลักษณะ
ชอบซีนในทุ่งป่า ริมทาง ริมกำแพงบ้านเก่า เป็นพืชไม้เลื้อย มีขนปุย เต็มต้น ตามใบและกิ่งมีหนามเล็กๆ ขึ้นเต็ม ต้นเล็กแต่แข็งพอสมควร สีเขียว ยาว 5-6 ฟุต ออกใบสลับ ก้านใบหนึ่งออกสามใบ หรือห้าใบ ใบรูปพัดใบตาล หลังใบสีซีดกว่าหน้าใบ ขอบใบเป็นแฉกๆ คล้าย ฟันเลื่อย ออกดอกสีม่วงแกมขาวในฤดูฝนและฤดูร้อน มีห้าแฉก ออกลูกสีแดง รสหวานรับประทานได้

รส
ฝาดเฝื่อน ธาตุไม่ร้อนไม่เย็น ไม่มีพิษ

สรรพคุณ
รับประทานไล่ลม แก้แน่นคัด ระงับปวด ใช้ภายนอกแก้คัด ฤทธิ์เข้าถึง ตับและม้าม

รักษา
ปวดฟันเพราะฟันเสีย เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดเอว โรคเบาหวาน ใช้ภายนอกแก้มือเท้าเคล็ดยอก ใบใช้แก้ผิวหนังเป็นผื่น ผื่นลม ถูกนํ้าร้อนลวก

ตำราชาวบ้าน
1. ฟันเสียปวดฟัน- เนียมหูเสือ ราดพุดซ้อน อย่างละครึ่งตำลึงถึง 1 ตำลึง ต้มนํ้าแล้วอมใส่นํ้าตาลแดง หรือเนียมหูเสือ กำจัดหน่วย อย่างละครึ่งถึง 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
2. เจ็บคอ – เนียมหูเสือ ครึ่งถึง 1 ตำลึง ต้มนํ้ารับประทาน
3. ปวดเมื่อยตามตัวเนื่องจากรูมาติสม์ – เนียมหูเสือ 1 ตำลึง ต้มกระดูกขาหมู
4. ปวดเอวเพราะเคล็ด – เนียมหูเสือดองเหล้ารับประทาน และใช้น้ำส้มดองเนียมหูเสือ ขัดทามือและเท้าตรงที่ปวด
5. เบาหวาน – เนียมหูเสือ 1-2 ตำลึง ต้มกับเซี่ยงจี้หมูรับประทานเป็นประจำ
6. ผิวหนังเป็นผื่นคัน เลือดลมไม่ปกติ – เนียมหูเสือต้ม ล้าง
7. ถูกของร้อนลวก – เนียมหูเสือตำกับข้าวสาร ทา

ปริมาณใช้
สดรวมทั้งรากไม่เกิน 2 ตำลึง แห้งไม่เกิน 1 ตำลึงใช้ใบรักษาภายนอกกะพอสมควร

ข้อควรรู้
หญิงมีครรภ ห้ามรับประทาน

ที่มา:บุญชัย ฉัตตะวานิช