โรคที่เกิดกับมะละกอได้ง่าย

1.  โรคโคนเน่า หรือ แดมปิ้งออฟ(damping off) เกิดกับต้นอ่อนในแปลงเพาะกล้า เกิดบริเวณโคนต้นเหนือดิน มีอาการเน่าช้ำ และตายในที่สุด  ในกรณีที่เกิดโรคนี้  ต้องถอนย้ายกล้าที่เหลือทันที  เพื่อป้องกันการระบาดไปยังต้นอื่น ๆ ต่อไป  วิธีป้องกัน  ทำได้โดย  อบดินที่ใช้เพาะกล้าด้วยความร้อน หรือใช้ยากันรา เช่น ไดเทน เอ็ม 45 เป็นต้น

 

2.  โรคไฟทอปเทอร่ารอท(Phytophtora rot) เกิดกับผลและลำต้น ทำความเสียหายมาก เพราะทำให้ตายได้ทุกช่วงของการปลูก ระยะแรกที่เกิด  ยางจะไหลออกมาตามรอยแผล มีสีขาวขุ่น เปลือกอวบน้ำ นุ่มคล้ายฟองน้ำ  จากนั้นจะเน่ารอบ ๆโคนต้น แล้วต้นก็หักโค่นในที่สุด ถ้าเป็นกับผล  ผลจะเหี่ยวดำ  หล่นก่อนสุก  ป้องกันได้โดยใชยากันรา เช่น ไดเทน เอ็ม 45

3.  แอนแทรคโนส (anthracnose)  เป็นโรคที่เกิดกับผลที่เริ่มแก่ เพราะเปลือกผลอ่อน ง่ายต่อการเจริญของเชื้อ ลักษณะแผล เป็นจุดกลมเล็ก ๆ แล้วขยายตัวกว้างออกไป  วงแผลรอบนอกเป็นสีดำ  ภายในวงเป็นสีชมพู เนื้อบริเวณนี้จะเน่า  ป้องกันกำจัด  โดยใช้ เบนเลท หรือ ไดเทน เอ็ม 45 สำหรับผลที่เก็บมาแล้ว  ควรป้องกันโรคนี้โดยเคลือบผลด้วยขี้ผึ้งหรือเก็บไว้ในที่มีอุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียส