ไหมไทย:ลักษณะของไหมพันธุ์ไทย

สถาบันวิจัยหม่อนไหม

เกษตรกลาง บางเขน กรุงเทพฯ

ประวัติ เดิมชื่อพันธุ์สุรินทร์นางลาย โดยสถานีทดลองหม่อนไหมสุรินทร์ได้รวบรวมมาจากบ้านนาสาม ตำบลนาบัว อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ มีรังสีขาว มาทำการคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ จนได้รังสีเหลือง ให้ชื่อว่าพันธุ์นางลาย และเผยแพร่แนะนำพันธุ์สู่เกษตรกรในปี พ.ศ.๒๕๐๗

ลักษณะประจำพันธุ์

  • เป็นพันธุ์ฟักตลอดปี
  • ลำตัวมีลายสีน้ำตาลเข็มคาดขวางโดยตลอด
  • ไข่สีขาวอมเหลือง
  • รังสีเหลืองเข้ม หัวท้ายรังค่อนข้างแหลม
  • ความยาวเส้นใย ๑ รัง ๓๕๐ เมตร
  • จำนวนรังไหม ๑ กก. ๑,๓๐๐ รัง

ลักษณะเด่น

ข้อดี

  • ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง
  • เปอร์เซ็นต์รังเสียต่ำ
  • สาวเส้นใยออกง่าย
  • เส้นใยเหนียวและเลื่อมมัน

ข้อเสีย

  • รังไหมขี้ไหมมาก
  • ตัวไหมค่อนข้างอ่อนแอต่อโรค

ไหมไทยพันธุ์นางน้อย

ประวัติ ในปี พ.ศ.๒๕๑๖ สถานนีทดลองหม่อนไหมบุรีรัมย์ ได้สำรวจและรวบรวมพันธุ์ไหมจากหมู่บ้านเกษตรกรมาเลี้ยงทดลองเพื่อคิดและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นพันธุ์แท้ และมีเปอร์เซ็นต์การเลี้ยงรอดสูง ในสภาพภูมิอากาศของท้องถิ่น คัดเลือกได้ ๑ สายพันธุ์ คือพันธุ์ “นางน้อย” เก็บมาจากหมู่บ้านน้อย ตำบลยาง จังหวัดบุรีรัมย์ ลักษณะเดิมตัวหนอนไหมมีหลายลักษณะ ทั้งมีจุดประตามตัวและขาวนวล เผยแพร่พันธุ์สู่เกษตรกรได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๘

ลักษณะประจำพันธุ์

  • เป็นพันธุ์ที่ฟักออกตามธรรมชาติตลอดปี
  • ตัวหนอนสีขาวนวลตลอด ไหมสุกตัวสีเหลือง
  • รังด้านหัวกลมมน ท้ายรังค่อนข้างแหลม มีขี้ไหมมาก
  • เปลือกรังสีเหลืองเข้ม
  • ไข่สีเหลืองอมขาว
  • ความยาวเส้นใย ๑ รัง ๓๒๐ เมตร
  • เลี้ยงรอดร้อยละ ๙๐
  • อายุ ๒๐ วัน
  • จำนวนรังไหม ๑ กก. ๑,๒๐๐ รัง

สนใจติดต่อได้ที่

สถานีทดลองหม่อนไหมชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ศุนย์วิจัยหม่อนไหมศีรษะเกษ จังหวัดศีรษะเกษ