Month: September 2011

เบญจมาศ:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

เบญจมาศที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอกมี 6 พันธุ์ ได้แก่

 

1.  พันธุ์ขาวเมืองตาก ให้ดอกสีขาว บานในช่วงที่มีอากาศหนาวเย็น เป็นพันธุ์ที่ต้องการวันสั้น ไม่ทนต่อสภาพการขนส่ง

2.  พันธุ์ขาวการะเกด หรือขาวตลิ่งชัน ให้ดอกสีขาว บานในช่วงฤดูฝน

3.  พันธุ์เหลืองเขี้ยว ให้ดอกสีเหลืองสด บานในช่วงฤดูฝน ต้นโตเต็มที่สูงประมาณ 2-3 ฟุต ทรงต้นทึบ ให้ดอกใหญ่ประมาณ 2.5-3 นิ้ว กลีบดอกด้านนอกสุดจะโค้งเข้าไปใจกลางของดอกคล้ายเขี้ยว

4.  พันธุ์เหลืองไข่ ให้ดอกสีเหลืองนวล ต้นโตเต็มที่สูงประมาณ 2-2.5 ฟุต ออกดอกตลอดปี ดอกโตเต็มที่ประมาณ 3-4 นิ้ว

5.  พันธุ์เหลืองตากRead More

ทานตะวัน:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

ทานตะวันเป็นไม้ล้มลุกอายุ 1 ปี ใบรูปกลมรี โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจปลายใบแหลมขอบใบหยักแบบฟันปลา หลังและใต้ท้องใบมีขนสาก ดอกออกเป็นช่อหรือกระจก กลีบดอกวงในมีสีเหลือง กลีบดอกวงนอกสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองทอง ล้อมรอบเกสรขนาดใหญ่คล้ายจานเป็นไม้ดอกที่มีลักษณะพิเศษคือ ดอกจะหันหน้าเข้าหาดวงอาทิตย์เสมอ

พันธุ์ที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก เช่น พันธุ์คัลเลอร์ แฟชั่น (Color Fashion) อิตาเลี่ยน ไวท์ (Italian White) ซึ่งเป็นชนิดที่แตกกิ่งก้านสาขา มีลำต้นสูงประมาณ 4-5 ฟุต ขนาดดอกประมาณ 3-4 นิ้ว

การขยายพันธุ์

ทานตะวันขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด ซึ่งนิยมเพาะเมล็ดในแปลงปลูกโดยตรง ทานตะวันสามารถปลูกได้ดีในดินทุกชนิด ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี และชอบแสงแดดจัด

การเลือกสถานที่ปลูก

สถานที่ปลูกทานตะวันควรเป็นที่โล่งแจ้ง ได้รับแสงอย่างน้อยไม่ต่ำกว่าวันละ 8-10 ชั่วโมง หากปลูกในที่ที่ได้รับแสงน้อยจะให้ผลผลิตต่ำ … Read More

ดาวเรือง:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

ลักษณะ

ดาวเรืองที่นิยมปลูกเป็นไม้ตัดดอก มี 3 พันธุ์ ได้แก่

1.  พันธุ์ทอรีดอร์ (Toreader) ลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 75 ซม. ให้ดอกขนาดใหญ่สีส้ม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5-4 นิ้ว

2.  พันธุ์ดับเบิ้ล อีเกิ้ล (Double eagle) ลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 90 ซม. ให้ดอกขนาดใหญ่สีเหลืองก้านดอกแข็งแรง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3.5 นิ้ว ก้านดอกแข็งแรง

3.  พันธุ์ซอฟเวอเรน (Sovereign) ลักษณะเป็นพุ่ม สูงประมาณ 75-90 ซม. ให้ดอกขนาดใหญ่สีเหลืองทอง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ … Read More

มะลิ:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี

มะลิเป็นไม้พุ่ม ไม้เลื้อย และไม้รอเลี้อย ใบมีทั้งใบเดี่ยวและใบรวม ดอกสีขาวออกตามยอดของก้าน มีทั้งซ้อนและไม่ซ้อน ที่ซ้อนเรียกมะลิซ้อน ที่ไม่ซ้อนเรียกมะลิลา และมะลิลาจะมีกลิ่นหอมกว่ามะลิซ้อน ออกตลอดปี ออกมากในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝน เมื่อดอกบานแล้วจะไม่ติดผล

มะลิที่นิยมปลูกเป็นการค้ามากที่สุด คือ มะลิลา ซึ่งมีหลายพันธุ์ ได้แก่

พันธุ์แม่กลอง

ลักษณะเป็นทรงพุ่มใหญ่ ใบใหญ่หนาสีเขียวเข้มออกดำ ดอกกลมขนาดใหญ่ ให้ดอกไม่ดกมากนัก ดอกออกเป็นช่อละไม่เกิน 3 ดอก

พันธุ์ราษฎร์บูรณะ

ทรงพุ่มมีขนาดเล็กกว่าพันธุ์แม่กลอง ใบเล็กและบางกว่าสีเขียวไม่เข้ม ดอกเล็กเรียวแหลม ทยอยให้ดอกเรื่อย ๆ ในหนึ่งช่อมี 1-2 ชุด ให้ดอกชุดละ 3 ดอก

พันธุ์ชุมพร

มีลักษณะทรงพุ่มคล้ายราษฎร์บูรณะแต่โปร่งกว่า ใบบางและสีอ่อนกว่า … Read More

กุหลาบ:ไม้ดอกยอดนิยมปลูกได้โดยไม่ต้องใช้สารเคมี


กุหลาบที่นิยมปลูกเพื่อการค้าได้แก่ กุหลาบตัดดอกและกุหลาบพวง

กุหาลตัดดอก หรือ ไฮบริดที (Hytird Tea) มีลักษณะทรงพุ่มตั้งตรงสูงประมาณ 1-2 เมตร ดอกขนาดโต กลีบดอกซ้อน ออกเป็นดอกเดี่ยว เป็นชนิดที่มีขายตามร้านดอกไม้ทั่วไป พันธุ์ที่นิยมปลูก เช่น มีสออลอเมริกันบิวตี้ (Miss All American Beauty) คริสเตียนดิออร์ (Christian Dior) อเล็กซ์ เรด (Alex’s Red) คิงส์แรมซัม (King Ransom)

กุหลาบพวง หรือ ฟลอริบันดา (Floribunda) นิยมปลูกเพื่อเด็ดดอกขาย ลักษณะทรงพุ่มตั้งตรงสูงประมาณ 0.5-1 เมตร ดอกมีขนาดเล็ก … Read More

บัว:บัวพืชสมุนไพรมหัศจรรย์

ศ.ดร.นันทวัน  บุณยะประภัศร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

บัว ส่วนที่มีการนำมาใช้ในการแพทย์แผนไทยส่วนใหญ่จะเป็น “บัวหลวง” ซึ่งจะหยิบยกมาเพียงบางประเด็นเกี่ยวกับการนำมาใช้ทำยา ในการแพทย์แผนไทยเรามิได้ใช้สมุนไพรเดี่ยว ๆ จะมีบ้างแต่มีน้อย เพราะส่วนใหญ่จะใช้ในรูปของยาตำรับ บัวที่มักนำใช้ในการแพทย์แผนไทยมาก ๆ ก็คือ บัวหลวง ที่กล่าวว่า บัวเป็นพืชมหัสจรรย์ก็ค่อนข้างจะเป็นจริง เพราะทุกส่วนของบัวใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด จึงนับว่าเป็นพืชชนิดหนึ่งที่มีคุณค่ามากจริง ๆ

ตัวแรกที่จะนำมาใช้ ก็คือ เกสรตัวผู้ ซึ่งในทางการแพทย์แผนไทยจะได้ยินคำว่า พิกัดเกสร ทั้ง 5 ทั้ง 7 ทั้ง 9 แต่เกสรทั้ง 5 ที่ใช้มากก็จะมีบัวหลวง มะลิ พิกุล บุนนาค สารภี บัวหลวงเป็นพืชเดียวในเกสรทั้ง … Read More

ทุเรียน:การใช้ทุเรียนเป็นยา

หากนับย้อนไปแต่อดีตที่คนไทยรู้จักการนำทุเรียนมาปลูกจะพลว่าพันธุ์ทุเรียนในไทยนั้นมีอยู่มากกว่า 120 สายพันธุ์ เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันที่เรา ๆ เห็นและได้ลิ้มรสมีอยู่ 2-3 สายพันธุ์หลัก ๆ คือ หมอนทอง ชะนี และก้านยาว สำหรับก้านยาวนั้นยิ่งนับวันก็ยิ่งหาได้ยากแล้วด้วยความพิเศษของรูปลักษณ์ที่มีหนามแหลมคม หากไม่ระวังมีอันต้องเจ็บตัวประกอบกับเนื้อในที่หวานหอม เป็นที่ชื่นชอบของชาวไทยและต่างชาติ เป็นผลไม้เศรษฐกิจส่งออกที่สำคัญอันดับต้น ๆ ทำให้ทุเรียนได้รับยกย่องให้เป็นราชาแห่งผลไม้คู่กับมังคุดที่ถูกยกให้เป็นราชินี

มีเรื่องเล่าของคนช่างคิดที่เปรียบเปรยบรรดาผู้ชายที่ในช่วงวัยต่าง ๆ ว่าน่าจะจัดอยู่ในผลไม้ประเภทใดบ้าง เริ่มแต่วัย 20 เขาเปรียบดังเช่นมะพร้าวอ่อน แม้จะมีเหลี่ยมมุมนิดหน่อย แต่ก็ปอกได้ไม่ยากนัก เนื้อในก็นุ่มลิ้น น้ำก็หวานแต่พอประมาณ ครั้นย่างเข้าวัย 30 เขาบอกว่ามะพร้าวอ่อนจะเปลี่ยนไปเป็นทุเรียนที่มีหนามแหลมคม มีอันตรายอยู่รอบด้านปอกยากสักหน่อยแต่เนื้อในหวานมันหอมคุ้มที่จะเสี่ยงปอก เมื่อผ่านเข้าวัย 40 ช่วงนี้ชายใดไม่หนักแน่นก็มักมีปัญหา แต่พ่อเจ้าประคุณก็ช่างกลมกลิ้ง จับไม่ได้ไล่ไม่ทันเป็นเหมือนดั่งแตงโม ซึ่งถืออย่างไรเนื้อในก็ยังคงหวานชื่นใจอยู่ ส่วนที่เหลือลองนำไปคิดเล่น … Read More

วิธีการปรุงยาสมุนไพรใช้เอง


สมุนไพร นอกจากจะสามารถใช้สด ๆ กินสด ๆ หรือกินเป็นอาหารแล้ว เรายังสามารถนำมาปรุงเป็นยาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น ปั้นเป็นลูกกลอน ทำเป็นแคปซูล ชงเป็นชา ดองเป็นยาดอง เป็นต้น เพื่อให้ได้ยาสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการรักษา ใช้สะดวก รับประทานง่าย พกพาสะดวก เก็บไว้ใช้ได้นาน

การชง(Infusion)

การชงเป็นวิธีพื้นฐานและง่ายสำหรับการปรุงยาสมุนไพร มีวิธีการเตรียม ภาชนะที่ใช้ชงควรเป็นแก้วหรือเหมือนกับการชงชา โดยใช้น้ำเดือดเทลงไปในสมุนไพร ใช้ได้ทั้งสมุนไพรสดและแห้ง แต่มักใช้สมุนไพรตากแห้งทำยาชง หรือบดเป็นผงชงกับน้ำร้อนก็ได้ ภาชนะเคลือบ ไม่ควรใช้ภาชนะโลหะ ควรชงยาสมุนไพรสดใช้ในแต่ละวันชงแล้วดื่มทันที ไม่ทิ้งไว้นานดื่มวันละ 3 ครั้ง ดื่มร้อนหรือเย็นก็ได้สมุนไพรบางชนิดที่มีสรรพคุณไม่รุนแรงใช้ดื่มแทนน้ำได้ เช่น ขิง มะตูม เก๊กฮวย เป็นต้น… Read More

ไวน์:การทำไวน์ผักไว้กินเอง

การทำไวน์ผั(Vegetable Wines)

การทำไวน์โดยทั่วไปมักจะใช้ผลไม้ในการหมัก แต่พืชชนิดอื่น ๆ ก็นำมาทำไวน์ได้ดีเช่นเดียวกัน เช่น ธัญพืช สมุนไพร ดอกไม้ เครื่องเทศ รวมทั้งผัก แต่ไวน์ผักไม่ค่อยมีใครทำกันมากนักที่จริงผักสามารถนำมาทำเป็นไวน์รสชาติดี ที่สำคัญเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผัก ซึ่งส่วนใหญ่มีราคาถูกหาง่าย มีตลอดทั้งปี

แต่การทำไวน์ผักจะต้องให้ความสนใจในการเตรียม เพราะผักส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผักที่เป็นรากหรือหัวจะไม่มีกรด ไม่มีรสเปรี้ยว จึงต้องใช้พืชตระกูลส้มช่วยเพิ่มกรดและรสชาติ

ผักที่เป็นรากและหัวทุกชนิดควรจะต้มในน้ำเพื่อสกัดกลิ่นออกไปก่อน เพราะน้ำมันหอมระเหยที่มีอยู่ในรากหรือหัวของผักจะทำให้รสชาติของไวน์ไม่ดี จึงควรต้มในหม้อสแตนเลสเสียก่อน

ผักทุกชนิดที่นำมาทำไวน์ควรล้างให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น ๆ หรือแผ่นบาง ๆ แล้วนำไปต้มนาน 10-20 นาที โดยไม่ต้องปิดฝา แล้วจึงกรองเอาแต่น้ำผักออกมา และอาจจะตั้งทิ้งไว้ 24 ชั่วโมงก่อนนำไปหมัก

โดยทั่วไป … Read More

ยาหอมไทย:ทำไมต้องกินยาหอม


108 แพทย์แผนไทย (วัชรีพร  คงวิลาด)

คอลัมน์ 108 วิธีดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย เปิดประเด็มคอลัมน์ใหม่ด้วยเรื่องเกี่ยวกับยาหอมไทยมาเล่าให้ฟังหลายคนอาจสงสัยว่ายาหอมไทยมาเกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพได้อย่างไร จริง ๆ แล้วยาหอมไทยอยู่คู่กับคนไทยมาช้านาน คือ ใช้บำรุงหัวใจ ขับลม แก้ไข้

อยู่ ๆ วันหนึ่งก็มีข่าวครึกโครมว่า อย.ตรวจพบมีสารหนูในยาหอมยี่ห้อหนึ่ง ครั้งนั้นตลาดยาไทยแทบพังโดยเฉพาะยาหอมไทย ขายไม่ออกเลยทีเดียว คนไทยจำนวนมากไม่กล้ากินยาหอมอีก กระทั่งหน่วยงานราชการอันประกอบด้วย กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ต้องเร่งระดมสมองจากนักวิชาการจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอย่าง อย. และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รวมถึงผู้ประกอบธุรกิจยาไทย และหมอพื้นบ้านจาก 4 ภาค มาถกปัญหาและตีแผ่ว่าทำไมยาหอมไทยจึงมีการตรวจพบสารหนู หรืออาจมีการใช้สารอันตรายอื่น ๆ อีกหรือไม่

ยาหอมคืออะไร ทำไมต้องกินยาหอม

ยาหอม คือยาที่ถูกกำหนดให้เป็นยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณ สามารถจำหน่ายได้ทุกสถานที่ … Read More