ไกรไม้แคระประดับ

(Krai)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ficus superba Miq. var japonica Miq.
ชื่อวงศ์ MORACEAE
ชื่ออื่น ไทรเลียบ เลียบ
ถิ่นกำเนิด จีน ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-15 ม. ขนาดทรงพุ่ม 8-10 ม. ผลัดใบ ทรงพุ่มรูปไข่ เปลือกต้นสีเทา ค่อนข้างเรียบ มีรากอากาศรัดพันเล็กน้อย


ใบ ใบเดี่ยว เรียงเวียนสลับที่ปลายกิ่ง รูปรีแกมรูปขอบขนาน กว้าง 5-13 ซม. ยาว 12-25 ซม. ปลายใบติ่งแหลม โคนใบมนหรือรูปหัวใจ ขอบใบเป็นคลื่น แผ่นใบค่อนข้างหนาและเหนียว สีเขียวเข้ม เป็นมัน เส้นแขนงใบนูนเด่น ก้านใบเล็กยาว 8-14 ซม.ใบอ่อนสีแดง มีกาบใบสีแดงเข้มห่อหุ้ม กาบหลุดร่วงเมื่อใบผลิเต็มที่
ดอก สีเขียวอมเหลือง ออกเป็นช่อรูปร่างคล้ายผล คือ มีแกนกลาง ช่อดอกเจริญแผ่ขยายใหญ่เป็นกระเปาะมีรูเปิดที่ปลายโอบดอกไว้ ดอกมีขนาดเล็กแยกเพศในกระเปาะ ดอกทั้งสองเพศมีกลีบรวม 3 กลีบ รูปไข่ ดอกเพศผู้มีจำนวนน้อย เส้นผ่านศูนย์กลางช่อดอก 0.5-1 ซม. ก้านช่อดอกยาว 1.5-2 ซม.
ผล ผลสดแบบมะเดื่อ ทรงกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ เส้นผ่าน ศูนย์กลาง 1.8-2.5 ซม. ออกเป็นคู่ที่กิ่งเหนือรอยแผลของใบ สีเขียว มีจุดสีครีมทั่วผลเมื่อสุกสีน้ำตาลอมชมพูมีจุดสีน้ำตาลที่ปลายมีวงแหวน นูนมีรอยบุ๋ม เมล็ดทรงกลม สีดำ ขนาดเล็กจำนวนมาก ออกดอก ติดผลหมุนเวียนตลอดปี ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
นิเวศวิทยา พบตามป่าดิบชื้นทั่วไป
การใช้ประโยชน์ ปลูกเป็นไม้แคระประดับ
หมายเหตุ ไกรคล้ายกับเสียบทางภาคเหนือ ต่างกันที่ไม่มีก้านช่อดอก
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย