ทุ้งฟ้าหรือกระทุ้งฟ้าไห้

(Indian Walnat)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia macrophylla Wall ex.G.Don
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่ออื่น กระทุ้งฟ้าไห้ ทุ้งฟ้าไก่ (ชุมพร) ตีนเทียน (สงขลา), ทุ้งฟ้า (ภาคใต้) พวม พร้าว (ปัตตานี)
ลักษณะทั่วไป เป็นไม้ยืนต้น สูง 15-25 ม. ไม่ผลัดใบ ลำต้น เปลาตรง กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ ทรงพุ่มรูปไข่แกมรูปกรวยแหลมค่อนข้างโปร่ง เปลือกต้นสีขาวอมเทามีนํ้ายางสีขาว


ใบ ใบเดี่ยว เรียงรอบข้อ ข้อละ 3-4 ใบ แผ่นใบรูปหอกกลับ กว้าง 3-7.5 ซม. ยาว 10-30 ซม. ปลายเป็นติ่งแหลม ผิวใบด้านล่างมีคราบสีขาว ผิวใบด้านบนสีเขียว
ดอก สีขาวหรือขาวอมเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่งจำนวนมาก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ออกดอกเดือน พ.ย.-ธ.ค.
ผล ฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก ออกเป็นคู่ ฝักแก่จะแตกและบิด เป็นเกลียว ปล่อยให้เมล็ดที่มีขนสีขาวปลิวไปตามลม
นิเวศวิทยา พบประปรายในป่าดงดิบ และพื้นที่ป่าที่ถูกแผ้วถาง มาก่อนทางภาคใต้ เจริญเติบโตได้ดีในสภาพดินลึกและมีการระบายนํ้าได้ดี
การใช้ประโยชน์ เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นกระดาน ฝา รองเท้าไม้ หีบ ลังใส่ของ เครื่องเรือน เครื่องใช้แจวพาย กรรเชียง และยังเหมาะสำหรับที่จะนำไปผ่าเป็นชิ้นบางๆ เพื่อทำผิวหน้าไม้อัด
การใช้ประโยชน์ด้านสมุนไพร เปลือกต้น บำรุงกำลังและบำรุง กำหนัด แก้ไข้ แก้ไข้ป่า แก้บิด ขัดระดู รักษาบาดแผล
หมายเหตุ ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่
ที่มา:วัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย