ผักกาดฮ่องเต้(Pak Tsai)


ลักษณะทั่วไป
ตลาดกว้างขวาง ปลูกได้ทั่วไป ง่าย ใช้ทุนและแรงงานต่ำ ได้น้ำหนักสูง
ข้อมูลการผลิต
พันธุ์
ชิงเชียง Ching-Chiang (เขียว) เกรเซียส Gracious (ขาว)
ฤดูปลูก ตลอดปี
ระดับความสูง สูงกว่า 800 เมตร (ฤดูร้อน/ฝน) ทุกระดับความสูง (ฤดูหนาว)
ความเป็นกรดด่างของดิน 6.0-6.5
ชนิดของดิน ร่วนปนทราย (Sandy loam) ระบายน้ำดี
ระยะปลูก (ต้นxแถว)     15×20 ซม.
จำนวนต้น 33 ต้น/ตร.ม.
ความกว้างของแปลง 1-1.2 เมตร
ระยะห่างระหว่างแปลง 50 ซม.
ระยะเวลาที่เติบโตเต็มที่ 70-80 วัน
ข้อสังเกตุเกี่ยวกับต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)
การผลิต
ได้น้ำหนักสูงต่อพื้นที่ปลูก
ผลผลิต
ประมาณ 300-400 กก.ต่อ 100 ตร.ม.เป็นกรด A ถึง 80-90%
ราคาขายของเกษตรกร
3.50-5.00 บาท/กก.
ต้นทุนปัจจัยการผลิต
ต้นทุนต่ำมาก จำเป็นเฉพาะการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ และต้องฉีดยาเคมีบ้าง (2-3 ครั้ง ในการปลูกฤดูร้อนและฤดูฝน)
ผลตอบแทน
กำไรดี เพราะได้น้ำหนักสูง ต้นทุนต่ำ และราคาดีพอควร
การตลาด
ตลาดกว้างขวาง ผลิตผลของโครงการฯ เสียหายราว 20-40% ระหว่างการตลาด ราคาเฉลี่ย 6-9 บาท/กก. และสูงกว่าเล็กน้อยที่ตลาดเชียงใหม่ ได้ราคาดีระหว่าง พ.ค.-ก.ค. ซึ่งเป็นฤดูร้อน แต่ผลผลิตมักขาดตลาดมาก ถ้าพื้นที่ใดสามารถเพาะปลูกได้ ควรทำการปลูกช่วงฤดูนี้
สำหรับเจ้าหน้าที่ส่งเสริม
ช่วงฤดูแล้ง ผลผลิตของเกษตรกรจะน้อยมาก ควรพิจารณาส่งเสริมให้ผลิตมากขึ้น และควรลดผลผลิตฤดูหนาวให้เหมาะแก่จำนวนโควต้าของแต่ละสถานี สำหรับฤดูฝนพืชนี้เสียหายง่าย ควรจัดหาพื้นที่ให้เหมาะสม คือมีการระบายน้ำดี ไม่ควรปลูกชิดเกินไป กล้าไม่ควรแก่เกินไป เลือกพันธุ์ให้เหมาะกับพื้นที่และฤดูกาล
ข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)

หมายเหตุ ข้อมูลต้นทุนผลตอบแทนและราคา เป็นข้อมูลในอดีตที่มีการเปลี่ยนแปลง
ข้อแนะนำเกี่ยวกับเทคนิคการเพาะปลูก
ศัตรูพืชและโรค
ศัตรูพืช
มด ทำลายช่วงก่อนกล้างอก สังเกตจากทางเดินมด ป้องกันโดยใช้เซฟวิน 85 และ คูมิฟอส รดแปลงกล้า
หนอนกระทู้ดำ (Black Cut Worm, Collosobruchus sp.) ในระยะตัวอ่อน และ
จิ้งหรีด ทำลายต้นอ่อนป้องกันโดยใช้ คูมิฟอส 10-15 วันหลังงอกหรือเมื่อมีปัญหา
หมัดกระโดด (Jumping Flea) พบตลอดปี ฉีดพ่น เซฟวิน 85 หรือแลนเนท เมื่อย้ายปลูก หรือ 10-15 วันหลังย้ายปลูกถ้าจำเป็น
เพลี้ยอ่อน (Aphids) พบในฤดูร้อนใช้ พอสส์ (Posse) โฮสตาไทออน (Hostathion) เมื่อย้ายปลูก หรือ 10-15 วันหลังย้ายปลูก
หนอนกินใบ (Leaf-eating Worm, Trichoplusia sp.) พบตลอดปี ฉีดพ่น แอมบุช หรือ อโกรนา เมื่อย้ายปลูก และทุกสัปดาห์หลังย้ายปลูก 10-15 วัน ถ้าจำเป็น
โรค
ใบจุด (Leaf Spot) พบในฤดูฝน ป้องกันโดยใช้ ดาโคนิล เมื่ออายุ 10-15 วัน หลังปลูกหรือทุกๆ สัปดาห์ถ้าระบาดมาก
โรคเน่า(Soft Rot) เกิดจากแบคทีเรีย พบในฤดูฝน ป้องกันโดยใช้ โคแมค (Comac) และอย่าให้ขาดธาตุโบรอน โดยใส่ โบแรกซ์ (Borax) 2 ครั้ง เมื่ออายุพืชได้ 20 วัน ดินระบายน้ำดีจะมีปัญหาน้อย
ปัจจัยที่ต้องการ (ต่อ ตร.ม.)
ในแต่ละขั้นตอนการผลิต ต้องการชนิดและปริมาณปัจจัย ดังนี้


*เกษตรกรรมบางรายเลือกทำการเตรียมกล้า (อายุ 15-20 วัน) ระยะห่าง 2×10 ซม. ลึก 0.5 ซม. ส่วนบางรายเลือกวิธีหยอดเมล็ดโดยตรง
การใช้แรงงาน (ต่อพื้นที่ปลูก 100 ตร.ม.)


*ข้อมูลแรงงานและระยะเวลาได้จากข้อมูลสนาม
ข้อควรปฏิบัติ
ช่วงเพาะกล้า
เช่นเดียวกับผักกาดหอมห่อ
ช่วงปลูก
ขุดดินตากไว้ 7 วัน คลุกปูนขาว ปุ๋ยคอกและปุ๋ย 15-15-15 ลงไปในดิน พรวนดินให้ละเอียด เก็บวัชพืชทิ้ง ขึ้นแปลงกว้าง 100-120 ซม. ให้ร่องห่าง 50 ซม. ปรับหน้าแปลงให้เรียบ ถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดโดยตรงใช้นิ้วกดหลุมลึก 0.5 ซม. หยอด 5 เมล็ดต่อหลุมระยะปลูก 15×20 ซม. กลบเมล็ดแล้ว รดน้ำให้ชุ่ม ฉีดพ่น คูมิฟอส หรือ เซฟวิน 85 ป้องกันมดเข้าทำลาย
ช่วงดูแลรักษา
ปลูกซ่อม 10-14 วันหลังย้ายปลูก กำจัดวัชพืช 15-20 วัน หลังย้ายปลูก หรือหลังเมล็ดงอก และทำการถอนแยกถ้าใช้วิธีหยอดเมล็ดโดยตรง ขีดเส้นลึก 2 ซม. ระหว่างแถวปลูก โรยปุ๋ย 46-0-0 ลงไป กลบดิน แล้วรดน้ำ อาจเพิ่ม ปุ๋ย โดยใช้ 15-15-15 อัตรา 15-30 กรัม/ตร.ม. ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันโรค และศัตรูพืชตามที่จำเป็น ถ้าต้นไม่สมบูรณ์ ฉีดพ่นธาตุอาหารทางใบเสริม ให้รดน้ำสม่ำเสมอ
ช่วงเก็บเกี่ยว
เก็บเกี่ยวก่อนผักจะออกดอก (อายุ 40-50 วัน) ไม่ควรปล่อยให้แก่เกินไป ใช้มีดตัดต้นระดับเหนือดินเล็กน้อย เด็ดใบเสียหรือใบเหลืองทิ้งก่อนบรรจุขนส่ง ไม่ควรล้างผัก ภาชนะบรรจุควรเหมาะสมเพื่อลดการสูญเสีย
หลังเก็บเกี่ยว ให้เกษตรกรกำจัดเศษซากพืชทิ้งเสียเพื่อป้องกันเชื้อโรคหลงเหลือในแปลง

ที่มา: ภาควิชาส่งเสริมและเผยแพร่การเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่