Tag: การบ่มผลไม้

การสุกของผลไม้


การสุก (ripening) เป็นกระบวนการที่ผลไม้เข้าสู่ระยะชราภาพ โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างภายในผล เช่น ผลจะอ่อนนุ่ม เกิดกลิ่นตามชนิดของผลไม้นั้น รสชาติหวานขึ้นเนื่องจากมีการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล ปริมาณกรดลดลง ผิวเปลี่ยนสีเป็นสีแดงเหลืองหรือสีอื่นๆ ตาม ชนิดของผลไม้ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ต้องใช้พลังงานอย่างมาก ซึ่งพลังงานนี้จะได้มาจากการหายใจที่เกิดขึ้นภายในผล การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ผลจะเปลี่ยนสภาพจากผลดิบกลายเป็นผลสุกภายในเวลาไม่กี่วัน ในช่วงที่ผลสุกนี้จะมีการหายใจสูงมากจึงเรียกผลไม้เหล่านี้ว่า climacteric fruit เช่นมะเขือเทศ มะม่วง ละมุด กล้วย ทุเรียน ส่วนผลไม้อีกประเภทหนึ่งเมื่อผลแก่จัดแล้วไม่มีการสุกเกิดขึ้น การหายใจในผลอยู่ในระดับตํ่า เรียกว่า non-climacteric fruit ได้แก่ ส้ม สับปะรด มะนาว เงาะ ลำไย ลิ้นจี่ ผลไม้เหล่านี้ เมื่อเก็บเกี่ยวมาแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในผลเกิดขึ้นน้อยมาก รสชาติของผลมักจะคงที่ … Read More

เอทิลีน:สารเร่งการแก่ของผลไม้

นันทกา:เรียบเรียง

หน้าที่ของเอทิลีนคือควบคุมการแก่ของพืช ในทางการเกษตรได้นำสารเอทธีฟอน (ethephon) ซึ่งเป็นสารที่สามารถปลดปล่อยเอทิลีนได้มาใช้ประโยชน์กับพืช ดังนี้

1.  เร่งการสุกของผลไม้

ปกติพืชจะมีการสร้างเอทิลีนในระยะที่ผลไม้แก่จัดแต่ยังไม่สุก ทำให้เร่งการสุกของผลไม้ให้เร็วขึ้น ในทางปฏิบัติจึงได้นำถ่านก๊าซหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ (เมื่อทำปฏิกิริยากับน้ำแล้วจะได้ก๊าซอะเซทิลีน  ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายเอทิลีน) มาใช้เร่งการสุกของผลไม้โดยห่อกระดาวางไว้กลางเข่งที่บรรจุผลไม้ ผลไม้ที่ใช้ถ่านก๊าซบ่มได้ผลดี ได้แก่ มะม่วง กล้วย ละมุด เป็นต้น

นอกจากนี้เอทิลีนยังสามารถเร่งการแก่ของผลไม้บนต้นได้ เช่น เงาะ องุ่น ลองกอง และมะเขือเทศ ในระยะที่ผลแก่จัดแต่ยังไม่เปลี่ยนสี เมื่อใช้เอทธีฟอนจะทำให้ผลเปลี่ยนสีได้เร็วและสม่ำเสมอมากขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวได้พร้อมกัน

2.  เร่งการเกิดดอก

เอทิลีนสามารถเร่งการเกิดดอกของพืชบางชนิด เช่น สับปะรดปัจจุบันใช้กันอย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมการผลิตสับปะรดกระป๋อง

3.  ทำลายการพักตัวของพืช

ในพืชหัวเช่น หัวมันฝรั่ง … Read More