Tag: ปรับปรุงและบำรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว

ปรับปรุงและบำรุงดินเปรี้ยวเพื่อปลูกข้าว

สัญชัย  สัตตวัฒนานนท์

กองปฐพีวิทยา

กรมวิชาการเกษตร

ดินเปรี้ยว พบในประเทศไทยในบริเวณที่ราบลุ่มภาคกลางตอนใต้และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ฝั่งตะวันออก รวมเป็นพื้นที่ประมาณ ๙ ล้านไร่ ดินเปรี้ยวส่วนใหญ่ใช้ในการทำนา

เนื่องจากดินเปรี้ยวมีแต่ไพโรท์เป็นส่วนประกอบสูง เมื่อดินมีการระบายน้ำและถ่ายเทอากาศดี ไพโรท์จะทำปฏิกิริยากับอ๊อกซิเจนเกิดกรดกำมะถัน กรดที่เกิดขึ้นมีปริมาณมากจนเกินความสามารถของสารมีฤทธิ์เป็นด่างในดินจะเสทิน(หมายถึงเป็นกลางหรือไม่มีสภาพเป็นกรดหรือด่าง) ได้หมด ทำให้ดินเปรี้ยวจัดและเกิดการก่อตัวของแร่จาโรไซท์ที่มีสีเหลืองฟางเด่นชัด อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของดินเปรี้ยว แร่จาโรไซท์ที่เกิดขึ้นไม่คงตัวต่อมาจะสลายตัวให้กรดกำมะถันอีก

จากการวิจัย ปัญหาของดินเปรี้ยวที่มีต่อการปลูกข้าว ได้แก่ อันตรายเกิดจาก ไฮโดรเจนไอออน ความเป็นพิษของเหล็ก อะลูมิเนียม และ ซัลไฟต์ การขาดฟอสฟอรัสและธาตุด่าง และ การจำกัดของปฏิกิริยาจุลินทรีย์ในดิน

ดินเปรี้ยวในประเทศไทยถูกแบ่งตามความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็น ดินเปรี้ยวจัด พีเอช(ค่าความเป็นกรดด่างของดิน ค่าน้อยจะแสดงว่าดินเป็นกรด ๑-๖ และค่ามากแสดงว่าดินเป็นด่าง ๘-๑๓ ส่วนค่า ๗ … Read More